กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ระวังเป็นโรคมะเร็ง หากเกิดรอยช้ำเป็นจ้ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ระวังเป็นโรคมะเร็ง หากเกิดรอยช้ำเป็นจ้ำ

 วันนี้มีคำอธิบายรอยช้ำที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุบนผิวหนัง เนื่องจากหลายคนเข้าใจผิดกันว่าคือ "ผีอำ" แต่ความจริงแล้วอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยว่า สุขภาพกำลังมีปัญหาและมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจมีโอกาสเสียชีวิต

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวคืออะไร?

โรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากกว่าปกติ แต่กลับไม่สามารถเจริญเป็นเซลล์ที่แข็งแรง เหตุนี้เองทำให้ช่วงที่เม็ดเลือดขาวมีการแบ่งตัวมากกว่าปกติจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน อันตรายต่อสมอง หัวใจ และปอด แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงที่เม็ดเลือดขาวลดจำนวนลงเพราะความไม่สมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาว เมื่อนั้นร่างกายจะขาดตัวทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย อันเป็นหน้าที่หลักของเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้คนๆ นั้นมีภูมิต้านทานน้อย เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ มีอาการไข้ และรู้สึกอ่อนเพลีย ขณะที่รอยช้ำเป็นจ้ำๆ ที่ขยายใหญ่ขึ้นนั้น เกิดจากการที่เส้นเลือดปริแตกจึงมีเลือดออกอยู่ใต้ผิวหนังและไม่ยอมหยุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

หากสำรวจตามร่างกายแล้วมีรอยช้ำขึ้น ก็อาจยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังต้องมีอาการอื่นๆ ปรากฏร่วมด้วย เช่น 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีกี่ชนิด?

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคิเมีย มีทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยชนิดเฉียบพลันจะพบได้บ่อยกว่า โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ซึ่งมีเม็ดเลือดอยู่ 3 ชนิด คือ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด

สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ไม่อาจสรุปสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่ทางการแพทย์สันนิษฐานว่า เกิดจากภาวะผิดปกติของพันธุกรรม และคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมบางอย่างมีโอกาสเป็นได้มากกว่าคนอื่นๆ ส่วนการรักษา หลังจากแพทย์เจาะตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อสำรวจความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดแล้ว จะให้ผู้ป่วยรับประทานยา บางรายอาจต้องใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย 


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Know the Early Warning Signs of Cancer. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/cancer-prevention-and-early-warning-signs-3520558)
Bruise That Won’t Go Away: Causes, Concerns, Treatment & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/bruise-that-wont-go-away)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป