ผายลม

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ผายลม

ผายลมคือการปล่อยแก๊สออกจากระบบย่อยอาหารโดยออกทางทวารหนัก การผายลมสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิธีการใช้ชีวิต

การผายลมเป็นกระบวนการทางชีววิทยาทั่วไปที่ทุก ๆ คนจะต้องประสบกันเป็นประจำอยู่แล้ว บางคนอาจจะผายลมเพียงไม่กี่ครั้งต่อวัน แต่อีกหลาย ๆ คนอาจจะมีการผายลมประมาณ 5 ถึง 10 ครั้งต่อวันก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การผายลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เมื่อคุณกลืนอาหาร น้ำ หรือน้ำลายลงไป คุณจะทำการกลืนมวลอากาศลงไปพร้อมกันด้วย ซึ่งอากาศนี้จะถูกกักเก็บในระบบย่อยอาหาร แก๊สภายในยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการย่อยอาหารของร่างกาย และเมื่อแก๊สสะสมถึงจุด ๆ หนึ่ง คุณจำต้องทำการปล่อยลมออกด้วยการเรอหรือการผายลม

คุณอาจไม่สังเกตว่าตนเองทำการปล่อยลมออกมาเพราะส่วนมากแล้วแก๊สจะไม่มีกลิ่น และมักปล่อยออกมาปริมาณน้อยมาก ๆ การผายลมที่มีกลิ่นเหม็นนั้นจะประกอบไปด้วยแก๊สที่มีกลิ่น เช่นซัลเฟอร์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องปรกติที่คุณจะผายลมออกมามีกลิ่นเล็กน้อยอยู่แล้ว

การผายลมมากเกินไปเกิดจากการกลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ หรือมาจากการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก อีกทั้งการผายลมยังเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพต่าง ๆ ที่ระบบย่อยได้เช่นกัน เช่นการเกิดภาวะอาหารไม่ย่อยซ้ำซาก (indigestion) หรือกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน(irritable bowel syndrome - IBS) เป็นต้น

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ไม่มีคู่มือทางการแพทย์ใดที่สามารถนิยามความถี่หรือปริมาณมาตรฐานของการผายลม ดังนั้นคุณต้องเป็นคนประเมินอาการของตนเอง

ควรไปพบแพทย์เมื่อคุณมีการผายลมที่รบกวนการใช้ชีวิตของคุณ เช่นหากแก๊สที่ออกมามีกลิ่นแรง และคุณควรไปพบแพทย์เมื่อคุณประสบกับอาการเพิ่มเติมต่าง ๆ เช่น: ท้องอืดและปวดท้องเรื้อรัง ท้องร่วงหรือท้องผูกซ้ำซาก น้ำหนักลดอย่างอธิบายไม่ได้ ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่ (bowel incontinence) มีเลือดปนอุจจาระ มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่นมีไข้สูง อาเจียน หนาวสั่น ปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ

อาการเหล่านี้ต่างเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงมาก จึงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบสาเหตุ เช่นการตรวจเลือดหรืออุจจาระเพื่อหาภาวะติดเชื้อ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การควบคุมปัญหา

การผายลมมากเกินไปสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิธีการใช้ชีวิต เช่น: เลี่ยงทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เปลี่ยนไปทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้งแทน ทานและดื่มน้ำอย่างช้า ๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อีกทั้งยังมีการใช้ยาที่หาซื้อได้จากร้านขายยาเพื่อควบคุมอาการผายลมที่น่ารำคาญ เช่นยาเม็ดถ่าน (charcoal tablets) หรือ simethicone

หากการผายลมของคุณมาจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ การรักษาภาวะนั้น ๆ จะสามารถแก้ไขอาการนี้ได้

สาเหตุของการผายลม

มีสาเหตุที่ทำให้เกิดการผายลมตามธรรมชาติมากมาย โดยอาการนี้ยังเป็นผลมาจากภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภทก็ได้

การกลืนอากาศเข้าไป

การกลืนอากาศเข้าไประหว่างการดื่มน้ำหรือการรับประทานอาหารเป็นเรื่องปรกติ โดยคุณสามารถกลืนมวลอากาศเข้าไปปริมาณมาก ๆ ได้โดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้

การกลืนอากาศเข้าไปปริมาณมากเกิดจาก: การเคี้ยวหมากฝรั่ง การสูบบุหรี่ การดูดปลอกปากกาหรือขนม การสวมฟันปลอมที่ไม่พอดี การเคี้ยวอาหารเร็วไป และไม่ละเอียด: การกลืนเศษอาหารชิ้นใหญ่เกินไปจะทำให้คุณกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การดื่มน้ำร้อนและน้ำอัดลมก็เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในกระเพาะอาหารมากขึ้น กระนั้นของเหลวเหล่านี้ก็มักทำให้คุณเรอออกมามากกว่าที่จะผายลม

อาหารและเครื่องดื่ม

ลำไส้อาจไม่สามารถทำการย่อยและดูดซับคาร์โบไฮเดรตในอาหารบางประเภทได้ สารอาหารตัวนี้จึงต้องเคลื่อนลงไปยังลำไส้เพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายแทน ซึ่งจะผลิตแก๊สออกมาจนกลายเป็นลมภายในลำไส้

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถดูดซับได้มีดังนี้: ถั่ว บล็อกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก อาร์ทิโชก ลูกเกด หัวหอม พรุน แอปเปิ้ล ฯลฯ

อาหารที่ประกอบด้วยกากใยธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดมาก่อนก็สามารถทำให้เกิดลมและอาการท้องอืดได้เช่นกัน

อาหารและเครื่องดื่มที่ใส่สารเพิ่มความหวานที่เรียกว่า sorbitol (เช่นหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลหรืออาหารมัน ๆ ) หรือน้ำตาลฟรุกโตส (เช่นน้ำผลไม้) ก็สามารถสร้างแก๊สออกมาได้ โดยเฉพาะหมากฝรั่งที่การเคี้ยวก็จะเพิ่มปริมาณอากาศที่ร่างกายกลืนเข้าไปเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อาหารบางประเภทเช่นหัวหอมหรือกะหล่ำปลีจะเป็นตัวการในการผลิตแก๊สซัลเฟอร์ ซึ่งทำให้ลมที่ออกมามีกลิ่นแรง อย่างไรก็ตามการที่มีลมกลิ่นแรงออกมาก็จะแตกต่างออกไปตามกรณีบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าคุณทานอะไรเข้าไปบ้าง

ภาวะสุขภาพ

ภาวะสุขภาพบางอย่างสามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดและผายลมได้ ดังนี้: อาหารไม่ย่อย ท้องผูก กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (IBS): ภาวะทั่วไปที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วง และท้องผูก เป็นต้น โรคแพ้กลูเตน (coeliac disease) ภาวะแพ้แลคโตส: ที่ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายแลคโตส (น้ำตาลธรรมชาติที่พบในนม) และไม่สามารถดูดซับสารนี้เข้าไปในเลือดได้ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis): ภาวะติดเชื้อที่ลำไส้และกระเพาะอาหาร ภาวะทุพโภชนาการ (malabsorption): ที่ซึ่งลำไส้ไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้อย่างที่ควร giardiasis: การติดเชื้อที่ระบบย่อยอาหารที่เกิดจากปรสิตขนาดจิ๋ว

การใช้ยา

ยา Flatulence ที่ใช้กับภาวะอาหารไม่ย่อยมีผลข้างเคียงทำให้เกิดลมขึ้นภายในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกับยาประเภทอื่น ๆ ดังนี้: ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) อย่างอิบูโพรเฟน ยาระบายบางประเภท ยาต้านเชื้อรา สแตติน (statins) varenicline (Champix): ยาที่ใช้เพื่อเลิกสูบบุหรี่

การรักษาอาการผายลม

การผายลมมากเกินไปมักรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินและการใช้ชีวิต อีกทั้งยังมีตัวเลือกยามากมายตามร้านขายยาที่คุณสามารถจัดหามาเพื่อควบคุมอาการได้

คำแนะนำดูแลตนเอง

อาหาร

คุณควรเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถดูดซับต่าง ๆ ดังที่ยกตัวอย่างไป อีกทั้งยังมีอาหารประเภทอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการผายลมดังนี้: อาหารที่ใส่สารเพิ่มความหวานเทียม ของหวานหรือหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล น้ำอัดลม

อย่างไรก็ตามคุณก็ยังควรต้องทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคุณให้สมดุลอยู่เสมอ รวมไปถึงการทานผักผลไม้ 5 ส่วนในแต่ละวัน โดยคุณสามารถคัดเลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตย่อยง่ายเช่น: มันฝรั่ง ข้าว ผักกาดหอม กล้วย องุ่น ผลไม้เปรี้ยว ๆ เช่นส้ม โยเกิร์ต

สิ่งที่คุณต้องจำไว้คือมนุษย์แต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่ออาหารชนิดเดียวกันแตกต่างกัน ดังนั้นอาหารข้างต้นอาจยังคงทำให้คุณมีอาการผายลมได้บ้าง คุณอาจจะใช้วิธีจดบันทึกการรับประทานอาหารของตนเองเพื่อดูว่าอาหารประเภทไหนที่ทำให้อาการของคุณแย่ลงหรือดีขึ้นบ้าง

คุณอาจเปลี่ยนวิธีการรับประทานจาก 3 มื้อใหญ่ต่อวันไปเป็นมื้อเล็ก ๆ 6 มื้อต่อวันแทน ซึ่งการทานอาหารปริมาณน้อย ๆ จะทำให้กระเพาะย่อยได้ง่ายขึ้น และทำให้มีแก๊สออกมาน้อยลง

มีหลักฐานที่กล่าว่าการดื่มชาเปปเปอร์มิ้นท์จะช่วยทำให้อาการผายลมดีขึ้นได้ อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าการทานขิงในปริมาณน้อย ๆ ก็ช่วยให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้นและบรรเทาอาการปวดท้องได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงมีครรภ์นั้นควรทำการปรึกษาแพทย์ก่อนทานขิงทุกครั้ง

อากาศ

เมื่อคุณรับประทานอาหารเข้าไป ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทั้งหมดเพื่อลดปริมาณอากาศที่คุณกลืนเข้าไป และยังเป็นการช่วยย่อยอาหารให้ง่ายขึ้นอีกด้วย เลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งเพราะจะทำให้คุณกลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปรกติ

คุณควรเลิกสูบบุหรี่เพราะการสูบจะทำให้คุณกลืนอากาศลงไปมากกว่าปกติ อีกทั้งควันของบุหรี่ยังไปสร้างความระคายเคืองต่อระบบย่อยได้อีกด้วย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายให้เพียงพอจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอาการท้องอืดและการผายลมลงได้เช่นกัน

การใช้ยาและการรักษาเยียวยาอื่น ๆ

มีการรักษามากมายตามร้านขายยาที่ช่วยรักษาอาการผายลมได้ ดังนี้

ยาถ่าน

ยาถ่าน (Charcoal tablets) เป็นยาประเภทหนึ่งที่วางขายตามร้านขายยา โดยถ่านจะดูดซับแก๊สในระบบย่อยอาหารและลดอาการต่าง ๆ ลง

ยาถ่านอาจจะไม่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังใช้ยาประเภทอื่นอยู่เนื่องจากว่าถ่านก็สามารถดูดซับยาเหล่านั้นและทำให้มีประสิทธิภาพลดลงได้ หากคุณกำลังใช้ยาตัวอื่น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มใช้ยาถ่านทุกครั้ง

Probiotics ก็สามารถใช้เพื่อรักษาอาการผายลมได้ โดย Probiotics เป็นอาหารเสริมที่มักอยู่ในรูปของยาน้ำหรือยาแคปซูล ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีในระบบย่อยอาหารของคุณ

แบคทีเรียที่ดีเหล่านั้นสามารถช่วยกระบวนการย่อยและลดอาการผายลมลงได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่ป่วยเป็นกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (IBM) คุณสามารถทานแบบโยเกิร์ต Probiotics ก็ได้ แต่ควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใส่สารเพิ่มความหวานเทียมหรือกากใยอาหารลงไป


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What's a Fart? (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/fart.html)
How to fart: 6 best poses and tips to pass gas. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321556)
Why do we fart? 10 facts about flatulence. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321866)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป