กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (Chronic myeloid leukaemia)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (Chronic myeloid leukaemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์เป็นมะเร็งของเซลล์ไมอีลอยด์ชนิดที่พบได้น้อย ในระยะแรกมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ โดยอาการที่สามารถสังเกตได้และเป็นสัญญาณเตือนของโรค คือ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน รู้สึกท้องอืด ฟกช้ำตามร่างกาย ปวดกระดูก โรคนี้รักษาได้ด้วยการใช้ยาเม็ดชื่อว่า อิมาทินิบ (imatinib) รับประทานทุกวันตลอดชีวิต และมากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่วินิจฉัยพบตั้งแต่ระยะแรกจะมีชีวิตได้อีกอย่างน้อย 5 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย 

บทนำ

คำว่า Leukaemia แปลเป็นภาษาไทยคือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สำหรับคำว่า chronic leukaemia มีความหมายว่า โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงโรคที่มีการดำเนินไปอย่างช้าๆ เป็นเวลาหลายปี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังจำแนกได้ตามชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (lymphocytes)-เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส
  • เซลล์ไมอีลอยด์ (myeloid cells): เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่หลายหน้าที่ เช่น ต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย ต่อสู้กับการติดเชื้อพยาธิ และป้องกันการแพร่กระจายของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย

ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (Chronic myeloid leukaemia) หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล (CML) ซึ่งเป็นมะเร็งของเซลล์ไมอีลอยด์ สำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ จะกล่าวถึงในบทความอื่น ได้แก่:

  • chronic lymphocytic leukaemia
  • acute myeloid leukaemia
  • acute lymphoblastic leukaemia

เกิดอะไรขึ้นบ้างในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง

ไขกระดูกมีหน้าที่ผลิตสเต็มเซลล์ (stem cells) หรือเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด เป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการพัฒนาเป็นเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ ได้อีก 3 ชนิดที่สำคัญ:

  • เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cells)-ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cells)-ทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • เกร็ดเลือด (platelets)-ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล

ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะมีการกลายพันธุ์ของยีนเกิดขึ้นที่สเต็มเซลล์ ทำให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาเป็นจำนวนมาก และเป็นสาเหตุให้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดลดปริมาณลง

เมื่อร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้มีอาการของโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย และการขาดเกร็ดเลือดจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย

สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

ในระยะแรกของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์มักไม่แสดงอาการใดๆ เมื่อโรคเป็นมากขึ้น อาการที่พบได้ ได้แก่:

  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลด
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • รู้สึกท้องอืด
  • ฟกช้ำตามร่างกาย
  • ปวดกระดูก

พบโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ได้บ่อยแค่ไหน?

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย ในปี ค.ศ.2011 มีผู้ป่วยประมาณ 680 คนที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ในประเทศสหราชอาณาจักร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในคนที่อายุ 40 – 60 ปี และยังไม่มีข้อมูลว่าเป็นโรคที่พบได้ในครอบครัวเดียวกัน

อนาคตของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

อนาคตของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์จะขึ้นกับการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาที่ได้รับ

ผู้ป่วยจำนวนมาก (60 – 65%) ตอบสนองดีต่อยา อิมาทินิบ (imatinib) ซึ่งเป็นยาเม็ดรับประทานทุกวันตลอดชีวิต

สำหรับคนตอบสนองไม่ดีต่อยา imatinib จะมีมากกว่าครึ่งหนึ่งที่ตอบสนองต่อยาทางเลือก 1 ชนิด ยานิโลทินิบ (nilotinib) เป็นยาทางเลือกที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ที่ไม่ตอบสนองหรือไม่สามารถทนต่อยา imatinib ได้

ในผู้ป่วยที่ยังคงล้มเหลวต่อการใช้ยา หรือไม่สามารถทนต่อการใช้ยาได้ อาจได้รับคำแนะนำให้ทำการปลูกถ่ายไขกระดูก หากสามารถทำได้

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยพบตั้งแต่ระยะแรกของช่วงที่มีอาการเรื้อรัง อนาคตของผู้ป่วยจะดีเยี่ยม โดยประมาณ 90% ของผู้ป่วยจะมีชีวิตได้อีกอย่างน้อย 5 ปี หลังการวินิจฉัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

ในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์มักไม่แสดงอาการใดๆ ซึ่งมักตรวจระหว่างการตรวจโรคจากสาเหตุอื่นๆ

เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการ อาการจะคล้ายกับอาการจากโรคอื่นๆ ได้แก่:

  • อ่อนเพลีย
  • ติดเชื้อบ่อย
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกท้องอืด
  • อาการที่พบได้น้อย: ต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณคอ และใต้รักแร้ และมักไม่มีอาการปวด

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ยังสามารถทำให้ม้ามโตได้ (ม้ามเป็นอวัยวะที่ช่วยในการกรองของเสียออกจากเลือด) ซึ่งอาจทำให้เห็นเป็นก้อนอยู่ที่ด้านซ้ายของหน้าท้อง และอาจไม่มีอาการปวดเมื่อสัมผัส ม้ามที่โตขึ้นจะทำให้เกิดแรงกดเบียดที่กระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกเบื่ออาหารและอาหารไม่ย่อยได้

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ในระยะที่มีความรุนแรง จะมีอาการที่ชัดเจนมากขึ้นและรบกวนชีวิตผู้ป่วย ซึ่งได้แก่:

  • อ่อนเพลียรุนแรง
  • ปวดกระดูก
  • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • มีไข้
  • ผิวหนังมีรอยฟกช้ำได้ง่าย

สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ (DNA) ของสเต็มเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว

การเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอดังกล่าวทำให้สเต็มเซลล์ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมามากกว่าความจำเป็น

ซึ่งเม็ดเลือดขาวที่ผลิตออกมามากเกินไปนั้นจะถูกปล่อยจากไขกระดูกเข้าสู่กระแสเลือดก่อนที่เซลล์เม็ดเลือดขาวจะโตเต็มที่และมีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคเฉกเช่นเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัยทั่วไป

เมื่อมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ไม่สมบูรณ์ โตไม่เต็มที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดปกติลดปริมาณลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังหลายๆ อาการ

โครโมโซมฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia chromosome)

แม้ว่าสาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์จะมาจากพันธุกรรม แต่โรคนี้ไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังจากกำเนิดมาแล้ว (acquired genetic abnormality)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้จะมีโครโมโซมที่ผิดปกติ คือมีชิ้นส่วนดีเอ็นเอของโครโมโซมหนึ่งสลับชิ้นส่วนของอีกโครโมโซมหนึ่ง

เราเรียกความผิดปกตินี้ว่า โครโมโซมฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia chromosome) ทำให้เซลล์มีการผลิตโปรตีนที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวต้านทานต่อการตายของเซลล์ตามปกติ และทำให้เซลล์เจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติ

ปัจจัยกระตุ้นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังที่เป็นไปได้

อะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังและเป็นสาเหตุให้เกิดการกลายพันธุ์ยีนในสเต็มเซลล์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วคือ การสัมผัสกับรังสี

อย่างไรก็ตามรังสีที่จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงจะต้องเป็นรังสีในปริมาณความเข้มข้นสูง เช่นเดียวกับที่มีการบันทึกไว้หลังจากระเบิดปรมาณู หรือจากรังสีที่รั่วไหลจากอุบัติเหตุโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด เช่น กรณีของโรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล (Chernobyl) เป็นต้น

เบนซิน (benzene)

ยังมีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับการสัมผัสกับสารเคมีเบนซินเป็นระยะเวลานานซึ่งส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ สารเบนซินพบได้ในน้ำมันเบนซิน และยังใช้ในอุตสาหกรรมยาง แต่ในปัจจุบันมีการควบคุมสารชนิดนี้มากขึ้นเพราะป้องกันผู้คนจากการสัมผัสสารนี้เป็นระยะเวลานาน

เบนซินเป็นสารที่พบในบุหรี่เช่นกัน อย่างไรก็ตามการสูบบุหรี่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันมากกว่าชนิดเรื้อรัง

ความเสี่ยงจากการทำงาน (Occupational risks)

การทำงานบางอย่างมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ เนื่องจากการสัมผัสกับสารบางอย่าง เช่น สารกำจัดศัตรูพืช หรือสารเคมีบางชนิด

การทำงานที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่:

  • การทำการเกษตรทุกชนิด
  • คนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมยาง หรือ พลาสติก
  • ช่างตัดเสื้อผ้า
  • พนักงานทำความสะอาด
  • คนงานก่อสร้าง

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าผู้คนเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังเพิ่มขึ้น

  • อ้วน
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือกำลังรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเนื่องจากได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • เป็นโรคลำไส้อักเสบ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (ulcerative colitis) หรือ โรคโครนส์ (Crohn’s disease)

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์มักได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเมื่อมีการตรวจเลือด/ตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจเลือดเนื่องจากสงสัยโรคอื่น แล้วตรวจพบโรคนี้โดยบังเอิญ

การตรวจเลือดเมื่อพบปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ ทำให้สงสัยได้ว่าเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง หากคุณมีผลการตรวจเลือดผิดปกติ คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโลหิตวิทยา (แพทย์ที่ชำนาญในการรักษาโรคเลือด) เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม

การเจาะไขกระดูก (bone marrow biopsy)

เพื่อยืนยันการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง แพทย์โลหิตวิทยาจะทำการเจาะเก็บตัวอย่างไขกระดูกเพื่อนำมาส่องตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การเจาะไขกระดูก (bone marrow biopsy) ซึ่งมักทำภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่

แพทย์โลหิตวิทยาจะทำให้ผิวหนังบริเวณด้านหลังช่วงกระดูกสะโพกมีอาการชา ก่อนที่จะเจาะเข็มเข้าไปดูดเอาตัวอย่างของไขกระดูกออกมาตรวจ คุณอาจรู้สึกปวดได้บ้างเมื่อยาชาหมดฤทธิ์และอาจมีอาการช้ำและรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่ทำการเจาะเป็นเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้น กระบวนการเจาะไขกระดูกจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที และคุณไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ตัวอย่างไขกระดูกที่ถูกเจาะออกมาจะถูกนำไปตรวจหาว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่ หากพบเซลล์มะเร็งจะสามารถตรวจต่อได้ว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดใด

การตรวจเพิ่มเติม

มีการตรวจเพิ่มเติมอีกหลายชนิดที่สามารถใช้เพื่อช่วยประเมินการดำเนินไปของโรคและความรุนแรงของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่กำลังเป็นในขณะนี้ ทำให้รู้ว่าควรรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยวิธีใด ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมมีดังนี้

การตรวจทางเซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetic testing)

การตรวจเซลล์พันธุศาสตร์จะทำเพื่อดูลักษณะทางพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง ซึ่งพบว่ามีการแปรปรวนทางพันธุกรรมหลายชนิดที่สามารถพบได้ระหว่างการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งการแปรปรวนทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันจะส่งผลสำคัญต่อการรักษาที่ควรได้รับ

ตัวอย่างเช่น 90% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์จะมีโครโมโซมฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia chromosome) ซึ่งผู้ป่วยที่มีโครโมโซมชนิดนี้จะตอบสนองดีต่อยา imatinib

การตรวจพีซีอาร์ (Polymerase chain reaction (PCR))

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (polymerase chain reaction (PCR)) คือการตรวจโดยใช้ตัวอย่างจากเลือด ซึ่งเป็นการตรวจสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและการติดตามการตอบสนองต่อการรักษา

การตรวจเลือดจะทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีหลังเริ่มการรักษา และจะค่อยๆ ตรวจห่างออกไปเมื่อโรคสงบแล้ว (remission)

การตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์ (Imaging tests)

ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคหรือเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ซึ่งอาจเป็นการตรวจดังต่อไปนี้:

  • การตรวจเอกซเรย์-มักใช้เพื่อตรวจปอด
  • การตรวจอัลตราซาวด์-มักใช้เพื่อตรวจตับและม้าม

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

ยาอิมาทินิบ (imatinib) เป็นยาเม็ดที่มักได้รับทันทีที่วินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรค โดยยานี้เป็นยาเม็ดสำหรับรับประทานทุกวันตลอดชีวิต และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อยาเป็นอย่างดี

สำหรับเป้าหมายในการรักษาประกอบไปด้วย:

  • เป้าหมายในช่วง 3 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาระดับเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ในกลับมาเป็นปกติ
  • เป้าหมายในช่วง 12 เดือน เพื่อทำให้ไขกระดูกปราศจากเซลล์ที่มีโครโมโซมฟิลาเดลเฟีย
  • เป้าหมายในช่วง 18 เดือน เพื่อทำให้โรคสงบ ((molecular remission) และสามารถตรวจพบได้เมื่อใช้เทคนิคการตรวจทางโมเลกุลที่มีความไวสูงเท่านั้น (very sensitive molecular test)

สำหรับการใช้ยาเคมีบำบัด จะถูกแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะรุนแรงแล้ว

การรักษาต่างๆ ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์มีรายละเอียดดังนี้

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ในระยะแรก (early-stage chronic myeloid leukaemia)

ยาอีมาทินิบ (imatinib)

ยา imatinib เป็นยาหลักที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ โดยมักจะให้ยานี้ทันทีที่ได้รับการวินิจฉัย เพราะยาถูกออกแบบมาเพื่อชะลอการดำเนินไปของโรคมะเร็ง และเพื่อป้องกันไม่ให้โรคมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลาม (accelerated หรือ advanced phase)

ยา imatinib เป็นยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ tyrosine kinase (tyrosine kinase inhibitor) ซึ่งเอนไซม์ tyrosine kinase มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การยับยั้งเอนไซม์นี้จึงช่วยลดการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติได้

ยา imatinib เป็นยาเม็ด ผลข้างเคียงของยาส่วนใหญ่อยู่ในระดับรุนแรงน้อย และอาการควรค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ได้แก่:

ยานิโลทินิบ (nilotinib)

ประมาณการว่าผู้ป่วยประมาณ 10 – 40% ที่ได้รับยา imatinib จะดื้อต่อยา ทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาทางเลือกอื่นๆ

ยา nilotinib เป็นยาทางเลือกที่ถูกแนะนำให้ใช้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ที่ดื้อหรือไม่สามารถทนต่อการใช้ยา imatinib ได้ และในผู้ป่วยบางราย ยา nilotinib อาจแนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรก

ยา nilotinib ออกฤทธิ์เหมือนกับยา imatinib คือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ผลข้างเคียงของยา nilotinib ได้แก่:

หากผลข้างเคียงรบกวนคุณเป็นอย่างมาก ให้แจ้งแพทย์ทราบ ซึ่งอาจจำเป็นต้องหยุดยาชั่วคราวเพื่อให้ผลข้างเคียงมีอาการลดลง และการเริ่มการใช้ยาใหม่อาจจำเป็นต้องลดขนาดยาลง

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ในระยะลุกลาม (advanced chronic myeloid leukaemia)

ยาเคมีบำบัด

เมื่อโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์มีการดำเนินไปของโรคที่ลุกลามรุนแรงมากขึ้น การรักษาถัดไปที่จะใช้คือการใช้ยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดชนิดเม็ดจะถูกใช้เป็นลำดับแรกเพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดแบบฉีด โดยผลข้างเคียงจะได้แก่:

ยาเคมีบำบัดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หรือเรียกว่า มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunocompromised)

หากอาการของผู้ป่วยยังคงเป็นอยู่หรือมีอาการแย่ลง แพทย์จะพิจารณาใช้ยาเคมีบำบัดชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำ (intravenous chemotherapy) โดยยาเคมีบำบัดชนิดฉีดจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาเม็ด และมักมีอาการรุนแรงกว่า

ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดชนิดฉีดได้แก่:

ผลข้างเคียงต่างๆ นี้ควรมีอาการดีขึ้นเมื่อการรักษาสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการมีภาวะมีบุตรยากอาจเป็นอย่างถาวร

การปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (bone marrow and stem cell transplants)

การปลูกถ่ายไขกระดูกมีเป้าหมายเพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังให้หายขาด แต่การรักษานี้มีความเหมาะสมและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

ก่อนการปลูกถ่ายไขกระดูก ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเข้มข้น ขนาดสูง ร่วมกับการได้รับรังสีรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่มีในร่างกาย

ซึ่งจะทำให้เกิดความเครียดอย่างมากต่อร่างกาย และทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนได้ การปลูกถ่ายไขกระดูกจะประสบความสำเร็จและมีผลลัพธ์ที่ดีมากในกรณีที่ผู้บริจาค (donor) มีเนื้อเยื่อคล้ายกับผู้ป่วยที่รับการบริจาค ดังนั้นผู้บริจาคไขกระดูกจึงมักเป็นพี่น้องของผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อคล้ายกับผู้ป่วย

จากเหตุผลดังกล่าวนี้จึงทำให้การปลูกถ่ายไขกระดูกประสบความสำเร็จเฉพาะในกรณีที่ทำในเด็ก หรือคนอายุน้อย หรือคนอายุมากที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีผู้บริจาคคือพี่น้องที่มีความเหมาะสมและสามารถบริจาคได้

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังจะพบว่า ความเสี่ยงของการปลูกถ่ายไขกระดูกมีมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังระยะรุนแรงลุกลามจะมีชีวิตรอดหลังจากปลูกถ่ายไขกระดูกต่ำ เพียง 1 ใน 5 รายเท่านั้น

ดังนั้นสภาวะทางสุขภาพของคุณจะช่วยบอกได้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปลูกถ่ายไขกระดูกมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบไมอีลอยด์

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง คือ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง)

สาเหตุหลักมาจาก 2 ประการ คือ:

  • ร่างกายมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ลดปริมาณลง ซึ่งหมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันมีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคน้อยลง
  • ยาหลายชนิดที่ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

ซึ่งหมายถึงคุณจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากขึ้นกว่าคนปกติ และการติดเชื้อต่างๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

คุณอาจได้รับคำแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) เป็นประจำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีที่คุณมีอาการใดๆ ก็ตามที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ เพราะจำเป็นต้องรักษาการติดเชื้อทันทีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

อาการของการติดเชื้อ ได้แก่:

ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเจอกับผู้คนที่มีอาการติดเชื้ออยู่ แม้ว่าจะเป็นการติดเชื้อที่คุณเคยมีภูมิคุ้มกันมาแล้วก็ตาม เช่น โรคอีสุกอีใส หรือหัด เพราะว่าภูมิคุ้มกันที่คุณเคยมีจะมีระดับต่ำลงในขณะนี้

อย่างไรก็ตามการออกไปนอกบ้านยังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เพื่อไปออกกำลังกาย และเพื่อสุขภาพจิตที่ดี แต่ให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีผู้คนจำนวนมาก และหลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่มีคนหนาแน่น

นอกจากนี้ต้องแน่ใจว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วนและเป็นปัจจุบันแล้ว ซึ่งแพทย์สามารถให้คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนแก่คุณได้ คุณจะไม่สามารถฉีดวัคซีนเชื้อเป็นได้ (วัคซีนที่มีเชื้อมีชีวิต) เช่น

  • วัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR vaccine)
  • วัคซีนโปลิโอ (polio vaccine)
  • วัคซีนไทฟอยด์ชนิดให้ทางปาก (oral typhoid vaccine)
  • วัคซีนบีซีจี (BCG vaccine) เพื่อป้องกันการติดเชื้อวัคโรค
  • วัคซีนป้องกันไข้เหลือง (yellow fever vaccine)

ผลกระทบทางจิตใจจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง

เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังจะทำให้มีอาการเป็นทุกข์ รู้สึกแย่ได้ โดยเฉพาะหากโรคที่กำลังเป็นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในช่วงแรกจึงเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับได้

สถานการณ์อาจแย่ลงได้ถ้าคุณรู้ว่าโรคนี้ในตอนแรกอาจยังไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่สุดท้ายแล้วจะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะรู้ว่าโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวทำให้มีการพัฒนาของโรคไปอย่างไรมาก ซึ่งทำให้มีอาการเครียดอย่างมาก และกระตุ้นให้ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลได้

หากคุณได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว การเข้ารับคำปรึกษากับผู้ให้คำปรึกษาหรือจิตแพทย์อาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลได้

ยาต้านซึมเศร้า หรือ ยาที่จะช่วยลดความรู้สึกวิตกกังวลอาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะดังกล่าวได้ดีขึ้น คุณอาจพบประโยชน์จากการพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเช่นเดียวกับคุณ ซึ่งแพทย์หรือทีมที่ดูแลคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนที่อยู่ใกล้คุณได้


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Chronic Myeloid Leukemia? | Leukemia Types. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/chronic-myeloid-leukemia/about/what-is-cml.html)
Chronic myeloid leukaemia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/chronic-myeloid-leukaemia/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป