หนองในเทียม คืออะไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย หากเป็นแล้วจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิสได้มากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
หนองในเทียม คืออะไร?

"หนองในเทียม" เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่กลับมาระบาดอีกครั้งในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงพ.ศ. 2560 เป็นต้นมา สถิติผู้ป่วยเป็นรองแค่ซิฟิลิสและหนองในเท่านั้น  หนองในเทียมเป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น ดังนั้นผู้ติดเชื้อหลายคนจะไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อหนองในเทียมเข้าให้แล้ว  บทความต่อไปนี้จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อได้

หนองในเทียมคืออะไร?

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis : NSU) มีเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยคือ เชื้อแบคทีเรียชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)  ที่พบรองลงมาคือ เชื้อยูเรียพลาสม่า (Ureaplasma urealyticum) สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิง  หากติดเชื้อหนองในเทียมควรรีบไปแพบแพทย์เพื่อรักษาเพราะหากไม่รักษา หรือรักษาไม่ถูกต้อง อาการอาจลุกลามจนถึงขั้นอัณฑะอักเสบ  มีผื่นขึ้นตามตัว  บางรายอาจปวดข้อ ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ และร้ายแรงที่สุดคือ "เป็นหมัน"   ส่วนฝ่ายหญิง อาการอาจลุกลามจนถึงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและมีอาการอักเสบบริเวณปากมดลูก นอกจากนี้ยังอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจนถึงขั้นเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้   ที่สำคัญเมื่อติดเชื้อหนองในเทียมแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิสได้มากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เชื้อหนองในเทียมแพร่กระจายได้อย่างไร?

เชื้อหนองในเทียมพบได้ในน้ำอสุจิและสารน้ำในช่องคลอด รวมทั้งปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และช่องคลอด  เชื้อหนองในเทียมจึงสามารถแพร่ไปยังผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก หากมีคู่นอนมาก หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากขึ้น   รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายรักชายและหญิงรักหญิงก็มีความเสี่ยงเช่นกัน  นอกจากนี้หากมีการสัมผัสของเหลวที่มีเชื้อจากนั้นเอามือมาขยี้ตาก็จะเกิดการติดเชื้อหนองในเทียมที่ตาได้   

หนองในเทียมยังสามารถแพร่ไปยังทารกได้ขณะที่คลอดลูกผ่านทางช่องคลอด ทำให้เด็กเป็นโรคปอดบวมและเยื่อบุตาอักเสบซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกมากหากไม่ได้รับการรักษา  อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถติดเชื้อได้จากการใช้ผ้าเช็ดตัว ลูกบิดประตู หรือฝารองโถชักโครกร่วมกับผู้ติดเชื้อ

การเป็นโรคบางโรค เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะตีบ หนังหุ้มอวัยวะเพศอักเสบ  การใส่สายสวนปัสสาวะ  ต่อมลูกหมากอักเสบ ก็มีโอกาสติดเชื้อหนองในเทียมได้เช่นเดียวกัน 

สาวๆ จะทราบได้อย่างไรว่า ติดเชื้อ?

โดยมากเชื้อหนองในเทียมแทบจะไม่แสดงอาการในผู้หญิง  แต่พบว่า ผู้หญิงบางรายอาจมีตกขาวมากผิดปกติ  ตกขาวเป็นมูกปนหนอง  ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะขัด  บางรายปวดท้องตอนเป็นประจำเดือนร่วมกับมีไข้ ปวดท้องน้อยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกในช่วงที่ประจำเดือนไม่มา หรือหากได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะมีอาการปวดทวารหนัก มีหนองหรือเลือดออกผิดปกติได้ เป็นต้นหากสงสัยว่า อาจติดเชื้อแนะนำให้พบแพทย์เท่านั้นเพื่อตรวจหาเชื้อ หรือตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีใด

คุณผู้ชายจะทราบได้อย่างไรว่า ติดเชื้อ?

ผู้ชายที่ติดเชื้อหนองในเทียมอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น มีของเหลวสีขาว หรือหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ  มีอาการคัน ระคายเคือง หรือปวดหน่วงบริเวณอวัยวะเพศ หรือมีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ บางรายอาจมีอาการปวดอัณฑะ หรืออัณฑะบวมร่วมด้วย   เช่นเดียวกับฝ่ายหญิงหากสงสัยว่า อาจติดเชื้อแนะนำให้พบแพทย์เท่านั้นเพื่อตรวจหาเชื้อ หรือตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีใด

ระยะเวลาการเกิดอาการของโรค

ผู้ที่เป็นหนองในเทียมจะเริ่มสังเกตพบอาการประมาณ 1 - 3 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ สำหรับบางคนอาจใช้เวลานานถึง 3 สัปดาห์จึงเริ่มแสดงอาการ และบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การวินิจฉัยโรคหนองในเทียม

ปัจจุบันแพทย์แนะนำให้เด็กวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป  สามารถตรวจหาเชื้อหนองในเทียมได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกให้แพทย์ทราบว่า เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ นั่นก็เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ติดเชื้อทุกคนได้รับการตรวจและรักษาต่อไปได้

วิธีตรวจสามารถทำโดยการนำน้ำหนอง หรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรืออวัยวะเพศมาเพาะเชื้อ หรือน้ำปัสสาวะ 

การรักษาโรคหนองในเทียม

หากคุณเคยติดเชื้อหรือได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ แพทย์จะกำหนดให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะซึ่งจะขจัดเชื้อออกไปได้ภายใน 7 – 10 วัน

แนะนำให้ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ทุกคนต้องได้รับการตรวจหาเชื้อและรับการรักษา เนื่องจากผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา รวมถึงคู่นอนที่คุณมีเพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนที่ผ่านมา  หรือคู่นอนคนที่คุณเคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดก่อน 2 เดือนที่ผ่านมาด้วย เป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า ติดเชื้อหนองในเทียมจะต้องงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าผู้ติดเชื้อและคนรักจะได้รับการรักษาให้หายสนิท

หากคนรักของคุณมีเชื้อหนองในเทียม การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาและเพื่อไม่ให้กลับมาติดโรคอีกครั้งหากมีเพศสัมพันธ์กับคนรักที่ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งคุณมีโอกาสกลับมาติดเชื้ออีกครั้งแม้คุณจะได้รับการรักษาแล้ว ที่สำคัญการที่คุณเคยติดเชื้อมาก่อนไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้แล้ว

อย่างไรก็ดี  การป้องกันการติดเชื้อย่อมดีกว่าการติดเชื้อแล้วต้องรับการรักษา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อคือ การงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด (รวมถึงทางทวารหนักหรือทางปากด้วย) แต่หากคุณตัดสินใจจะมีเพศสัมพันธ์คุณจะต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพราะถุงอย่างอนามัยเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถปกป้องคุณจากการติดเชื้อหนองในเทียมได้  รวมทั้งไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอน ควรมีคู่นอน หรือสามี-ภรรยา เพียงคนเดียว  หากสงสัยว่า ตนเอง หรือคู่นอนมีอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยาปฏิชีวนะสำหรับโรคหนองในเทียม

การรักษาโรคหนองในเทียมส่วนใหญ่จะใช้ยาปฏิชีวนะแบบกินโดยให้วิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้

  • ยาอะซิโธรมัยซิน(Azithromycin)ชื่อการค้าว่าซิโทรแมกซ์(Zithromax)หรือวีแมกซ์(Zmax)กินครั้งเดียว
  • ยาด็อกซีไซคลิน(Doxycycline)ซึ่งมีชื่อการค้าหลายชื่อได้แก่ ดอริกซ์(Doryx), ด็อกซีเคล(Doxychel), โมโนด็อก(Monodox), โอราซี(Oracea), เปอริโอสแตท(Periostat), ไวบรา-แทบซ์(Vibra-Tabs) และไวบรามัยซิน(Vibramycin) โดยกินวันละสองครั้งเป็นเวลา 7 วัน

สำหรับยาปฏิชีวนะตัวอื่นๆที่ใช่รักษาโรคหนองในเทียมได้ได้แก่

  • ยาอีริโธรมัยซิน(Erythromycin)ซึ่งมีชื่อการค้าหลายชื่อได้แก่ อีอีเอส(EES), อีรี-ซี(ERY-C), อีตี-แทบ(Ety-Tab), อีริโธรซิน(Erythrocin), พีซีอี ดิสเพอร์แทบ(PCE Dispertab) และพีเดียมัยซิน(Pediamycin) โดยกินวันละ 4 เวลาเป็นเวลา 7 วัน
  • ยาเลโวฟล็อกซาซิน(Levofloxacin) ชื่อการค้าว่าเลวาควิน(Levaquin) กินวันละครั้งนาน 7 วัน
  • ยาโอฟล็อกซาซิน(Ofloxacin) ชื่อการค้าว่าฟล็อกซิน(Floxin) กินวันละ 2 เวลาเป็นเวลา 7 วัน

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค(CDC)ระบุว่ายาอีริโธรมัยซิน(erythromycin)อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาอะซิโธรมัยซิน(azithromycin)หรือยาด็อกซีไซคลิน(doxycycline)เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักไม่กินยาไม่ครบตามคำสั่งแพทย์เพราะยาอีริโธรมัยซิน(erythromycin)มีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ยาเลโวฟล็อกซาซิน(Levofloxacin) และยาโอฟล็อกซาซิน(Ofloxacin)มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาอะซิโธรมัยซิน(azithromycin)หรือยาด็อกซีไซคลินแต่มีราคาแพงมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ยาตัวใดในการรักษาโรคหนองในเทียม สิ่งสำคัญคือต้องกินยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและงดการมีเพสสัมพันธ์เป็นเวลาเจ็ดวันหลังจากเริ่มกินยา(เพราะยังสามารถแพร่เชื้อหนองในเทียมได้ขณะที่ได้รับการรักษาอยู่) และถ้าสามีหรือภรรยากำลังรักษาโรคหนองในเทียมอยู่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหาย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค(CDC)แนะนำว่าให้ตรวจหาเชื้อหนองในเทียมซ้ำอีกครั้งหลังจากรักษา ยาอะซิโธรมัยซิน(azithromycin)นั้นปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และยาด็อกซีไซคลิน(doxycycline)ก็ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงสามเดือนแรก ส่วนยาเลโวฟล็อกซาซิน(Levofloxacin)และยาโอฟล็อกซาซิน(Ofloxacin)มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อาจไม่ปลอดภัยหากใช้ขณะให้นมบุตร และมีการศึกษาในสัตว์หลายชิ้นพบว่ายาปฏิชีวนะเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเตียงอื่นๆระหว่างตั้งครรภ์ได้

การป้องกันโรคหนองในเทียม

สามารถป้องกันโรคหนองในเทียมจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกสุขลักษณะ ได้แก่

  • ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทางอวัยวะเพศหรือทางทวารหนัก
  • ใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายหรือถุงครอบปาก(dental dam)ซึ่งมีลักษณะเป็นยางบางๆรูปสี่เหลี่ยมสำหรับผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • ควรตรวจอย่างละเอียดว่าได้ล้างเซ็กซ์ทอย(sextoy)หรือเปลี่ยนถุงยางอนามัยที่ใช้กับเซ็กซ์ทอย(sextoy)แล้วก่อนใช้กับคนใหม่ และการลดจำนวนคู่นอนก็สามารถหลีกเลี่ยงโรคหนองในเทียมได้

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
American Sexual Health Association (ASHA) ,Chlamydia - CDC Fact Sheet
Krishna Wood White, Chlamydia (https://kidshealth.org/en/teen...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป