การตรวจคอลโปสคอปีคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจคอลโปสคอปีคืออะไร?

การตรวจคอลโปสคอปี (Colposcopy) เป็นการตรวจปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิงเพื่อช่วยในการวินิจฉัย โดยการตรวจนี้จะเป็นการขยายภาพบริเวณดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถระบุเนื้อเยื่อที่เป็นปัญหาและอาจเกิดโรคได้ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก ซึ่งแพทย์มักทำการตรวจคอลโปสคอปี หากผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจคอลโปสคอปีในผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ปวดและมีเลือดออกบริเวณปากมดลูก ช่องคลอด และอวัยวะเพศภายนอก
  • ปากมดลูกอักเสบ
  • มีเนื้องอก
  • หูดที่อวัยวะเพศหรือการติดเชื้อ HPV
  • มะเร็งในอวัยวะเพศหญิงหรือช่องคลอด

การตรวจคอลโปสคอปี

การทำหัตถการนี้ ไม่ควรทำขณะที่มีประจำเดือนมามาก และอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ ก็ไม่ควรทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สวนล้างช่องคลอด
  • ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ใดใส่เข้าไปในช่องคลอด
  • มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด
  • ใช้ยาเหน็บช่องคลอด

ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดก่อนจะทำการตรวจ เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อป้องกันอาการเจ็บปวดและความไม่สบายตัว 

การตรวจนี้เริ่มต้นด้วยการให้ผู้เข้ารับการตรวจนอนบนขาหยั่งเหมือนการตรวจภายในทั่วไป ก่อนจะใส่เครื่องมือถ่างขยายเข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดขึ้น จากนั้นจะมีการใช้ไอโอดีนหรือสารละลายที่มีลักษณะคล้ายน้ำส้มสายชูทาบริเวณช่องคลอดและปากมดลูก เพื่อทำความสะอาดมูกที่อยู่บริเวณผิวของพื้นที่เหล่านี้ และทำให้เห็นเนื้อเยื่อที่สงสัยว่าผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น 

แพทย์ใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่าคอลโปสโคป (Colposcope) ใส่เข้าไปใกล้กับทางเข้าช่องคลอด และจะส่องไฟผ่านเข้าไปในนั้นและมองผ่านกล้อง หากพบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ก็อาจมีการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ บริเวณดังกล่าวออกมาจากช่องคลอด หรือปากมดลูกด้วยเครื่องมือ บางครั้งแพทย์อาจเก็บตัวอย่างของเซลล์จากปากมดลูกได้มากขึ้นโดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Curet 

ความเสี่ยงในการตรวจคอลโปสคอปี

โดยปกติแล้วการตรวจนี้มักไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายตัว แต่ก็อาจมีผู้เข้ารับการตรวจบางคนที่รู้สึกแสบจากการใช้สารละลายที่มีฤทธิ์คล้ายน้ำส้มสายชูได้บ้าง 

ในกรณีที่แพทย์ตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกหรือปากช่องคลอดไปด้วย ก็อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดบริเวณที่ถูกตัดชิ้นเนื้อ มักจะเป็นในช่วง 1-2 วันแรก
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย หรือมีตกขาวที่สีเข้มขึ้น ซึ่งสามารถเป็นได้นาน 1 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม การตรวจนี้ไม่ต้องใช้เวลาฟื้นตัว เว้นแต่จะมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งในกรณีนี้อาจจะต้องมีการกำจัดกิจกรรมที่ทำ ขณะที่รอให้ปากมดลูกมีการฟื้นตัว เช่น ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่สวนล้างช่องคลอด และไม่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด เป็นต้น 

หากมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดมาก ปวดท้องน้อยมาก และมีไข้หรือหนาวสั่น ให้รีบกลับไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อภายในมดลูกหรือช่องคลอด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป