กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัว สรุปดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ

น้ำมันมะพร้าวดีหรือไม่ดี อย่างไร มีโทษต่อร่างกายหรือไม่ แล้วจะเลือกซื้ออย่างไรดี บทความนี้มีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 24 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัว สรุปดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว มีทั้งแบบสกัดร้อนและสกัดเย็น
  • ปัจจุบันน้ำมันมะพร้าวที่ได้รับความนิยมคือ virgin coconut oil คือน้ำมันที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี
  • น้ำมันมะพร้าวไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักแต่อย่างใด แต่ช่วยเรื่องบำรุงผิวพรรณ เส้นผม บำรุงร่างกาย
  • การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงสามารถช่วยกำจัดไขมันทรานส์ และต้านสารอนุมูลอิสระเพื่อลดความเสี่ยงในการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งได้
  • หากคุณใช้น้ำมันมะพร้าวลูบไล้ทาตัว แล้วเกิดอาการคัน มีผื่นขึ้น อาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในน้ำมันมะพร้าว ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่

ปัจจุบันน้ำมันมะพร้าวกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่คนรักสุขภาพ มีนักวิชาการออกมากล่าวถึงข้อดีของน้ำมันมะพร้าวมากมาย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหามาใช้ เราควรรู้ข้อมูลพื้นฐานโดยทั่วไปของน้ำมันมะพร้าวก่อนเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

น้ำมันมะพร้าวคืออะไร

น้ำมันมะพร้าวคือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว วิธีการสกัดมีทั้งแบบร้อนและแบบเย็น ปัจจุบันน้ำมันมะพร้าวที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ virgin coconut oil ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าว

ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า 90% และมีไขมันไม่อิ่มตัวเล็กน้อย กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันขนาดปานกลาง (medium chain fatty acid) ประกอบด้วยคาร์บอน 6 - 12 ตัว 

40% ของกรดไขมันอิ่มตัว เป็น Lauric acid และอื่นๆ ได้แก่ Capric acid  Caprylic acid   Myristic acid และ Palmitic acid ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวคือ Linoleic acid และ Oleic acid

หากคำนวณตามหลักโภชนาการ ในน้ำมันมะพร้าว 100 กรัม จะให้พลังงาน 862 กิโลแคลอรี่ เป็นไขมันอิ่มตัวทั้งหมด 87 กรัม  

กรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวดีต่อสุขภาพหรือไม่

กรดไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวมีความแตกต่างกับกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันชนิดเป็นอื่นๆ เนื่องจากเป็นกรดไขมันขนาดปานกลาง (medium chain fatty acid) ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมเข้าไปใช้งานที่ตับได้อย่างรวดเร็วซึ่งแตกต่างกับน้ำมันรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากน้ำมันรูปแบบอื่นๆ จะต้องมีการดูดซึมผ่านทางน้ำเหลืองไปยังระบบต่างๆ ภายในร่างกายก่อน อีกทั้งน้ำมันมะพร้าวยังมีประโยชน์ต่ออาหารทางการแพทย์เพราะสามารถนำไปเป็นแหล่งพลังงานให้กับผู้ป่วยที่ต้องการแหล่งพลังงานที่สลายตัวให้พลังงานอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยในการฟื้นตัวได้

ที่สำคัญน้ำมันมะพร้าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือโทษ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม  

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว

หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ จากการวิจัยและการทดลองนั้นพบว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ได้ส่งผลต่อการลดน้ำหนักใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่มีข้อดีในส่วนอื่นๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลดไขมันร้าย

ถึงแม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ แต่สามารถช่วยลดไขมันร้ายที่มีอยู่ภายในร่างกายและเพิ่มไขมันดีได้ เนื่องจากมีโมเลกุลกรดไขมันขนาดกลางซึ่งเป็นตัวสำคัญในการกระตุ้นเมตาบอลิซึมทำให้เกิดการย่อยได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่อาหารที่รับประทานเข้าไป ทำให้ช่วยลดการสะสมไขมันได้

บำรุงเส้นผม

น้ำมันมะพร้าวนำมาใช้ในการหมักเพื่อดูแลเส้นผมได้จะทำให้ผมสวยและเงางามแบบธรรมชาติรวมถึงทำให้เส้นผมดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ควรหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนสระ แล้วจึงสระผมออกตามปกติ

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสำคัญเหมือนกับน้ำนมแม่คือ กรดลอริกซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นอีกชนิดหนึ่งเมื่อรับประทานเข้าไป โดยหน้าที่สำคัญหลังจากนั้นคือ ไปกำจัดแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ

ลดโอกาสเป็นมะเร็ง

น้ำมันมะพร้าวช่วยในเรื่องของการต่อต้านอนุมูลอิสระรวมไปถึงไขมันทรานส์ซึ่งเป็นไขมันตัวร้าย หากร่างกายมีไขมันทรานส์สะสมอยู่มากๆ อาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ ฉะนั้นการรับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงสามารถช่วยกำจัดไขมันเหล่านี้ออกไปเพื่อลดความเสี่ยงในการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้

รักษาโรคผิวหนัง และ บำรุงผิวหนัง

โรคผิวหนังกลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นสิว สะเก็ดเงิน หรือโรคเรื้อน ในน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งแผลที่เกิดจากการเกา โดยจะช่วยสมานแผลเหล่านี้ให้หายเป็นปกติ ช่วยรักษาอาการ หรือโรคผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น แถมยังใช้ทาผิวเพื่อช่วยชะลอการเหี่ยวย่น และบำรุงสุขภาพผิวให้ชุ่มชื้นอีกด้วย

บำรุงระบบประสาท

กรดไขมันอิ่มตัวขนาดกลางของน้ำมันมะพร้าวจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองรวมไปถึงกระบวนการรับรู้และป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใช้ทำอาหาร

หลายคนยังไม่ทราบว่า ในความเป็นจริงแล้วน้ำมันมะพร้าวสามารถนำไปทำกับข้าวแทนน้ำมันพืชได้ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวจะไม่มีการเปลี่ยนสถานะเป็นไขมันทรานส์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนั่นเอง

การเลือกน้ำมันมะพร้าว

ควรเลือกน้ำมันมะพร้าวที่ไม่มีกลิ่นหืน หรือเปรี้ยว สีต้องใส เป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ รวมไปถึงเมื่อเปิดน้ำมันมะพร้าวใช้งาน ควรใช้ไม่เกิน 5 ปี

ข้อเสียของน้ำมันมะพร้าว

เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีปริมาณไขมันสูง หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น อีกทั้งการรับประทานไขมันมากเกินไปจะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยหมดประจำเดือน และคนสูงอายุ

ถึงแม้ว่า น้ำมันมะพร้าวจะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงแต่ก็ค่อนข้างมีความปลอดภัยกับสุขภาพ ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย เพราะน้ำมันมะพร้าวจะถูกเผาผลาญไปเป็นพลังงานจนหมดไม่เหลือเก็บสะสมในร่างกายให้เกิดผลเสีย 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tzu-Kai Lin. Anti-Inflammatory and Skin Barrier Repair Effects of Topical Application of Some Plant Oils. Int J Mol Sci. 2018 Jan; 19(1): 70.
ฉัตรชัย สังข์ผุด, (2558) การเพิ่มคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและเชื้อจุลินทรีย์ของน้ำมันมะพร้าว. สกัดเย็นโดยการดัดแปลงโครงสร้างทางเคมีด้วยการประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปส (http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/2131/1/Fulltext.pdf)
U.S. DEPARTMENT OF AGRICULTURE. Oil, coconut (https://fdc.nal.usda.gov)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป