ยา Amoxicillin

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยา Amoxicillin

ตัวอย่างยี่ห้อของยา amoxicillin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

A.M. Mox 500, Ammimox, Amoxi T.O., Amoxil, Amoxy RX, Amoxycillin Community Pharm, Coamox, Dymoxin, Femox, Ibiamox, Meixil, Moxcin, Moximed, Moxxo Tablet, Moxypac, Pyramox, Ranoxyl, Servamox, Sia-Mox, T.O. Cillin, Unimox

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Amoxicillin

อะมอกซีซิลลิน (amoxicillin) เป็นยากลุ่ม ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ดมี 2 ขนาด ประกอบด้วยอะมอกซีซิลลิน ขนาด 500 มิลลิกรัม และขนาด 875 มิลลิกรัม ยาแคปซูลมี 2 ขนาด ประกอบด้วยอะมอกซีซิลลิน ขนาด 250 มิลลิกรัม และขนาด 500 มิลลิกรัม ยาชนิดผงละลายน้ำ ประกอบด้วยอะมอกซีซิลลิน ขนาด 125, 200, 250 และ 400 มิลลิกรัม ยาสำหรับฉีด ประกอบด้วยอะมอกซีซิลลิน ขนาด 250, 500 และ 1000 มิลลิกรัม และยาสำหรับทา ประกอบด้วยอะม็อกซีซิลลิน ความเข้มข้น 1%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Amoxicillin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ อะมอกซีซิลลิน เป็นยาอะนาลอกของแอมพิซิลลิน (ampicillin) ตัวยามีฤทธิ์ยับยั้งชีวสังเคราะห์ของมิวโคเปปไทด์ (mucopeptide) ที่เป็นองค์ประกอบของนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย มีคุณสมบัติแบบเดียวกับเพนิซิลลิน (penicillin) คือมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อที่กว้าง (broad-spectrum) ทั้งต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และแบคทีเรียแกรมลบ

ข้อบ่งใช้ของยา Amoxicillin

ยาอะมอกซีซิลิน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาการติดเชื้อที่ฟัน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด3000 มิลลิกรัม รับประทานยาซ้ำอีกหนึ่งครั้งหลังจากรับประทานยาครั้งแรก 8 ชั่วโมง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะเฉียบพลัน ชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 3000 มิลลิกรัม รับประทานยาซ้ำอีกหนึ่งครั้งหลังจากรับประทานยาครั้งแรก 10-12 ชั่วโมง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อโกนอเรีย ชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 3000 มิลลิกรัม วันละครั้งร่วมกับ โพรเบนีซิด (probenecid) ขนาด 1000 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้สำหรับการติดเชื้อ Helicobacter pylori ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด  750 มิลลิกรัม หรือ 1000 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง หรือขนาด 500 มิลลิกรัม วันละสามครั้ง ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล (metronidazole) หรือ คลาริโธรไมซิน (clarithromycin) และยาในกลุ่ม PPI

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจชนิดกลับมาเป็นซ้ำ หรือรุนแรง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 3000 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ชนิด extended-release ขนาด 775 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 10 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อแอคติโนไมเซส การติดเชื้อในท่อน้ำดี หลอดลมอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ กระเพาะอักเสบ การติดเชื้อโกนอเรีย การติดเชื้อในช่องปาก หูชั้นกลางอักเสบ ปอดบวม ความผิดปกติของม้าม ไข้ไทฟอยด์ ไข้พาราไทฟอยด์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 250 ถึง 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง หรือขนาด 500 ถึง 875 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง

ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 2000 มิลลิกรัม หรือ 3000 มิลลิกรัม 1 ครั้ง 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

แนะนำให้รับประทานยาพร้อมกับมื้ออาหารเพื่อเพิ่มการดูดซึมและลดผลข้างเคียงของระบบทางเดินอาหาร ควรดื่มน้ำตามให้มากหลังจากรับประทานยา และไม่อั้นปัสสาวะ

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Amoxicillin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Amoxicillin

  • ไม่ใช้ยาผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือมีการแพ้ยาในกลุ่มเพนิซิลลิน
  • ระวังการใช้ยาผู้ที่มีประวัติการแพ้ยากลุ่มบีต้า-แลคแตม (beta-lactam)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Amoxicillin

อาจก่อให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีดำ กลุ่มอาการคล้าย serum sickness เกิดผื่น เพิ่ม AST และ ALT คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีและตับ เกิดการตกตะกอนของยาในปัสสาวะ ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่ วิตกกังวล นอนไม่หลับ สับสน อาการชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มึนงง ฟันเปลี่ยนสี ผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ การแพ้ยา อาการท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ Clostridium difficile (CDAD) การรับประทานยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิด อาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย

ข้อมูลการใช้ยา Amoxicillin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Amoxicillin

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส ยารูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน เก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amoxil (amoxicillin) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more. Medscape. (https://reference.medscape.com/drug/amoxil-amoxicillin-342473)
Amoxicillin: Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/amoxicillin-oral-tablet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม