กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ทำไมฉันถึงมีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์?
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

การมีเลือดออกทางช่องคลอดไม่ว่าระหว่างหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ก็ถือว่าเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งสิ้นและควรต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ เนื่องจากมีโรคทางช่องคลอด ปากมดลูก หรือมดลูกหลายภาวะที่สามารถทำให้เกิดอาการนี้ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เช่น การอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิด หรือการที่เซลล์มีการเจริญผิดปกติซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของการมีเลือดออกที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์

การอักเสบ

ปากมดลูกอาจเกิดภาวะที่เรียกว่า cervical erosion ได้ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบบริเวณมดลูก ภาวะนี้มักพบในเด็กผู้หญิง ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือหญิงตั้งครรภ์ที่ปากมดลูกมีความนุ่มกว่าปกติ ภาวะนี้สามารถหายไปได้เอง แต่บางครั้งอาจต้องการการรักษา โดยการใช้ความเย็นกับบริเวณที่มีการอักเสบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

Atrophic Vaginitis

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์บางคนอาจเกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ทำให้ผนังช่องคลอดบางลง ซึ่งจะถูกทำให้ระคายเคืองระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ภาวะนี้เรียกว่า Atrophic vaginitis ซึ่งสามารถใช้เจลหล่อลื่นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เพื่อช่วยลดอาการได้ นอกจากนั้นยังอาจรักษาด้วยการให้เอสโตรเจนทั้งทางช่องคลอดหรือกระจายทั่วร่างกาย (แต่ควรทราบว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรงบางภาวะได้)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากคู่นอนระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหล่านี้มักเข้าทำลายเซลล์ปากมดลูกในผู้หญิงและสามารถทำให้เกิดเลือดออกและอาการอื่นๆ เช่น ตกขาว ปวดท้องน้อย คัน และแสบเป็นต้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ แต่หากไม่ได้รักษาอาจทำให้เป็นหมันได้

Trichomoniasis เป็นการติดเชื้อในช่องคลอดรูปแบบหนึ่ง โดยเกิดจากปรสิตที่สามารถติดต่อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์และสามารถทำให้เกิดอาการเลือดออก ตกขาว และคันช่องคลอดได้

เซลล์เจริญผิดปกติ

เซลล์ที่มีการเจริญผิดปกติในช่องคลอด ปากมดลูก หรือมดลูกสามารถทำให้เกิดเลือดออกระหว่างหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ การเจริญที่ผิดปกตินี้สามารถทำให้เกิดมะเร็งหรืออาจจะไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้และมีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติที่ไม่ได้เป็นมะเร็งหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดเลือดออกได้เช่นกัน

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ภาวะนี้คือการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกมาเจริญอยู่ภายนอกมดลูก โดยสามารถเจริญอยู่บนอวัยวะในช่องท้อง ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เป็นหมันได้ และหากมีการเจริญอยู่ที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด อาจทำให้เกิดเลือดออกระหว่างหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์

เนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูก (Uterine polyps) เป็นส่วนของเยื่อบุโพรงมดลูกขนาดเล็กที่ยื่นออกมาจากมดลูกและอาจยื่นออกมาบริเวณผิวของปากมดลูก ทำให้เกิดเลือดออกที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ได้ เนื้องอกเหล่านี้ยังสามารถทำให้เกิดเลือดออกระหว่างรอบประจำเดือนหรือหลังจากหมดประจำเดือนได้ เนื้องอกเหล่านี้บางครั้งอาจหายได้เอง แต่บางครั้งอาจต้องใช้การผ่าตัด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: สาเหตุที่พบบ่อย 8 ข้อของการมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

คุณเพิ่งมีเพศสัมพันธ์กำลังอยู่ในภาวะเป็นสุขสบายจากฮอร์โมนที่มาพร้อมกับการถึงจุดสุดยอด คุณเดินเข้าไปในห้องน้ำและพบว่ามีเลือดออก เกิดอะไรขึ้น? ผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอกหรือช่องคลอดคุณมีการระคายเคืองระหว่างการมีเพศสัมพันธ์? ภาวะเลือดออกหลังจากการมีเพศสัมพันธ์สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุและเป็นความผิดปกติที่ควรต้องใส่ใจหาสาเหตุ


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jennifer Huizen, Is it normal to bleed after intercourse? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321032.php) 26 February 2018
Susan York Morris, What Causes Bleeding After Sex? (https://www.healthline.com/health/womens-health/bleeding-after-sex) 15 November 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป