ภาวะช็อก (Shock)

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ภาวะช็อก (Shock)

ช็อก เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ขาดออกซิเจน อาจเนื่องมีปริมาณเลือดลดลง หัวใจบีบตัวไม่มีปะสิทธิภาพหรือหลอดเลือดหดรัดตัวไม่ดี หรือมีระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว

สาเหตุของการช็อก

เกิดได้หลายสาเหตุ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ช็อกจากการเสียน้ำ/เสียเลือด (Hypovolemic shock) โดยมีเลือดออกทางบาดแผล ในทางเดินอาหาร ช่องเยื่อหุ้มปอด ตกเลือดหลังคลอด หรือหลังจากการแท้งบุตร การเสียน้ำและอิเล็กโทรไลด์ในผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก จากการอาเจียน ท้องเสีย ลำไส้ทะลุ โรคไต หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ
  2. ช็อกจากความผิดปกติของหัวใจ (Cardiogenic shock) ทำให้หัวใจทำงานหรือบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ มีผลให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (Cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Mycordial infarction) หัวใจวาย XCardiac standstill) หัวใจถูกกด (Cardiac tamponade) เป็นต้น
  3. ช็อกจากระบบประสาท (Neurogenic shock) เกิดจากอุบัติเหตุที่สมองไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน อาจเกิดจากการได้รับยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาสลบเกินขนาด
  4. ช็อกจากระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine and Metabolic shock) เกิดจากผู้ป่วยโรค Addison’s crisis, Hypothyroidism, Pheochomocytoma, Hypopituitarism (Sheehan’s syndrome), Hypoglycemic shock, Diabetic shock
  5. ช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด (Septiccmia) ในผู้ป่วยโรคเลือด โรคเอสแอลดี โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์
  6. ช็อกจาการแพ้ยา (Anaphylactic shock) เกิดจากการแพ้ยาปฏิชีวนะ (Penicillin)

อาการช็อก

ระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย สับสน หงุดหงิด ซึม ไม่รู้สึกตัว ความดันเลือดต่ำ (Systolic BP ต่ำกว่า 50-90 มม.ปรอท หรือต่ำทั้ง Systolic BP และ Diastolic BP ผิวหนังซีดหรือเขียว (Cyanosis) เย็นชื้น (Clammy) มีเหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเบาเร็ว

ต่อมาจะค่อย ๆ ช้าลง ไม่สม่ำเสมอ แขนขาเย็น หายใจเร็ว ปัสสาวะออกน้อยลง (30 มล./ชม.) จนไม่มีปัสสาวะออกเลย มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องอืด มีอาการซึม หัวใจหยุดเต้น

ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อมีอาการช็อก

ภาวะช็อกจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีการดำเนินไปเป็นระยะ ๆ เริ่มด้วยหัวใจสูบฉีดเลือดน้อยลง ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายจะปรับตัวโดยทำให้ความดันเลือดต่ำลงมีผลไปกระตุ้นระบบปะสารทอัตโนมัติ ทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานเพิ่มมากขึ้น มีการหลั่งแคทิโคลามินมากขึ้น มีผลทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกาย (ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ) หดตัว อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้แรงขึ้นผลจากการชดเชยโดยหลอดเลือดหดตัวนี้ทำให้ความดันเลือดมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ การเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติกจะไปกระตุ้นโดยตรงที่หัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีผล ดังนี้

  1. ส่งผลไปยัง Adrenal medulla ให้หลั่ง Norepinephrine, Epinephrine มากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดส่วนปลายมีแรงด้านมากขึ้นเพื่อรักษาความดันเลือดให้เป็นปกติ แคทีโคลามีนทำให้หลอดเลือดดำหดตัวทำให้เลือดเข้าสู่ระบบไหลเวียนมากขึ้น เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจมีเลือดที่จะบีบเข้าสู่ระบบไหลเวียนมากขึ้น ซึ่งการทำงานดังกล่าวไม่ควรเกิน 2-3 นาทีเพราะจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และทำให้เกิดความผิดปกติของการเผาผลาญ
  2. ส่งผลไปยัง Anterior pituitary gland หลั่งฮอร์โมน Adrenocorticotropic hormone มากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้น Adrenal cortex ให้สร้าง Mineralocorticoids เพื่อทำหน้าที่กักเก็บโซเดียมและควบคุมสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์ และสร้าง Glucocoticoids เพื่อช่วยสร้างพลังงานและเพิ่มความต้านทานของเนื้อเยื่อ
  3. ส่งผลไปยัง Posterior pituitary gland ให้หลั่ง Antidiuretic hormone เพื่อปรับสมดุลของน้ำและโซเดียม ในภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ Osmolality ของเลือดจะสูงขึ้น ผลสุดท้ายจะช่วยให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้ได้ ผลของความดันเลือดต่ำลง และระดับแคทีโคลามีนมากขึ้น

เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นระบบ Renin-angiotensin ทำให้มี Angiotensin II เพิ่มมากขึ้น มีผลให้หลอดเลือดแดงหดตัว ความดันเลือดสูงขึ้น และ Renin-angiotensin ยังทำให้ Aldsterone จาก Adrenal cortex หลั่งเพิ่มขึ้น ผลคือร่างกายมีการเก็บน้ำและโซเดียมมากขึ้น

จากการชดเชยของร่างกายดังที่กล่าวแล้ว ในระยะแรก ๆ ของภาวะช็อก คาร์โบไฮเดรทที่เก็บสะสมไว้ในร่างกายจะถูกนำมาใช้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงต้องนำเอาโปรตีนและไขมันที่สะสมไว้มาใช้ด้วย จึงเกิดการสลายตัวของโปรตีนและการขาดสารอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ยังมีกลไกชดเชยจากไขกระดูก โดยปล่อยเม็ดเลือดแดงเข้า สู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังการขนส่งออกซิเจน ตับและม้าม จะปล่อยเม็ดเลือดแดงเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดมากขึ้น น้ำนอกเซลล์จะเคลื่อนเข้าสู่หลอดเลือดทำให้จำนวนเลือดเพิ่มขึ้น

หากภาวะช็อกรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ได้รับการแก้ไข กลไกชดเชยที่มีอยู่ไม่สามารถต่อสู้กับการลดลงของจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจได้ ร่างกายจะไม่สามารถรักษาสมดุลไว้ได้ จะมีความดันเลือดต่ำลง หลอดเลือดหดตัวมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง

ในระยะนี้ภาวะช็อกจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดทำให้เกิดเนื้อตายจากการขาดออกซิเจน ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในลักษณะที่เป็นอันตรายอย่างมาก ระยะนี้จึงต้องรักษา หากภาวะช็อกไม่ได้รับการแก้ไขหรือไม่ได้รับการรักษา เซลล์ที่ตายจะปล่อยสารต่าง ๆ เข้าสู่กระแสเลือด แบคทีเรียและสารพิษจากลำไส้จะเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ภาวะช็อกรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เลือดจะมีภาวะเป็นกรด มีความหนืด เลือดแข็งตัวได้ง่าย เกิดเป็นก้อนเล็ก ๆ ทั่วไป และเกิดภาวะ Dissseminated intravascular coagulation (DIC) ในที่สุดผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากภาวะช็อก

การวินิจฉัยอาการช็อก

จากอาการของภาวะช็อก เช่น ระดับความรู้สึกตัวซึมหรือไม่รู้สึกตัว ความดันเลือดต่ำ ลักษณะของผิวหนังซีดและเย็นชื้น ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว ปัสสาวะออกน้อย มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่งรุนแรง ท้องอืด ไม่มีความสมดุลของกรด-ด่างในเลือดและปัสสาวะ

การรักษาอาการช็อก

  1. ช็อกจากการเสียน้ำและเลือด รักษาโดยคงไว้ซึ่งความสมดุลของปริมาณการไหลเวียนเลือดให้เพียงพอ
  2. ช็อกจากความผิดปกติหัวใจ โดยเพิ่มความแข็งแรงในการทำงานของหัวใจ เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ และป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  3. ช็อกจากการติดเชื้อ รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อทำลายเชื้อ
  4. ช็อกจากระบบประสาท รักษาโดยเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดและให้ยาที่ส่งเสริมการหดรัดของหลอดเลือด

การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการช็อก

หากมีการติดเชื้อต้องให้ยาปฏิชีวนะ ดูแลให้ได้สารอาหารอย่างเพียงพอทางหลอดเลือดดำ และจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพักผ่อน

  1. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เช่น ดูแลให้เลือดทดแทน ให้ออกซิเจนทาง Nasal cannula, mask หรือ Endotrachial tube ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ เปลี่ยนท่าการเคลื่อนไหวร่างกายทุก 1 ชั่วโมง บันทึกระดับความรู้สึกตัว การหายใจ ติดตามผล Arterial blood gas
  2. ดูแลการไหลเวียนของเลือดให้เพียงพอ โดยให้สารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ทดแทน จัดให้ผู้ป่วยนอนราบเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจ ปรับอัตราการไหลของสารน้ำให้ได้ความดันหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure; CVP) 10-12 ชม.น้ำ สังเกตและบันทึกจำนวนปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง หากปัสสาวะน้อยกว่า 30 มล./ชม. รายงานให้แพทย์ทราบ วัดความดันเลือดทุก 1 ชั่วโมง หาก Pulse pressure แคบกว่า 30 มม.ปรอท แสดงว่าปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา ได้แก่ Dopamine hydrochloride, Epinephrine hydrochloride, Dobutamine, Digoxin, Sodium nitroprusside, Lidocaine hydrochloride, Atropine sulfate, Corticosteoid

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป