ผักแพว เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานในทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากเป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางยา แพทย์พื้นบ้านในหลายๆ ท้องถิ่น จึงนิยมนำผักแพวมาเข้าตำรับยา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Iresine herbstii Hook.
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชื่อวงศ์ AMARANTHACEAE
ชื่อพ้อง Iresine diffusa F. subsp. herbstii (Hook.) Petersen
ชื่ออังกฤษ Blood-Leaf
ชื่อท้องถิ่น ผักแผ่วสวน ผักแพวแดง ละอองใบด่าง อีแปะ
หมายเหตุ ผักแพวที่กล่าวถึงในบทความนี้คือผักแพวแดง เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับผักแพว ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polygonum odoratum Lour. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Persicaria odorata (Lour.) Soják จัดอยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแพว
ต้นผักแพว เป็นพืชที่มีลำต้นตั้งตรงหรือแผ่กระจายอยู่บนผิวดิน สูงประมาณ 1 เมตร มีขนหยาบและแข็งปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบที่อยู่ใกล้ยอด เรียงสลับกัน ส่วนใหญ่ไม่มีก้านใบ ใบรูปหอกหรือยาวแคบ ขนาดกว้าง 0.8-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบรูปหัวใจ ด้านบนเป็นตุ่มๆ มีขนแข็งออกมาจากตุ่ม มีขนหงิกงอประปราย ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ใกล้เรือนยอด ใบใกล้ยอดจะลดรูปเห็นเป็นช่อที่ยอด กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบติดกันที่โคน รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-2 เซนติเมตร ขนสีขาวหรือสีเทา ติดทนจนเป็นผล กลีบดอกติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายบานออกเล็กน้อย แยกเป็น 5 กลีบซ้อนบิดไปทางซ้าย กลีบเลี้ยงหุ้มเกสรอยู่ ภายในมีผลแข็งขนาดเล็ก 4 ผล ยาว 3-4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ต่อ 100 กรัม
ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม
- เส้นใยอาหาร 1.9 กรัม
- ไขมัน 0.5 กรัม
- โปรตีน 4.7 กรัม
- น้ำ 83.4%
- วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล
- วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.59 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 1.7 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 77 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม
ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย (ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย)
สรรพคุณของผักแพว
ตามตำราแพทย์แผนไทย กล่าวว่า รากผักแพวแดง มีฤทธิ์ร้อน ใช้สำหรับแก้โรคเกี่ยวกับลมในลำไส้ เช่น อาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องมาน กระเพาะอาหารพิการ อุจจาระพิการ และยังสามารถแก้ริดสีดวงจมูก แก้หืดไอ แก้เส้นประสาทพิการ แก้ปวดเมื่อยตามข้อกระดูก แก้เลือดตีขึ้น แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี ดังนี้
- กรณีใช้เพื่อรักษาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการจุกเสียด แน่นท้อง เป็นต้น มักนำเข้าตำรับยาขับลมอื่นๆ เช่น ขิง พริกไทย ดีปลี เป็นต้น โดยนำตัวยาสมุนไพรมาต้มในน้ำเดือด ใส่น้ำ 3 ส่วน แล้วต้มให้น้ำงวดเหลือ 1 ส่วน รับประทานหลังอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือหลังมีอาการ
- กรณีใช้เพื่อรักษาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการหืดไอ เป็นต้น มักนำเข้าตำรับยาบรรเทาไข้หวัดอื่นๆ เช่น หัวหอม ผิวมะกรูด ว่านหอมแดง เปราะหอม เป็นต้น โดยนำสมุนไพรสดมาโขลกหยาบๆ แล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง นำมาสุมกระหม่อมในเด็กที่มีอาการไข้หวัด จะช่วยบรรเทาอาการหืดไอและคัดแน่นจมูกได้
- กรณีใช้เพื่อรักษาเกี่ยวกับอาการประจำเดือนมาไม่ปกติหรือบำรุงเลือดลมในสตรี มักนำเข้าตำรับยาบำรุงเลือดอื่นๆ เช่น ไพล เจตมูลเพลิง แสมสาร แสมทะเล เป็นต้น โดยนำสมุนไพรมาต้มในน้ำเดือด ใส่น้ำ 3 ส่วน แล้วต้มให้น้ำงวดเหลือ 1 ส่วน รับประทานหลังอาหารวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 15 วัน
- กรณีใช้เพื่อรักษาอาการเกี่ยวระบบกล้ามเนื้อและกระดูก มักนำเข้าตำรับกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ม้ากระทืบโรง กันเกรา โมกมัน เป็นต้น โดยนำสมุนไพรมาดองในเหล้า 40 ดีกรี ดื่มรับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ผักแพวสามารถต้านมะเร็งได้หรือไม่?
ในปี ค.ศ. 2012 มีการศึกษาวิจัยโดยนำสารสกัดจากใบผักแพวไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งปากมดลูกในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดจากใบผักแพวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยนี้เป็นเพียงการทดลองในระดับหลอดทดลองเท่านั้น ยังต้องมีการศึกษาในมนุษย์เพิ่มเติม
การนำผักแพวมาปรุงอาหาร
ยอดอ่อนและใบอ่อนของพักแผว ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม เช่น แหนมเนือง เป็นต้น หรือนำมาหั่นเป็นฝอยเป็นส่วนประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการรับประทานผักแพว
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักแพว เนื่องจากผักแพวมีฤทธิ์ร้อน และมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน รวมถึงมีผลต่อการบีบตัวของมดลูก จึงอาจเสี่ยงต่อการตกเลือดได้