กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

เม็ดเลือดขาวสูง บ่งบอกความผิดปกติอะไรบ้าง?

เม็ดเลือดขาวสูงขึ้นเป็นเรื่องปกติเมื่อร่างกายติดเชื้อต่างๆ แต่หากเม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ ถือเป็นอันตรายต่อร่างกาย ควรรีบไปแพทย์ทันที!
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เม็ดเลือดขาวสูง บ่งบอกความผิดปกติอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ หรืออยู่ที่มากกว่า 11,000 เซลล์/มิลลิลิตร ซึ่งจำนวนเม็ดเลือดขาวในคนปกติจะอยู่ที่ 4,000-11,000 เซลล์/มิลลิลิตร
  • ภาวะเม็ดเลือดขาวสูงจะทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และมีอาการแสดงออกมา เช่น มีไข้ อ่อนแรง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร มีเลือดออก หรือฟกช้ำตามผิวหนัง
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวสูงเกิดได้หลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อปรสิต ผลจากการใช้ยาบางชนิด ความเครียด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • วิธีรักษาภาวะเม็ดเลือดขาวสูงจะแตกต่างกันไปตามจำนวนเม็ดเลือดที่มากเกิน หากสูงเล็กน้อยก็ไม่ต้องรักษาก็ได้ แต่หากมีไข้ อ่อนเพลีย ก็อาจให้ยารับประทาน หรือให้เคมีบำบัด หากเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • วิธีป้องกันภาวะเม็ดเลือดขาวสูงทำได้ไม่ยาก เพียงแค่รักษาร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นไปตรวจสุขภาพกับแพทย์เสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายได้ที่นี่)

ความหมายของภาวะเม็ดเลือดขาวสูง

ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง (Leukocytosis) คือ การมีเม็ดเลือดขาวในร่างกายมากกว่า 11,000 เซลล์/ไมโครลิตร ซึ่งโดยปกติแล้ว จำนวนเม็ดเลือดขาวในคนปกติจะอยู่ระหว่าง 4,000-11,000 เซลล์/ไมโครลิตร

แต่ละช่วงอายุ หรือสถานะ จะมีค่าเม็ดเลือดขาวแตกต่างกัน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ทารก 5,000 – 38,000 เซลล์/ไมโครลิตร
  • สตรีมีครรภ์ 5,800 – 13,200 เซลล์/ไม่โครลิตร

เม็ดเลือดขาวที่สามารถตรวจวัดได้เบื้องต้นจากห้องปฏิบัติการแบ่งเป็น 5 ชนิด ตามจำนวนมากไปน้อย ได้แก่ นิวโทรฟิล (Neutrophil) ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) โมโนไซต์ (Monocyte) อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) และเบโซฟิล (Basophil)

เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแตกต่างกันไป โดยคอยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ แต่หากเม็ดเลือดขาวมีจำนวนมากผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกว่าร่างกายกำลังเผชิญกับการติดเชื้อ การอักเสบ หรือความผิดปกติอื่นๆ ได้

อาการของภาวะเม็ดเลือดขาวสูง

หากเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย มักไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่หากเม็ดเลือดขาวสูงมาก ก็อาจพบอาการที่เกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผิดปกติได้ เช่น

อาการในเบื้องต้น เป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากความเจ็บป่วยต่างๆ เมื่อเกิดอาการจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง

สาเหตุของการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวสูง

เกิดการติดเชื้อ ร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเพื่อมากำจัดเชื้อโรค โดยชนิดของเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้น อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อต่างๆ ดังนี้

  • เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลสูง มักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูง มักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัส ยกเว้นการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งมีเซลล์เป้าหมายเป็นเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงอาจพบเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ต่ำลงได้
  • เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลสูง มักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อปรสิต หรือหนอนพยาธิ
  • เกิดมีการอักเสบ เนื่องจากการอักเสบเป็นหนึ่งในกลไกตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดเลือดขาวโดยตรง
  • มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน เช่น มีภูมิคุ้มกันไวผิดปกติ เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือที่เรียกว่า โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus: SLE) อาจมีการสร้างเม็ดเลือดขาวในร่างกายมากขึ้นได้
  • มีความผิดปกติของไขกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว หากไขกระดูกเกิดความผิดปกติก็อาจส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดขาวมากขึ้นหรือน้อยลงได้
  • เป็นโรคภูมิแพ้ เมื่อสัมผัสกับสารกระตุ้นอาการแพ้ เช่น อาหาร ขนสัตว์ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างเม็ดเลือดขาวมากขึ้น โดยเฉพาะชนิดเบโซฟิล
  • เป็นผลจากยาบางชนิด เช่น ยาที่กระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และยาสเตียรอยด์ (Steroid)
  • มีความเครียด วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน
  • เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวสูง

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน มักพบเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวหลุดออกมาในกระแสเลือดจำนวนมาก ซึ่งโดยปกติเซลล์ตัวอ่อนจะอยู่ในไขกระดูกเท่านั้น
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มักพบเซลล์ตัวเต็มวัยของเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงมาก (สูง 2-5 เท่า ของจำนวนปกติ) และมีเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาวปะปนมาด้วย

การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาว

  • โดยปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องตรวจวัดเม็ดเลือดขาวในการตรวจร่างกายปกติ  ยกเว้นกรณีที่แพทย์สงสัยว่า ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติที่จำเป็นต้องใช้ค่าเม็ดเลือดขาวในการช่วยยืนยันการวินิจฉัยของแพทย์
  • ทำได้โดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ เพื่อนับแยกจำนวนเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด ร่วมกับการตรวจสเมียร์เลือด (Blood smear) เพื่อดูลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดขาว
  • ค่าปกติของจำนวนเม็ดเลือดขาว คือ 4,000-11,000 เซลล์/ไมโครลิตร
  • สัดส่วนปกติของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด ได้แก่ นิวโทรฟิล 40-60% ลิมโฟไซต์ 20-40% โมโนไซต์ 2-8% อีโอซิโนฟิล 1-4% และเบโซฟิล 0-1%

การรักษาภาวะเม็ดเลือดขาวสูง

  • กรณีที่เม็ดเลือดขาวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย และไม่มีอาการรุนแรง ถือเป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • หากพบอาการ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย มีผื่นแพ้ แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุนั้น เช่น หากเกิดการติดเชื้อก็จะให้ยาต้านไวรัส ยาปฏิชีวนะ หรือยาถ่ายพยาธิ หากมีอาการแพ้ก็จะให้ยาแก้แพ้ หรือหากพบว่า เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก็จะรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี
  • กรณีที่มีเม็ดเลือดขาวสูงมากกว่า 100,000 เซลล์/ไมโครลิตร อาจต้องรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

การป้องกันเม็ดเลือดขาวสูง

การที่เม็ดเลือดขาวสูงขึ้นนั้นเป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม จึงไม่จำเป็นต้องหาวิธีป้องกัน เพียงแต่ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น 

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอ 
  • หมั่นออกกำลังกาย 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง กระเทียม หรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 

หากคุณรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงได้ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมอยู่เสมอ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Riley L.K. et al. Evaluation of Patients with Leukocytosis. Am Fam Physician. 2015.
Abramson N. et al. Leukocytosis: Basic of Clinical Assessment. Am Fam Physician. 2000..

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม