โปรตีน คือ สารอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีบทบาทสำคัญในการเสริมโครงสร้าง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นแหล่งพลังงาน ทำให้รู้สึกอิ่ม ช่วยในกระบวนการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระบวนการย่อยสารอาหาร กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยส่งสัญญาณต่างๆ ให้แก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ รวมไปถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และทำให้รู้สึกสดชื่นอยู่ตลอดเวลา
หลักการคำนวณโปรตีนที่ควรได้รับใน 1 วัน
แต่ละคนต้องการโปรตีนปริมาณแตกต่างกัน โดยกำหนดคร่าวๆ ได้ดังนี้
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- สำหรับคนปกติทั่วไปที่ต้องการโปรตีนในการใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ปริมาณโปรตีนที่ต้องการจะอยู่ที่ 0.8-1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น หากเราหนัก 60 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 48-60 กรัม ต่อวัน
- สำหรับคนที่ต้องการโปรตีนเป็นพิเศษ เช่น คนที่กำลังเล่นกล้าม ปริมาณโปรตีนที่ต้องการคือ 1.5-2 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 90-120 กรัม ต่อวัน แต่สำหรับคนที่ออกกำลังกายแบบไม่เน้นเพิ่มกล้ามเนื้อ เช่น แอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่งระยะไกล ปริมาณโปรตีนที่ต้องการจะอยู่ที่ 1.2-1.4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
แหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง
โปรตีนมีอยู่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารที่มาจากสัตว์และพืช โดยอาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่
- ไข่ เป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่ดีต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีราคาถูกและอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไขมันที่มีประโยชน์ โดยคนที่มีสุขภาพดีควรรับประทานไข่อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง
- เนื้อสัตว์ไขมันน้อย เช่น เนื้อวัว หรือเนื้ออกไก่ เป็นต้น เพราะล้วนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง อีกทั้งเนื้อวัวยังมีวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และสังกะสีด้วย
- อาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน หรือกุ้ง
- ผลิตภัณฑ์จากนม อุดมด้วยโปรตีนและสารอาหารมีคุณค่าอื่นๆ รวมทั้งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ช่วยในการบำรุงกระดูกและเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ และควรเลือกรับประทานนมไขมันต่ำ
- อัลมอนด์ เป็นถั่วเปลือกแข็งที่มีโปรตีนสูง และอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินอี แมงกานีส และแมกนีเซียม เป็นต้น
- ถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนสูงที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ โดยในปัจจุบันถั่วเหลืองได้ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่มมากมาย เช่น เต้าหู้ และนมถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้สำหรับผู้ที่รับประทานเจหรือมังสวิรัติ จะแนะนำให้รับประทานถั่วเหลืองแทน เพราะถั่วเหลืองเป็นถั่วชนิดเดียวที่มีกรดอะมิโนครบถ้วน
- พืชตระกูลถั่ว ไม่เพียงอุดมไปด้วยโปรตีน แต่พืชตระกูลถั่วยังมีไฟเบอร์ที่ดีต่อร่างกาย ช่วยให้อิ่มท้องได้นานเพราะมีไฟเบอร์สูง พืชตระกูลถั่วจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์
- บร็อกโคลี ผักใบเขียวที่อุดมด้วยวิตามินซี วิตามินเค ไฟเบอร์ โพแทสเซียม และมีโปรตีนสูงเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่นๆ
ตารางที่ 1 ปริมาณโปรตีนในอาหารชนิดต่างๆ
ชนิดอาหาร | ปริมาณอาหาร | ปริมาณโปรตีน (กรัม) |
---|---|---|
เนื้อไก่ | 100 กรัม | 23 |
เนื้อหมู/เนื้อวัว | 100 กรัม | 20-22 |
เนื้อปลาแซลมอน | 100 กรัม | 20 |
เนื้อปลาทูน่ากระป๋อง | 154 กรัม | 39 |
ไข่ (ทั้งฟอง) | 1 ฟอง | 7 |
ไข่ขาว | 1 ฟอง | 4 |
เต้าหู้ | 100 กรัม | 20 |
ถั่วเหลือง | 100 กรัม | 36 |
ถั่วลิสง | 100 กรัม | 24 |
อัลมอนด์ | 100 กรัม | 22 |
ข้าวโอ๊ต | 100 กรัม | 10-11 |
ควินัว | 185 กรัม | 8 |
กรีกโยเกิร์ต | 170 กรัม | 17 |
นม | 240 มิลลิลิตร | 8 |
บร็อกโคลี | 1 ถ้วย (96 กรัม) | 3 |
นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารโปรตีนสูงร่วมกับอาหารชนิดอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน (อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารโปรตีนสูงอย่างเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้) และออกกำลังกายควบคู่ไป เพราะหากรับประทานอาหารโปรตีนสูงเพื่อจะสร้างกล้ามเนื้อแต่ไม่มีการออกกำลังกาย ร่างกายจะนำโปรตีนไปทิ้ง บางส่วนถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และยังทำลายไต เพราะโปรตีนจะถูกขับออกทางไต
หากผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต้องการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการก่อนเสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ
ตารางที่ 2 ตัวอย่างรายการอาหารโปรตีนสูง
รายการอาหาร | ปริมาณโปรตีนที่ได้รับ (กรัม) | รายการอาหาร |
---|---|---|
โจ๊กอกไก่ปั่น และไข่ลวก | 69 | |
โรลไข่ขาวแซลมอน |
|
52 |
เนื้อผัดพริกไทยดำ | 44 | |
ยำควินัวอกไก่น้ำพริกข่า |
|
31 |