กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

โลน (Pubic lice)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

อาการคันบริเวณผิวหนังและขนรอบอวัยวะเพศอาจมีสาเหตุมาจากโลน แต่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง และสามารถรักษาให้หายขาดได้

โลนคืออะไร

โลน (Pediculosis pubis หรือ Pubic Lice) เป็นปรสิตชนิดแมลงขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายปู (เมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์) มักอาศัยอยู่บนผิวหนังและขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ สามารถแพร่กระจายได้ง่ายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โลนที่พบตามขนอวัยวะเพศมีวงจรชีวิตอย่างไร

  • โลนที่พบตามขนอวัยวะเพศสามารถพบได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย
  • โลนตัวผู้จะตายลงหลังจากมีการผสมพันธุ์ ส่วนโลนตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 25-30 วัน
  • โลนตัวเมียจะเริ่มวางไข่ไปตามเส้นขน โดยทั่วไปแล้วโลน 1 ตัวจะสามารถวางไข่ได้อย่างน้อย 30 ฟอง
  • หลังจากนั้น 7 วันไข่จะฟักตัวออกมา
  • โลนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ในการพัฒนาจากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย และพร้อมจะผสมพันธุ์ได้ต่อไป

การแพร่กระจายของโลน

ปกติแล้วโลนมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะตัวโลนจะเคลื่อนที่จากขนของคนหนึ่งไปยังขนของอีกคนได้ง่ายขึ้น เมื่ออวัยวะเพศของทั้งสองสัมผัส หรืออยู่ใกล้กันมาก หรือได้รับตัวโลนที่ขนบริเวณอื่นก็ได้ เช่น ขนตา ขนคิ้ว ขนหน้าอก ขนรักแร้ หรือแม้แต่หนวด และเครา เป็นต้น

นอกจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกันแล้ว โลนยังสามารถติดต่อกันได้ผ่านการใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือเตียงของผู้ที่เป็นได้อีกด้วย (โลนสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ 1-2 วัน) อย่างไรก็ตาม โลนไม่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสแบบผิวเผิน เช่น การจับมือกัน หรือกอดกัน และมีโอกาสน้อยมากที่ติดจะโลนจากฝารองชักโครก เนื่องจากโลนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานนอกร่างกายมนุษย์ และไม่สามารถเกาะบนพื้นผิวที่เรียบๆ ได้

แม้ว่าโลนจะชอบอยู่ตามบริเวณที่เป็นขน แต่พวกมันก็ไม่ได้ชอบเส้นผมบนหนังศีรษะ เนื่องจากโลนเป็นสิ่งมีชีวิตคนละชนิดกับเหา และใช้ชีวิตต่างกัน ดังนั้นจะไม่มีการติดโลนบนเส้นผม และเหาก็จะไม่ปรากฏขึ้นในบริเวณอวัยวะเพศเช่นกัน

ลักษณะอาการเมื่อมีโลนอยู่บนร่างกาย

ปกติจะแสดงอาการหลังจากติดโลนประมาณ 1 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยบางคนอาจจะไม่มีอาการใดๆ หรือคิดว่าอาการคันเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เกิดจากโลน เช่น ผื่นคัน 

อาการที่พบมากคือ อาการคันอย่างรุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อการกัดของตัวโลน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่นๆ แต่อย่างใด

อาการของโลน ได้แก่

  • มีอาการคันมากในบริเวณอวัยวะเพศ
  • สังเกตเห็นแมลงตัวเล็กมากๆ ตามขนที่อวัยวะเพศ มีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีเทาขาว และมีลักษณะคล้ายปูตัวเล็กๆ หากมีสีเข้มขึ้นเมื่อไหร่ แสดงว่าโลนตัวนั้นได้กินเลือดเข้าไปแล้ว
  • ไข่ตัวโลนจะเกาะอยู่ด้านล่างโคนขนที่อวัยวะเพศ มีขนาดเล็กมาก และยากที่จะมองเห็น โดยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีเหลือง สีขาว หรือสีม่วง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนหลายๆ ใบ
  • จุดสีเข้มหรือสีฟ้าบนผิวหนังเป็นรอยจากการกัดของโลน
  • รู้สึกเป็นไข้ อ่อนแรง หรือหงุดหงิดกระสับกระส่าย

การตรวจโลน

คนทั่วไปมักจะทราบว่ามีโลนก็ต่อเมื่อมีอาการคันที่บริเวณอวัยวะเพศ และสังเกตเห็นตัวโลน หรือเห็นกลุ่มไข่เล็กๆ ที่ติดอยู่บนโคนขนอวัยวะเพศ หากคุณมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ผ่านมาแล้วไม่แน่ใจว่าตนเองมีโลนหรือเปล่า สามารถไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านได้ โดยเมื่อพบโลนแล้ว แพทย์อาจจะตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาโลน

โลนเป็นเรื่องง่ายในการรักษา โดยปกติแล้วสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คลินิก หรือซื้อยาจากเภสัชกรตามร้านขายยาได้โดยไม่ต้องมีสั่งใบสั่งยาจากแพทย์ ตัวยาพื้นฐานที่ใช้รักษาโลนนั้น จะมาในรูปแบบยาทา หรือแชมพู โดยคุณควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และอาจจำเป็นต้องใช้ยานั้นซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง

หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อรับยาที่แรงขึ้นในการรักษาโลนแบบอื่นๆ เช่น หากมีโลนที่ขนคิ้ว หรือขนตา คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษจากแพทย์เท่านั้น และยิ่งหากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาใดๆ

สิ่งเดียวที่จะกำจัดโลนได้คือ ยาที่ฆ่าตัวโลนโดยตรง การรักษาเสริมอื่นๆ เช่น การอาบน้ำร้อน หรือโกนขนทิ้งไม่สามารถกำจัดต้นตอของสาเหตุไปได้ นอกจากนี้ยาบรรเทาอาการคันทั่วไปสามารถช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ แต่ไม่สามารถรักษาโลนให้หายขาด

วิธีกำจัดโลนให้หายขาด

  • หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาด้วยยาแล้ว ส่วนใหญ่ไข่โลนจะติดค้างอยู่ตามขน ให้ใช้หวีละเอียดสางออกไป
  • ล้างหรือซักแห้งผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว และเสื้อผ้าทั้งหมดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยใช้น้ำอุ่น และผึ่งให้แห้งกลางแดด หรืออบแห้งเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที
  • หากไม่สามารถซักได้ ให้ใส่ถุงเก็บไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าโลนและไข่โลนจะตายลง
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสใกล้ชิดใดๆ จนกว่าจะเสร็จสิ้นการรักษาและหายขาดดี ในช่วงเวลานี้ก็ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย
  • ถ้ายังคงเห็นโลนอยู่หลังจากเสร็จสิ้นการใช้ยาไปแล้วประมาณ 9-10 วัน ให้เริ่มรักษาใหม่อีกครั้ง และให้แน่ใจว่าได้ล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่สัมผัส รวมถึงคู่นอนก็ต้องเข้ารับการรักษาด้วย แต่ถ้าโลนยังคงไม่หายไปอีก คุณควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยแพทย์

วิธีป้องกันการติดโลน

โลนสามารถแพร่กระจายได้อย่างง่ายดายในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าจะใช้ถุงยางอนามัยอยู่ก็ตาม วิธีป้องกันเพียงหนึ่งเดียวที่มั่นใจได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์คือ การไม่สัมผัสอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ว่าโลนจะดูเหมือนเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเครียดหรือวิตกกังวลมากนัก เพราะรักษาได้ง่าย และไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง

หากคนที่คุณรู้จักติดโลน ให้หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเตียงเดียวกันกับพวกเขาจนกว่าจะเสร็จสิ้นการรักษา และต้องมั่นใจว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ถูกทำความสะอาดหมดแล้ว หากคุณมีเพศสัมพันธ์กับพวกเขาในเดือนก่อนหน้าให้ใช้ยารักษาร่วมด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการติดโลนกลับไปกลับมาระหว่างคนสองคน

นอกจากนี้ควรได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย เนื่องจากมักพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้ที่ติดโลน


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parasites – lice. (2013). (http://www.cdc.gov/parasites/lice/)
Mayo Clinic Staff. (2017). Pubic lice (crabs). (http://www.mayoclinic.com/health/pubic-lice-crabs/DS01072)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การป้องกัน
การป้องกัน
ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ถ้าตังครรภ์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม มีผลกระอย่างไรบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หลังผ่าคลอด 6 เดือนแล้ว ทำไมเวลามีเพศสัมพันธ์ถึงรู้สึกเจ็บคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผู้หญิงควรจะฉีดยาเผื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือไม่หากสมควรจะฉีดควรจะฉีดเมื่อใดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อายุ43 มีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ถึง3เดือน จึงไปฉีดวัคซีนกันมะเร็งปากมดลูก จะป้องกันได้มากแค่ไหนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคมะเร็งปากมดลูกมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้างค่ะเกิดขึ้นในช่วงอายุเท่าไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกยากมีวิธีแก้ไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)