เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 16 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยคืออะไร?

เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คือ ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองและคู่ของคุณให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและทำให้คุณมีเพศสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจะช่วยป้องกันเราจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted diseases หรือ STDs) เป็นโรคติดต่อจากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือการสัมผัสบริเวณรอยโรคที่ผิวหนังของทั้งสองฝ่าย สามารถเป็นสาเหตุของการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหมายถึงการดำเนินการต่างๆ เพื่อป้องกันตัวเองและคู่ของคุณจากโรคติดต่อในขณะที่มีเพศสัมพันธ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยมีหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง และ/หรือ แผ่นยางอนามัย (แผ่นยางไว้ปิดบนอวัยวะเพศหรือทวารหนัก) ซึ่งเป็นแบบชนิดใช้แล้วทิ้ง โดยใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยปกป้องบางส่วนของอวัยวะเพศเพื่อป้องกันคุณและคู่ของคุณจากสารคัดหลั่งของร่างกายและการเสียดสีของผิวหนังซึ่งเป็นช่องทางของการแพร่เชื้อได้

การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอเป็นส่วนหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ถึงแม้ว่าคุณจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งและยังรู้สึกสบายดีอยู่ก็ตาม เพราะผู้ที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มักไม่มีอาการหรือไม่รู้ว่าตนเองกำลังติดเชื้ออยู่ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากตนเองไปยังคู่ของคุณได้โดยง่าย ดังนั้นการตรวจจึงเป็นวิธีเดียวเท่านั้นในการรู้ว่าคนๆ นั้นติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่

การตรวจจะเป็นวิธีที่จะทำให้คุณรู้ว่าคุณติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้คุณเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็ว ทำให้มีสุขภาพที่ดียืนยาวและป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

การมีเพศสัมพันธ์ภายนอก หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง (ช่วยตัวเอง) ร่วมกับคู่ของคุณ ไม่ใช่ช่องทางการติดต่อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการมีความสุขทางเพศที่ปลอดภัย แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการถอดกางเกงใน และมีการสัมพันธ์ร่างกาย จนถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่แล้วล่ะก็ การใช้ถุงยางอนามัย/แผ่นยางอนามัย เป็นวิธีที่จะทำให้คุณปลอดภัย

วิธีอื่นที่ที่จะช่วยให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คือ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป หรือการใช้สารเสพติด เพราะนั่นมีโอกาสทำให้คุณไม่มีสติ และลืมความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยไป ซึ่งอาจทำให้คุณมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เพราะในขณะที่คุณดื่มแอลกอฮอล์นั้น คุณอาจไม่มีสติมากพอที่จะสวมถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องก็เป็นได้

วิธีเดียวที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็คือการไม่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะในช่องทางใดๆ แต่ทว่าไม่ใช่วิธีที่ดีสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะเพศสัมพันธ์คือส่วนหนึ่งของการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองคนหรือชีวิตคู่นั่นเอง ดังนั้นถ้าคุณต้องมีเพศสัมพันธ์ จึงต้องมีแบบปลอดภัยเพื่อปกป้องตัวคุณจากการติดเชื้อหรือป้องกันการแพร่เชื้อให้คนอื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เราจะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร?

โดยทั่วไปโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งขณะที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก, ทวารหนัก หรือช่องคลอด ซึ่งมีหลายโรค เชื้อโรคบางโรคจะอยู่ในสารคัดหลั่งของร่างกาย เช่น อสุจิ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด และเลือด นอกจากนั้นยังสามารถแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสรอยโรคที่ผิวหนัง การใช้ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัยจะช่วยป้องกันการสัมผัสสารคัดหลั่ง และป้องกันการสัมผัสผิวหนังบริเวณที่มีรอยโรคขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นถ้าคุณไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย นั่นเท่ากับว่าคุณมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงมาก

หากมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนัก โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย คุณมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกชนิดที่บริเวณอวัยวะเพศ ได้แก่

หากมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (ออรัลเซ็กซ์) โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัย คุณมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ริมฝีปาก, ปาก และลำคอ ได้แก่

  • เริม
  • ซิฟิลิส
  • หนองใน
  • เอชพีวี
  • ตับอักเสบชนิดบี
  • หากมีการสัมผัสผิวหนังที่มีรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศของทั้งสองฝ่าย คุณมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ได้แก่
  • เริม
  • เอชพีวี
  • โลน
  • หิด

วิธีมีเพศสัมพันธ์บางอย่างปลอดภัยกว่าวิธีอื่นจริงหรือ?

จริง! วิธีในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีความเสี่ยง เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง (ช่วยตัวเอง) การถูไถโดยไม่ถอดเสื้อผ้า

กิจกรรมที่มีความเสี่ยงน้อย ได้แก่ การจูบ การสัมผัสอวัยวะเพศของอีกฝ่ายด้วยมือ การใช้เซ็กซ์ทอย การถูไถร่างกายขณะถอดเสื้อผ้า และการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (ออรัลเซ็กซ์) แต่ทว่าก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย และแผ่นยางอนามัยเพื่อป้องกันการสัมผัสสารคัดหลั่งจะช่วยให้คุณปลอดภัยได้

การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัยถือว่ามีความเสี่ยงสูง คุณมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกชนิด ดังนั้นทางที่ดีในการป้องกันตัวคุณเอง คือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนัก นอกจากนี้การใช้สารหล่อลื่นร่วมกับถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับเชื้อเอชไอวี การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (ออรัลเซ็กซ์) จะปลอดภัยมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก แต่ว่าโรคอื่นๆ ยังคงสามารถติดต่อผ่านช่องทางนี้ได้ เช่น เริม, ซิฟิลิส, ตับอักเสบบี, หนองใน และเอชพีวี ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีเพศสัมพันธ์แบบไหนก็ตาม การใช้ถุงยางอนามัย หรือ แผ่นยางอนามัยจะถือว่าปลอดภัยที่สุด

หากกำลังป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยได้อย่างไร?

ถ้าคุณได้รับการตรวจแล้วว่าติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จริง สิ่งสำคัญที่สุดคือทำอย่างไรที่จะมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และจะป้องกันการติดต่อไปยังผู้อื่นได้อย่างไร แต่โชคยังดีที่โรคส่วนใหญ่สามารถหายได้ด้วยการใช้ยา ดังนั้นเมื่อคุณได้รับการรักษาครบถ้วน ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

และถึงแม้ว่าจะมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคที่ไม่หายขาด ก็ยังมีวิธีในการรักษาอาการและป้องกันการติดต่อไปยังผู้อื่นที่มีเพศสัมพันธ์กับคุณ ขึ้นอยู่กับว่าโรคที่คุณเป็นคือโรคอะไร นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่ของคุณ

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทวารหนัก และช่องคลอด ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม
  • งดการมีเพศสัมพันธ์หากคุณมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เจ็บคอ มีหูดที่อวัยวะเพศ มีของเหลวผิดปกติไหลออกจากอวัยวะเพศชาย ช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือมีอาการคัน ปวด ระคายเคือง และ/หรือ บวมที่อวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศหญิง ช่องคลอด หรือทวารหนัก
  • หากคุณมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
  • ถ้าคุณป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถหายขาดได้ เช่น หนองใน หนองในเทียม หรือ ซิฟิลิส คุณจำเป็นต้องกินยาตามแพทย์สั่งทุกวันจนหมด แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพราะการติดเชื้อในร่างกายจะยังมีจนจนกว่าจะกินยาหมดตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้คู่ของคุณก็ต้องได้รับการรักษาด้วย และให้ต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ทั้งสองคน จนกว่าจะกินยารักษาครบและแพทย์แนะนำให้กลับมามีเพศสัมพันธ์ได้
  • หากคุณป่วยเป็นโรคติดเชื้อที่ไม่หายขาด เช่น เอชไอวี หรือ เริม คุณมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับการกินยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่ของคุณหรือผู้อื่น ขึ้นกับโรคที่คุณเป็น หากคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี นั่นหมายถึงคุณจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก, ทวารหนัก และ/หรือ ช่องคลอด

และอย่าลืมที่จะบอกคู่ของคุณทุกครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์ว่าคุณมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้คุณทั้งสองสามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยร่วมกันได้ แน่นอน! มันเป็นเรื่องยากที่จะต้องบอก แต่มันคือเรื่องสำคัญ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ทำไมฉันถึงมีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์?

อ่านเพิ่ม