ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 23 นาที
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence)

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) เป็นปัญหาทั่วไปที่คาดกันว่าส่งผลกับผู้คนทั่วโลกหลายล้านคน ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่มักจะเกิดกับผู้หญิงบ่อยที่สุด

สัญญาณและอาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีอยู่หลายประเภท แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดมีดังนี้:

  • ภาวะปัสสาวะเล็ดจากการไอหรือจาม (stress incontinence): คือภาวะที่คุณปัสสาวะเล็ดออกมาขณะที่กระเพาะปัสสาวะได้รับแรงดันต่าง ๆ เช่นขณะที่คุณไอหรือหัวเราะ
  • ภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก (urge incontinence): คือภาวะที่คุณปัสสาวะราดหรือเล็ดทันทีที่มีความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างกะทันหัน

คุณสามารถประสบกับภาวะทั้งสองนี้พร้อมกันได้

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่?

สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะ

  • ภาวะปัสสาวะเล็ดจากการไอหรือจาม (stress incontinence) มักเป็นผลมาจากความอ่อนแอหรือความเสียหายที่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการอั้นปัสสาวะ เช่นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscle) และกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ (urethral sphincter)
  • ภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก (urge incontinence) มักเป็นผลมาจากการทำงานมากเกินไปของกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะ (detrusor)

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีดังนี้:

  • การตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตรทางช่องคลอด
  • ภาวะอ้วน
  • มาจากครอบครัวที่มีประวัติภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • อายุที่เพิ่มขึ้น (แต่ก็ไม่นับเป็นหนึ่งในความเสื่อมสภาพของร่างกายผู้สูงอายุ)

การเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์

แม้ว่าคุณจะรู้สึกอายที่จะปรึกษาผู้อื่นเกี่ยวกับอาการที่ประสบเจอ คุณก็ควรไปพบแพทย์เมื่อมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทุกประเภท เพื่อให้พวกเขาจัดทำหนทางจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ต่อไป

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีมักถูกวินิจฉัยได้หลังจากการปรึกษากับแพทย์ โดยการสอบถามอาการและอาจดำเนินการตรวจเชิงกราน (สำหรับผู้หญิง) หรือตรวจทวารหนัก (สำหรับผู้ชาย)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์จะแนะนำให้คุณจดบันทึกประจำวันว่าคุณดื่มน้ำและบ่อยขนาดไหนด้วย

สามารถทำการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้อย่างไร?

แรกเริ่มแพทย์จะแนะนำให้คุณใช้วิธีรับมือง่าย ๆ เพื่อดูว่าทำให้อาการของคุณดีขึ้นหรือไม่ เช่น:

  • การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่นลดน้ำหนักและลดปริมาณคาเฟอีนกับแอลกอฮอล์ที่บริโภคลง
  • การบริหารกายเชิงกราน (ด้วยการขมิบ) ตามที่ผู้เชี่ยวชาญฝึกสอน
  • การฝึกกระเพาะปัสสาวะ (เรียนรู้วิธีที่ช่วยทำให้คุณสามารถอั้นการขับถ่ายได้นานขึ้น) ตามที่ผู้เชี่ยวชาญฝึกสอน
  • คุณสามารถทดลองใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เช่นแผ่นดูดซับของเสียและโถปัสสาวะขนาดพกพา
  • หากคุณยังคงไม่สามารถจัดการกับอาการต่าง ๆ ได้ อาจมีการใช้ยารักษาแทน

แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดตามหลักกระบวนการที่เหมาะสมไปตามกรณีผู้ป่วยและประเภทของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การผ่าตัดรักษาสำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะขณะไอหรือจามไม่อยู่อย่างเช่นการติดเทปหรือสายโยงจะถูกใช้เพื่อลดแรงดันที่เกิดขึ้นกับกระเพาะปัสสาวะ หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อที่ใช้ควบคุมการขับถ่าย

การผ่าตัดที่ใช้รักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อย่างกะทันหันมีทั้งการขยายกระเพาะปัสสาวะ หรือการปลูกถ่ายอุปกรณ์ที่กระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นไม่ใช่จะทำได้เสมอไป แต่ก็มีขั้นตอนที่คุณสามารถปฏิบัติเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเป็นภาวะนี้ได้ เช่น:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ควบคุมน้ำหนักร่างกาย
  • เลี่ยงหรือลดแอลกอฮอล์
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเสมอ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

หากคุณเป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะทำให้คุณอาจประสบกับปัญหาปัสสาวะราดโดยไม่ตั้งใจได้ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นแตกต่างกันออกไปตามกรณีประเภทของภาวะที่แต่ละคนเป็น

แม้ว่าคุณจะมีความรู้สึกไม่สบายใจที่จะปรึกษาผู้อื่น แต่คุณก็ควรไปพบแพทย์เพราะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นปัญหาทั่วไป ซึ่งการพบแพทย์จะเป็นขั้นตอนแรกที่ทำให้คุณค้นพบหาทางการจัดการกับปัญหาได้ในที่สุด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ประเภททั่วไป

ผู้ป่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ประมาณเก้าในสิบคนจะเป็นภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามหรือภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากอย่างใดอย่างหนึ่ง

ภาวะปัสสาวะเล็ดขณะจามหรือไอ

ภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม (Stress incontinence) คือภาวะที่กระเพาะปัสสาวะของคุณไม่อาจอั้นปัสสาวะได้เมื่อมีแรงดันเกิดขึ้นกะทันหัน เช่นระหว่างการไอ โดยกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดมีดังนี้:

ปริมาณปัสสาวะที่เล็ดออกมาจะมีน้อยมาก แต่ภาวะนี้ก็อาจทำให้คุณปล่อยปัสสาวะออกมาปริมาณมากได้ โดยเฉพาะหากมีปัสสาวะเต็มกระเพาะ

ภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก

ภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก (Urge incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้คุณรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างรุนแรงกะทันหัน และคุณไม่อาจอั้นปัสสาวะได้นาน โดยมากมักจะทนได้เป็นเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น

ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะกะทันหันอาจถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนท่ากะทันหัน หรือแม้แต่ได้ยินเสียงน้ำไหลเท่านั้น คุณอาจมีความรู้สึกอยากขับถ่ายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณถึงจุดสุดยอด

ภาวะอั้นปัสสาวะไม่อยู่ประเภทนี้มักนับเป็นอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder syndrome - OAB) ที่ซึ่งกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินปรกติ

นอกจากทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากแล้ว OAB ยังทำให้คุณต้องปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น และอาจทำให้คุณต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำกลางดึกหลายครั้ง

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ประเภทที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก

1.ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชนิดผสม

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบผสมกันคือภาวะที่คุณมีอาการทั้งจากภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามกับภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากรวมกัน (Mixed incontinence) ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจมีปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม และยังประสบกับความอยากถ่ายปัสสาวะรุนแรงกะทันหันร่วมด้วย

2.ภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว

ภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว (Overflow incontinence) หรือที่เรียกว่า chronic urinary retention เกิดขึ้นเมื่อคุณไม่สามารถปัสสาวะให้หมดกระเพาะได้เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะบวมขึ้นจากขนาดปรกติ

หากคุณเป็นภาวะประเภทนี้ คุณอาจปัสสาวะได้แบบกะปริดกะปรอยแต่บ่อยครั้ง ทำให้คุณมีความรู้สึกว่ากระเพาะปัสสาวะยังคงมีของเหลวอยู่และไม่สามารถถ่ายออกมาให้หมดได้แม้จะพยายามก็ตาม

3.ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Total incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้คุณปัสสาวะราดออกมาปริมาณมากแม้จะเป็นช่วงกลางคืน โดยคุณอาจจะมีการปัสสาวะราดมากเป็นบางครั้งแต่มีปัสสาวะเล็ดบ่อยครั้งก็ได้

สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทั้งหลายเกิดขึ้นเมื่อกระบวนการเก็บกักและถ่ายปัสสาวะของกระเพาะถูกรบกวน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากหลายสาเหตุ และอาจมีปัจจัยบางอย่างไปเพิ่มโอกาสที่จะเป็นภาวะนี้ขึ้น

สาเหตุที่เป็นไปได้บางประการอาจนำไปสู่ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ระยะสั้น ๆ ในขณะที่ปัจจัยที่เหลือจะนำไปสู่ปัญหาระยะยาว หากคุณทำการแก้ไขสาเหตุสำเร็จจะทำให้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หายไปเช่นกัน

สาเหตุของภาวะปัสสาวะเล็ดขณะจามหรือไอ

ภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามเกิดจากการที่มีแรงดันเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ท่อปัสสาวะรับไม่ไหว (ท่อที่ใช้ส่งผ่านปัสสาวะออกจากร่างกาย)

แรงดันที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะอย่างกะทันหันสามารถเกิดจากการกระทำหลายอย่างเช่นการหัวเราะหรือจาม

ท่อปัสสาวะของคุณไม่อาจปิดกั้นปัสสาวะได้หากว่ากล้ามเนื้อภายในเชิงกราน (กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน) มีความอ่อนแอหรือเสียหาย หรือหูรูดท่อปัสสาวะเสียหาย (กล้ามเนื้อรูปแหวนที่ทำให้ท่อปัสสาวะปิดตัว)

ปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นมาจาก:

  • ความเสียหายจากการคลอดบุตร โดยเฉพาะหากทำการคลอดทางช่องคลอดแทนการผ่าคลอดทางหน้าท้อง
  • การกดทับที่เกิดขึ้นในท้อง ยกตัวอย่างเช่นจากการตั้งครรภ์หรือภาวะอ้วน
  • ความเสียหายที่กระเพาะปัสสาวะหรือพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดระหว่างการผ่าตัด เช่นการผ่าตัดมดลูกหรือต่อมลูกหมาก
  • ภาวะทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อสมองและไขสันหลัง เช่นโรคพากินสันหรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ความผิดปรกติที่เนื้อเยื่อเชื่อมโยงบางชนิด เช่น Ehlers-Danlos syndrome
  • การใช้ยาบางประเภท

สาเหตุของภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก

อาการอยากปัสสาวะทันทีและบ่อยครั้งนั้นอาจเกิดมาจากกล้ามเนื้อเรียบ (detrusor) ภายในผนังกระเพาะปัสสาวะที่มีหน้าที่คลายตัวลงเพื่อรองรับน้ำปัสสาวะ และบีบรัดตัวขึ้นเมื่อคุณกำลังปลดปล่อย

บางครั้งกล้ามเนื้อนี้ก็บีบรัดตัวบ่อยเกินไปจนทำให้เกิดความอยากปัสสาวะกะทันหัน ภาวะเช่นนี้จะเรียกว่า “ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป” ส่วนเหตุผลที่ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบรัดตัวบ่อยครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สาเหตุที่อาจเป็นไปได้มีดังต่อไปนี้:

  • การดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไป: จะทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงที่สร้างความระคายเคืองกับกระเพาะปัสสาวะ
  • ท้องผูก
  • เป็นภาวะที่ส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (ท่อและกระเพาะปัสสาวะ) เช่นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infections - UTI) หรือเนื้องอกภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • ภาวะทางระบบประสาท
  • ยาบางประเภท

สาเหตุของภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว

ภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว หรือที่เรียกว่า chronic urinary retention มักเกิดจากการอุดตันภายในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยภาวะนี้ยังคงรองรับปัสสาวะได้ตามปรกติ แต่เนื่องจากมีบางสิ่งขวางทางเดินปัสสาวะอยู่จึงทำให้คุณไม่สามารถถ่ายของเหลวออกมาได้หมดแม้จะพยายามแล้ว

ในขณะเดียวกัน แรงดันจากปัสสาวะที่ตกค้างในกระเพาะจะสะสมอยู่ข้างหลังสิ่งอุดตันทำให้มีภาวะปัสสาวะเล็ดบ่อยครั้ง

กระเพาะปัสสาวะของคุณเกิดการอุดตั้งเนื่องจาก:

  • ต่อมลูกหมากโต (ผู้ชาย)
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ท้องผูก
  • ภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัวอาจเกิดจากปัญหาที่กล้ามเนื้อเรียบที่ไม่สามารถบีบรัดตนเองได้เต็มที่ จนทำให้ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้หมดภายในครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถเกิดได้จาก:
  • มีความเสียหายที่ประสาท ยกตัวอย่างเช่นผลจากการผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังหรือลำไส้
  • การใช้ยาบางประเภท

สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้เลย โดยอาจทำให้คุณต้องปัสสาวะราดปริมาณมาก ๆ หลายครั้ง หรือมีปัสสาวะเล็ดบ่อยครั้ง

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้สามารถเกิดขึ้นมาจาก:

  • ปัญหาที่ระบบปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด
  • การบาดเจ็บที่ไขสันหลังจนไปขวางการส่งสัญญาณทางประสาทระหว่างสมองกับกระเพาะปัสสาวะ
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะทะลุ (bladder fistula) ที่ซึ่งมีรูขนาดเกิดขึ้นระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับพื้นที่ใกล้เคียง เช่นช่องคลอดของผู้หญิง

การใช้ยาที่อาจทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ยาบางประเภทสามารถเข้าไปขวางกระบวนการกักเก็บและถ่ายปัสสาวะตามปรกติ หรือเพิ่มปริมาณปัสสาวะที่ร่างกายผลิตขึ้น โดยมีดังต่อไปนี้:

คุณควรหยุดการใช้ยาเหล่านี้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ซึ่งอาจจะช่วยแก้ไขภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้

ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากที่สุด?

นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปข้างต้น ก็มีบางสิ่งที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้อีกแม้จะไม่ได้นับเป็นสาเหตุการเกิดปัญหาโดยตรงก็ตาม โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้:

  • ประวัติครอบครัว: อาจมีพันธุกรรมที่เชื่อมโยงกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงเป็นภาวะนี้มากกว่าคนทั่วไป
  • อายุที่เพิ่มขึ้น: ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่วัยกลางคน และจะพบได้บ่อยมากกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป
  • มีอาการของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (lower urinary tract symptoms - LUTS): อาการต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อกระเพาะและท่อปัสสาวะ

การวินิจฉัยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

หากคุณประสบกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการจำแนกประเภทของภาวะที่เป็นจะดีที่สุด คุณควรทำใจให้สบาย อย่ารู้สึกอายเมื่อต้องปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับภาวะนี้ เนื่องจากแพทย์ทั่วไปจะต้องพบเจอปัญหาที่มาจากภาวะนี้ประจำอยู่แล้ว

แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติสุขภาพของคุณ ดังนี้:

  • คุณประสบกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือหัวเราะหรือไม่?
  • คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นระหว่างช่วงกลางคืนหรือกลางวัน?
  • คุณมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบากหรือไม่?
  • ยาที่คุณกำลังใช้ ณ ปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
  • ปริมาณของเหลว แอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนที่คุณได้รับมีมากน้อยเท่าไร?

บันทึกการปัสสาวะ

แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำบันทึกประจำวันที่เกี่ยวกับนิสัยการขับถ่ายของคุณเป็นเวลาอย่างน้อยสามวัน เพื่อให้คุณนำข้อมูลที่ได้กลับมาให้แพทย์วิเคราะห์หาภาวะที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ซึ่งควรรวมข้อมูลดังต่อไปนี้:

  • ปริมาณของเหลวที่คุณดื่มเข้าไป
  • ประเภทของของเหลวที่คุณดื่ม
  • ความถี่ที่ต้องปัสสาวะ
  • ประสบกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่กี่ครั้ง
  • มีความรู้สึกต้องขับถ่ายปัสสาวะกะทันหันกี่ครั้ง

การทดสอบและการตรวจร่างกาย

แพทย์อาจทำการตรวจประเมินสุขภาพของระบบทางเดินปัสสาวะของคุณ หากคุณเป็นผู้หญิง แพทย์จะทำการตรวจเชิงกรานที่ต้องให้คุณถอดเสื้อผ้าตั้งแต่ช่วงเอวลงไป และแพทย์จะขอให้คุณไอเพื่อดูว่ามีปัสสาวะเล็ดออกมาหรือไม่ อีกทั้งจะทำการตรวจสอบช่องคลอดของคุณ เพราะเกือบครึ่งของผู้หญิงที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะระหว่างไอหรือจามไม่ได้นั้นจะมีส่วนของกระเพาะปัสสาวะบวมออกไปทางช่องคลอด

แพทย์อาจทำการสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอดและขอให้คุณขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อยู่รอบกระเพาะและท่อปัสสาวะเพื่อหาความเสียหายที่อาจเป็นต้นเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

หากคุณเป็นผู้ชาย แพทย์จะทำการตรวจสอบว่าต่อมลูกหมากของคุณโตหรือไม่ โดยต่อมลูกหมากจะอยู่ตรงกลางขององคชาติกับกระเพาะปัสสาวะ และล้อมรอบด้วยท่อปัสสาวะ หากเกิดภาวะต่อมลูกหมากบวมโตจะทำให้คุณมีอาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เช่นกัน (เช่นต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง)

คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจทวารหนักด้วยวิธีดิจิตอลเพื่อตรวจสุขภาพของต่อมลูกหมากของคุณ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการสอดนิ้วเข้าไปทางทวารหนักของคุณระหว่างกระบวนการตรวจสอบต่อม

การทดสอบด้วยแถบตรวจปัสสาวะ

หากแพทย์คาดว่าอาการของคุณเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) จะมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะไปหาร่องรอยของแบคทีเรียต่าง ๆ โดยจะมีการจุ่มแถบตรวจ (Dipstick) ในปัสสาวะของคุณเพื่อดูว่าแถบเปลี่ยนสีหรือไม่ การตรวจวิธีนี้ยังช่วยตรวจหาระดับเลือดและโปรตีนในปัสสาวะของคุณเช่นกัน

การทดสอบปัสสาวะค้าง

หากแพทย์คาดว่าคุณเป็นภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว พวกเขาจะแนะนำการตรวจที่เรียกว่าการทดสอบปัสสาวะค้าง (Residual urine test) เพื่อดูว่ามีปริมาณปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะเท่าไรหลังจากขับถ่าย

กระบวนการนี้มักดำเนินการด้วยการสแกนอัลตราซาวด์กระเพาะปัสสาวะ และมีการดูดของเหลวออกมาวัดด้วยสายสวนที่สามารถสอดผ่านท่อปัสสาวะไปยังกระเพาะได้

การทดสอบเพิ่มเติม

สำหรับการทดสอบอื่น ๆ อาจดำเนินการขึ้นหากว่าแพทย์ไม่สามารถสรุปสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของคุณได้ โดยแพทย์มักจะเริ่มการรักษาไปก่อน และจะตัดสินใจจัดให้คุณเข้ารับการทดสอบอื่นเมื่อการรักษานั้น ๆ ไม่ได้ผล

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) เป็นการใช้ท่อขนาดยาวและยืดหยุ่นสอดเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะและระบบทางเดินปัสสาวะ การทดสอบนี้มีเพื่อตรวจหาความผิดปรกติต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะอั้นปัสสาวะไม่อยู่

การตรวจพลศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ

การตรวจพลศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ (Urodynamic tests) เป็นชุดการทดสอบที่ใช้เพื่อตรวจการทำงานของกระเพาะและท่อปัสสาวะ กระบวนการนี้ต้องให้ผู้ป่วยจดบันทึกการปัสสาวะของตนเองและเข้าพบแพทย์เพื่อรับการทดสอบต่าง ๆ เช่น:

  • การวัดแรงดันภายในกระเพาะปัสสาวะโดยการสอดสายสวนท่อปัสสาวะเข้าไป
  • การวัดแรงดันภายในช่องท้องด้วยการสอดสายสวนเข้าไปทางทวารหนัก
  • การขอให้คุณปัสสาวะใส่เครื่องจักรชนิดพิเศษที่ช่วยวัดปริมาณและการไหลของปัสสาวะ

การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด

การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะขึ้นอยู่กับชนิดความรุนแรงของภาวะและที่คุณประสบอยู่

หากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของคุณเกิดจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่นภาวะต่อมลูกหมากโต คุณจะได้รับการรักษาภาวะนั้น ๆ พร้อมกับรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อันดับแรกจะดำเนินการรักษาแบบอนุรักษ์ที่ไม่เป็นการใช้ยาหรือการผ่าตัดก่อน ซึ่งมีดังต่อไปนี้:

  • การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต
  • การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • การฝึกปัสสาวะ

หลังจากนั้นแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาหรือการผ่าตัดอีกที

วิธีการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่ไม่ใช้วิธีผ่าตัดมีดังต่อไปนี้

1.การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต

แพทย์จะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณบางอย่างเพื่อทำให้อาการดีขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะช่วยทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้จริงไม่ว่าคุณจะเป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น:

การลดปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในชา กาแฟ หรือโค้กลง: เพราะสารตัวนี้จะเพิ่มปริมาณปัสสาวะที่ร่างกายผลิตออกมา

การปรับปริมาณของเหลวที่คุณรับต่อวัน: การดื่มน้ำมากหรือน้อยเกินไปทำให้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทรุดลง

ลดน้ำหนัก: หากคุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกินหรือมีภาวะอ้วน ควรปรับให้น้ำหนักของตนเองสอดคล้องกับส่วนสูงที่อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีให้ได้

2.การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานคือกล้ามเนื้อที่คุณใช้ควบคุมการไหลของปัสสาวะ กล้ามเนื้อเหล่านี้อยู่รอบกระเพาะและท่อปัสสาวะ

หากคุณมีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอหรือเสียหายจะทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ ดังนั้นคุณควรทำการออกกำลังและบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นประจำ

แพทย์จะส่งคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อเริ่มโปรแกรมฝึกกล้ามเนื้อ โดยพวกเขาจะทำการประเมินความสามารถในการบีบรัด (ขมิบ) กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของคุณและจะจัดโปรแกรมการฝึกตามผลการประเมิน

โปรแกรมของคุณควรรวมการบีบรัดกล้ามเนื้ออย่างต่ำแปดครั้ง เป็นจำนวนอย่างน้อยสามรอบต่อวัน และควรบริหารเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือน หากว่าการบริหารช่วยทำให้อาการของคุณดีขึ้น คุณควรจะฝึกเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ

งานวิจัยกล่าวว่าผู้หญิงที่ทำการฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมาตลอดจะมีอาการปัสสาวะเล็ดน้อยครั้งมาก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สำหรับผู้ชาย งานวิจัยบางชิ้นได้พบว่าการฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะช่วยลดโอกาสประสบกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดต่อมลูกหมากมา

3.การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

หากคุณไม่สามารถบีบรัดกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ จะมีการใช้อุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าไปยังกล้ามเนื้อ วิธีการเช่นนี้เรียกว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (electrical stimulation)

จะมีการสอดแท่งเข้าไปในช่องคลอดของผู้หญิงหรือทวารของผู้ชายก่อนมีการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังแท่งนั้นที่จะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้นในขณะที่คุณบริหารกล้ามเนื้อส่วนนั้น

คุณอาจรู้สึกว่าการใช้ไฟฟ้าช่วยเป็นเรื่องยากและไม่สบายเนื้อสบายตัว แต่วิธีการนี้มีประโยชน์อย่างมากหากคุณคุณไม่สามารถบีบรัดกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้เท่าที่ควรจะเป็น

4.การตรวจความสมดุลร่างกาย

การตรวจความสมดุลร่างกาย (Biofeedback) คือการสังเกตว่าคุณสามารถบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ดีเท่าไรด้วยการให้คุณคอยบอกว่าคุณสามารถทำได้อย่างไร หลักการตรวจความสมดุลของร่างกายมีหลากหลายวิธีดังนี้:

การใช้แท่งขนาดเล็กสอดเข้าช่องคลอดของผู้หญิงหรือทวารหนักของผู้ชาย: แท่งนี้จะตอบรับการบีบรัดของกล้ามเนื้อและส่งข้อมูลกลับไปบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

การติดแผ่นอีเล็กโตรค (แผ่นปะที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้า) บนผิวหนังหน้าท้องหรือรอบทวาร: เพื่อรับการบีบรัดของกล้ามเนื้อและส่งข้อมูลกลับไปบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

แม้จะยังไม่มีหลักฐานที่ดีพอจะให้แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทำการตรวจสมดุลร่างกาย แต่การตอบรับอาการต่าง ๆ ของคนไข้ก็ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยบางรายเริ่มทำการบริหารกล้ามเนื้อในที่สุด

หากคุณสนใจการทำการตรวจสมดุลร่างกาย ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน

5.Vaginal cones

Vaginal cones จะใช้กับผู้ป่วยภาวะปัสสาวะเล็ดที่เป็นผู้หญิงในกระบวนการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่คล้ายลูกตุ้มยกน้ำหนักขนาดเล็กที่สอดเข้าไปในช่องคลอด คุณต้องพยายามยกลูกตุ้มนี้โดยใช้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้อยู่กับที่ให้ได้ หากคุณสามารถทำได้ คุณควรค่อย ๆ ปรับ Vaginal cones ให้มีน้ำหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ

ผู้หญิงบางรายที่ใช้งาน Vaginal cones อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่สะดวกใจจะใช้งานอุปกรณ์นี้ แต่อุปกรณ์ประเภทนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการจากภาวะกลั้นปัสสาวะจากการไอหรือจาม หรือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบผสมได้จริง

6.การบริหารกระเพาะปัสสาวะ

หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก การรักษาแรกสุดที่แพทย์แนะนำคือการฝึกบริหารกระเพาะปัสสาวะ การฝึกนี้อาจรวมวิธีบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเข้าไปด้วยก็ได้หากคุณมีภาวะปัสสาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบผสม

การบริหารกระเพาะปัสสาวะจะเป็นการฝึกสอนเทคนิคที่ช่วยเพิ่มระยะเวลาที่คุณรู้สึกปวดปัสสาวะกับเวลาที่คุณต้องปัสสาวะ คอร์สฝึกมักจะใช้เวลานานอย่างน้อยหกสัปดาห์

สินค้าสำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การใช้สินค้าสำหรับผู้ป่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ไม่นับเป็นการรักษาภาวะเหล่านี้ แต่คุณสามารถใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการจัดการกับอาการต่าง ๆ ขณะที่รอการประเมินหรือรอให้ผลการรักษาแสดงผลได้

โดยสินค้าสำหรับผู้ป่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีดังนี้:

  • ตัวดูดซับ เช่นผ้าอ้อม หรือกางเกงซับใน
  • โถปัสสาวะขนาดพกพา
  • สายสวนท่อปัสสาวะ ที่ใช้สอดเข้าเพื่อดูดปัสสาวะออก
  • อุปกรณ์ที่ใช้สอดเข้าช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะเพื่อป้องกันปัสสาวะเล็ด ยกตัวอย่างเช่นของที่ต้องใช้ขณะออกกำลังกาย

การใช้ยารักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือจาม

หากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ขณะไอหรือจามของคุณไม่ดีขึ้น แพทย์มักจะแนะนำการผ่าตัดรักษาเป็นทางเลือกต่อไป

แต่หากคุณไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ หรือคุณไม่ประสงค์จะรับการผ่าตัดรักษา คุณอาจไปใช้ยาที่เรียกว่า duloxetine ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบท่อปัสสาวะได้ ซึ่งยาจะทำให้ท่อปัสสาวะถูกปิดลง

คุณจะได้รับยา duloxetine แบบทานสองครั้งต่อวัน และต้องถูกประเมินร่างกายหลังจากใช้ยาไปแล้วสองถึงสี่อาทิตย์เพื่อดูว่ายาให้ผลดีหรือมีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่

ผลข้างเคียงจากยา duloxetine มีดังต่อไปนี้:

  • คลื่นไส้
  • ปากแห้ง
  • เหน็ดเหนื่อย
  • ท้องผูก
  • ห้ามหยุดใช้ยา duloxetine เองเพราะจะทำให้เกิดผลเสียตามมา โดยหากต้องหยุดยา แพทย์จะทำการลดขนาดยาที่ใช้ลงเรื่อย ๆ แทน

Duloxetine ไม่ได้เป็นยาที่เหมาะกับทุกคน ทำให้แพทย์ต้องทำการสอบถามประวัติทางการแพทย์ของคุณก่อนจ่ายยาชนิดนี้ให้แก่คุณ

การใช้ยารักษาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก

1.Antimuscarinics

หากการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพื่อบรรเทาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากไม่ได้ผล แพทย์อาจทำการจ่ายยาที่เรียกว่า Antimuscarinics แก่คุณ

ยา Antimuscarinics สามารถใช้กับผู้ที่มีปัญหา overactive bladder syndrome (OAB) ที่ทำให้มีความอยากปัสสาวะกะทันหันบ่อยครั้งทั้งแบบมีและไม่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วย

การใช้ยา Antimuscarinics ที่ใช้รักษาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากมีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ oxybutynin, tolterodine และ darifenacin

ยาเหล่านี้มักกำหนดให้ทานเข้าไปสองหรือสามครั้งต่อวัน แต่สำหรับ oxybutynin จะมีแบบแผ่นปะที่ใช้บนผิวหนังสองครั้งต่อสัปดาห์ให้เลือกใช้อยู่

แพทย์มักจะเริ่มยาที่ใช้ในขนาดยาที่ต่ำสุดเพื่อป้องกันภาวะข้างเคียงต่าง ๆ โดยอาจมีการปรับขนาดยาขึ้นจนกว่าคุณได้รับผลที่ดีจากยา

ผลข้างเคียงของยา Antimuscarinics มีดังต่อไปนี้:

  • ปากแห้ง
  • ท้องผูก
  • การมองเห็นไม่ชัด
  • เหน็ดเหนื่อย

สำหรับกรณีหายาก ยา Antimuscarinics อาจนำไปสู่โรคต้อหิน (glaucoma) ที่เรียกว่า angle-closure glaucoma ได้ด้วย (ภาวะที่มีแรงดันสะสมในลูกตา)

แพทย์จะทำการประเมินร่างกายของคุณหลังการใช้ยาไปแล้วสี่สัปดาห์เพื่อดูว่าคุณตอบสนองต่อยาที่ใช้อย่างไร และทุก ๆ หกถึง 12 เดือนหลังจากนั้นหากว่ายาที่ใช้ได้ผลจริง

แพทย์จะสอบถามเรื่องประวัติทางการแพทย์ของคุณเพื่อคัดเลือกประเภทยา Antimuscarinics ที่เหมาะสมกับคุณอีกที

2.Mirabegron

หากว่ายา Antimuscarinics ไม่เหมาะสำหรับคุณ หรือยาไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการของภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก หรือคุณประสบกับผลข้างเคียงของยา แพทย์จะจ่ายยาอีกตัวที่เรียกว่า Mirabegron แก่คุณแทน

ยา Mirabegron ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัวลง ซึ่งช่วยให้กระเพาะรองรับของเหลวได้ ยาตัวนี้มักจะเป็นยาทานหนึ่งครั้งต่อวัน

ผลข้างเคียงของยา Mirabegron มีดังนี้:

  • ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infections - UTI)
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ
  • ใจสั่น
  • ผื่นขึ้น
  • คัน

แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ของคุณก่อนจ่ายยาชนิดนี้ให้แก่คุณ

การใช้ยารักษาภาวะปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน

มียาที่เรียกว่า desmopressin ที่สามารถใช้รักษาภาวะปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน (nocturia) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำกลางดึกหลาย ๆ ครั้ง โดยยาจะทำหน้าที่ลดปริมาณการผลิตปัสสาวะของไตลง

จะมียาอีกชนิดที่สามารถใช้ในช่วงสายแก่ ๆ ที่เรียกว่า loop diuretic ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณต้องลุกไปปัสสาวะกลางดึก ยาขับปัสสาวะจะเพิ่มกระบวนการผลิตและการไหลของปัสสาวะให้ออกจากร่างกายด้วยการขับของเหลวส่วนเกินออกในช่วงกลางวัน และส่งผลให้อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนดีขึ้น

ยา desmopressin กับ loop diuretic ที่ถูกจดทะเบียนว่าใช้รักษาภาวะปัสสาวะรดที่นอนได้ แต่ไม่ได้ถูกกำหนดว่าต้องใช้กับภาวะปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน หมายความว่ายาเหล่านี้ไม่ได้ผ่านการทดลองทางคลินิกมาก่อน (การวิจัยประเภทหนึ่งที่ใช้ทดสอบเปรียบเทียบการรักษาประเภทหนึ่งกับอีกประเภท) ทำให้ยังไม่แน่ชัดถึงเรื่องประสิทธิผลของยาในการรักษาภาวะปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน

อย่างไรก็ตามแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก็ยังแนะนำยาเหล่านี้แก่คุณหากพวกเขาคาดว่าคุณจะได้รับผลดีจากการใช้ยากลุ่มนี้ที่มีมากกว่าความเสี่ยงต่าง ๆ

หากแพทย์พิจารณาการใช้ desmopressin หรือ loop diuretic พวกเขาควรจะชี้แจงความไม่แน่นอนของยากลุ่มนี้รวมไปถึงความเสี่ยงและผลดีจากการใช้ยาต่าง ๆ แก่คุณ

การผ่าตัดและกระบวนการ

หากการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ต่าง ๆ ไม่ได้ผลหรือไม่เหมาะสมกับคุณ การผ่าตัดและกระบวนการต่าง ๆ จะเป็นทางเลือกใหม่ที่แพทย์แนะนำกับคุณ

ก่อนการตัดสินใจ แพทย์จะปรึกษาความเสี่ยงและผลที่จะได้รับกับผู้เชี่ยวชาญ และจะมองหาวิธีรักษาอื่น ๆ ไปพร้อมกัน

หากคุณเป็นผู้หญิง และวางแผนจะมีบุตร ประเด็นนี้จะส่งผลต่อการพิจารณาของคุณแน่นอนเพราะภาระที่ร่างกายต้องแบกรับระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดอาจทำให้การผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ล้มเหลวได้ ดังนั้นคุณอาจต้องเลื่อนการผ่าตัดไปจนกว่าคุณตัดสินใจจะไม่มีบุตรอีกต่อไป

การผ่าตัดและกระบวนการสำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะขณะไอหรือจามไม่อยู่

1.Tape procedure

Tape procedure เป็นกระบวนการที่ดำเนินการกับผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม โดยเป็นการใช้เทปพลาสติกสอดเข้าไปในช่องกรีดภายในช่องคลอดและเย็บให้ติดกับด้านหลังของท่อปัสสาวะ ส่วนกลางของเทปจะทำหน้าที่รองรับท่อปัสสาวะ และส่วนปลายทั้งสองด้านจะถูกเย็บผ่านรอยกรีดสองทางที่:

ส่วนบนของต้นขาด้านใน: เรียกว่า transobturator tape procedure (TOT)

หน้าท้อง: เรียกว่า retropubic tape procedure หรือ tension-free vaginal tape procedure (TVT)

เมื่อท่อปัสสาวะถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เทปที่ติดจะช่วยลดการรั่วไหลของปัสสาวะที่มาจากภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามได้

รายงานประสิทธิภาพของกระบวนการนี้บ่งชี้ว่ามีผู้หญิงสองคนจากทุก ๆ สามคนที่ไม่ประสบกับปัสสาวะเล็ดอีกหลังจากรักษา แต่สำหรับผู้ที่ยังคงมีปัสสาวะเล็ดนั้นจะพบว่ามีปัสสาวะเล็ดน้อยลงกว่าแต่ก่อน

อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ก็อาจทำให้ผู้หญิงต้องไปเข้าห้องน้ำบ่อยหรือรู้สึกปวดกะทันหันขึ้น และบางคนเท่านั้นที่รู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถถ่ายปัสสาวะให้หมดภายในการทำธุระครั้งเดียวได้

ในบางกรณี เทปที่ติดจะเสื่อมสภาพหรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมไปตามกาลเวลา ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำอีกครั้งเพื่อปรับเทปใหม่หรือนำเทปที่หลุดออกมา

2.การผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะ

การผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะ (Colposuspension) เป็นการสร้างช่องกรีดที่หน้าท้องส่วนล่างของคุณเพื่อยกคอกระเพาะปัสสาวะขึ้นและเย็บติดให้อยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ กระบวนการนี้จะมีไว้สำหรับอาการปัสสาวะราดโดยไม่ตั้งใจจากภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามในผู้หญิง

การผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะมีอยู่สองประเภท:

  • การผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะแบบเปิด (open colposuspension): เป็นหัตถกรรมที่ดำเนินการด้วยการกรีดหน้าท้องขนาดใหญ่
  • การผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะแบบรูกุญแจ (laparoscopic ('keyhole') colposuspension): เป็นหัตถกรรมที่ดำเนินการด้วยการกรีดเปิดช่องขนาดเล็กหนึ่งจุดหรือมากกว่านั้นและมีการใช้เครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษ

ทั้งสองประเภทสามารถรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าวิธีการผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะแบบรูกุญแจอาจต้องดำเนินการโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดพยุงท่อปัสสาวะคือทำการขับถ่ายให้หมดลำบาก การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก และความไม่สบายเนื้อสบายตัวระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

3.Sling procedures

Sling procedures เป็นกระบวนการที่มีการกรีดเข้าไปในช่องท้องส่วนล่างและช่องคลอดของคุณเพื่อสอดเชือก (sling) รอบคอกระเพาะปัสสาวะเพื่อรองรับและป้องกันการเล็ดรั่วของปัสสาวะ โดยเชือกที่ใช้จะทำมาจาก:

  • วัสดุสังเคราะห์
  • เนื้อเยื่อที่นำมาจากส่วนอื่นของร่างกายคุณ (autologous sling)
  • เนื้อเยื่อจากผู้บริจาค (allograft sling)
  • เนื้อเยื่อจากสัตว์ เช่นเนื้อเยื่อของวัวหรือสุกร (xenograft sling)

หลาย ๆ กรณีจะมีการใช้เชือกแบบ autologous sling ที่นำมาจากชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมกล้ามเนื้อหน้าท้อง (rectus fascia) เชือกเหล่านี้มักจะถูกใช้กันมากที่สุดเนื่องจากเป็นที่เข้าใจกันดีในประเด็นเรื่องความปลอดภัยระยะยาวกับประสิทธิผล

ปัญหาที่มักได้รับรายงานมากที่สุดหลังหัตถการนี้คือผู้ป่วยทำการขับถ่ายให้หมดกระเพาะปัสสาวะยาก และมีผู้หญิงที่เข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้บางส่วนที่เริ่มมีภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากแทน

4.Urethral bulking agents

Urethral bulking agents เป็นสารที่ใช้ฉีดเข้าไปในผนังท่อปัสสาวะของผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจามเพื่อทำให้ผนังมีขนาดมากขึ้นและทำให้ท่อปัสสาวะปิดด้วยแรงที่มากขึ้น

มีสาร bulking agents มากมายที่สามารถใช้ได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานมาเปรียบเทียบว่าชนิดไหนดีที่สุด

กระบวนการนี้เป็นหัตถกรรมที่มีการแทรกแซงร่างกายน้อยกว่าหัตถกรรมอื่น ๆ ที่กล่าวไป (สำหรับผู้หญิง) เพราะไม่มีการกรีดเข้าไปในร่างกายแต่อย่างใด แต่จะใช้วิธีฉีดสารผ่าน cystoscope ไปยังท่อปัสสาวะโดยตรง

อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ก็ยังมีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าทางเลือกอื่น ๆ อยู่ โดยประสิทธิผลของการใช้ bulking agents จะลดลงไปตามกาลเวลาและคุณอาจต้องเข้ารับการฉีดสารซ้ำ ๆ

ผู้หญิงหลายคนรู้สึกแสบร้อนหรือมีเลือดออกขณะปัสสาวะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หลังฉีดสาร

5.หูรูดท่อปัสสาวะเทียม

หูรูดท่อปัสสาวะ (urinary sphincter) คือกล้ามเนื้อรูปแหวนที่ทำหน้าที่เปิดปิดป้องกันปัสสาวะในกระเพาะไม่ให้เข้าไปในท่อปัสสาวะ ในบางกรณีแพทย์จะแนะนำการผ่าตัดใส่หูรูดท่อปัสสาวะเทียม (Artificial urinary sphincter) เพื่อแก้ไขภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การรักษานี้มักดำเนินการกับผู้ชายที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะระหว่างการไอหรือจามมากที่สุด และมักไม่ดำเนินการกับผู้หญิงโดยหูรูดท่อปัสสาวะเทียมจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนสามส่วน:

ปลอกทรงกรมที่ใช้ดามรอบท่อปัสสาวะ: ซึ่งสามารถรองรับของเหลวเมื่อต้องทำการบีบตัดท่อปัสสาวะเพื่อป้องกันการไหลออกได้

ปั๊มขนาดเล็กที่วางไว้ในถุงอัณฑะ ที่ประกอบด้วยกลไกสำหรับควบคุมการไหลของของเหลวไปยังและออกจากปลอก

อ่างเก็บของเหลวขนาดเล็กภายในช่องท้อง: ของเหลวที่ผ่านเข้าออกระหว่างอ่างเก็บของเหลวนี้จะมีปลอกเป็นอุปกรณ์เปิดปิดการทำงาน

กระบวนการใส่หูรูดท่อปัสสาวะเทียมมักทำให้เกิดเลือดออกระยะสั้น ๆ และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ ในระยะยาวตัวอุปกรณ์อาจหยุดทำงานได้ ซึ่งจำต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติมเพื่อนำอุปกรณ์ทั้งหมดออกมา

การผ่าตัดและกระบวนการสำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะเมื่อมีความอยากไม่อยู่

1.การฉีด Botulinum toxin A

Botulinum toxin A (Botox) สามารถฉีดเข้าข้าง ๆ กระเพาะปัสสาวะเพื่อรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากและ overactive bladder syndrome (OAB) ได้ ยาตัวนี้ช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ด้วยการคลายตัวกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งผลของสารพิษสามารถคงอยู่ได้นานหลายเดือน และการฉีดสารพิษสามารถทำได้ซ้ำ ๆ หากได้ผลจริง

แม้ว่าอาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะดีขึ้นหลังการฉีดสารพิษ คุณอาจรู้สึกได้ว่าทำการขับถ่ายให้หมดกระเพาะปัสสาวะได้ลำบากขึ้น หากเกิดเช่นนี้ คุณจำต้องเรียนรู้วิธีการสอดสายสวนเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อช่วยดูดของเหลวออกจากกระเพาะปัสสาวะ

Botulinum toxin A ไม่ได้ถูกจดทะเบียนไว้สำหรับรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากหรือ OAB ดังนั้นคุณควรจะทราบถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ของสารพิษก่อนตัดสินใจรับการรักษานี้ ซึ่งรายงานผลกระทบระยะยาวจากการรักษาประเภทนี้ยังคงไม่เป็นที่ชัดเจน

2.การกระตุ้นเส้นประสาทกระเบนเหน็บ

เส้นประสาทกระเบนเหน็บ (sacral nerves) อยู่ที่ส่วนล่างส่วนของแผ่นหลัง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองไปยังกล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่ใช้งานขณะที่คุณปัสสาวะ เช่นกล้ามเนื้อเรียบรอบกระเพาะปัสสาวะ

หากคุณมีภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากเนื่องจากปัญหาที่กล้ามเนื้อเรียบบีบรัดตัวเองบ่อยเกินไป แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทกระเบนเหน็บกับคุณ (อีกชื่อคือ sacral neuromodulation)

ระหว่างการผ่าตัด จะมีการใส่อุปกรณ์ใกล้กับเส้นประสาทกระเบนเหน็บ มักจะเป็นส่วนบั้นท้าย อุปกรณ์นี้จะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเส้นประสาทซึ่งช่วยเพิ่มสัญญาณที่ส่งระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อเรียบและช่วยลดความอยากปัสสาวะบ่อย ๆ ลง

การรักษาด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทกระเบนเหน็บอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวบ้าง แต่ผู้ป่วยบางรายก็พบว่าอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของพวกเขาดีขึ้น หรือบางรายก็ไม่ประสบกับอาการใด ๆ อีกเลย

3.การกระตุ้นเส้นประสาท Posterior tibial

เส้นประสาท Posterior tibial จะพาดลงจากขาไปยังข้อขา โดยจะมีเส้นใยประสาทที่เริ่มจากจุดเดียวกับเส้นประสาทที่วิ่งจากกระเพาะปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน คาดกันว่าการกระตุ้นที่เส้นประสาท tibial จะส่งผลต่อเส้นประสาทอื่นด้วย ซึ่งช่วยควบคุมอาการของกระเพาะปัสสาวะ อย่างเช่นภาวะอยากปัสสาวะกะทันหัน

ระหว่างกระบวนการนี้ จะมีการแทงเข็มขนาดบางมากลงไปบนข้อขาและมีการส่งกระแสไฟฟ้ากำลังอ่อนผ่านเข็มเข้าไปจนทำให้คุณมีความรู้สึกหยุกหยิกและทำให้ขาของคุณขยับ คุณต้องทำการกระตุ้นเช่นนี้ 12 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงและมีระยะห่างจากกันหนึ่งสัปดาห์

งานวิจัยบางชิ้นพบว่าการรักษานี้ช่วยบรรเทาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากและ OAB ได้จริง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่มากพอจะให้แพทย์แนะนำวิธีนี้กับผู้ป่วยทั่วไป

การกระตุ้นเส้นประสาท Posterior tibial จะแนะนำและดำเนินการกับผู้ป่วยภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยากที่การใช้ยาไม่ได้ผลและไม่ประสงค์จะทำการฉีด botulinum toxin A หรือการกระตุ้นเส้นประสาทกระเบนเหน็บ

4.การผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับกรณีหายาก จะมีหัตถการที่เรียกว่า augmentation cystoplasty หรือการผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะในการรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีความอยาก กระบวนการนี้จะทำให้กระเพาะปัสสาวะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยการเติมชิ้นส่วนเนื้อเยื่อจากลำไส้ของคุณเข้ากับผนังกระเพาะปัสสาวะ

หลังหัตถการนี้ คุณอาจไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ และอาจต้องใช้สายสวนท่อปัสสาวะไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ทำให้การผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะจึงจะพิจารณาเมื่อคุณยินยอมจะใช้งานสายสวนท่อปัสสาวะ

อาการถ่ายปัสสาวะลำบากอาจทำให้ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้ต้องประสบกับภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหลายครั้ง (UTI)

5.การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินปัสสาวะ

การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินปัสสาวะ (Urinary diversion) เป็นหัตถการที่ซึ่งท่อปัสสาวะถูกเชื่อมเส้นทางใหม่หมด ทำให้ปัสสาวะถูกกักเก็บโดยตรงโดยไม่ไหลผ่านเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินปัสสาวะจะดำเนินการก็ต่อเมื่อวิธีรักษาอื่น ๆ ข้างต้นไม่ได้ผลหรือไม่เหมาะสม การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินปัสสาวะมีภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่นการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ และบางครั้งอาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

การสวนปัสสาวะสำหรับภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว

1.การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว

การสวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราว (Clean intermittent catheterization - CIC) เป็นเทคนิคที่ใช้ดูดของเหลวออกจากกระเพาะปัสสาวะตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้เพื่อลดอาการของภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว

ผู้เชี่ยวชาญจะสอดวิธีสอดสายส่วนผ่านท่อปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะกับคุณเพื่อให้สายสวนทำหน้าที่แทนท่อปัสสาวะในการขนส่งของเหลวออกจากร่างกายขณะที่คุณเข้าห้องน้ำ การใช้สายสวนอาจสร้างความเจ็บปวดหรือความไม่สบายเนื้อสบายตัวในช่วงแรก ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ควรจะลดลงไปตามกาลเวลา

ความถี่ที่คุณต้องทำ CIC จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องทำ CIC หนึ่งครั้งต่อวัน หรืออาจต้องดำเนินการหลายครั้งต่อวัน เป็นต้น กระนั้นการใช้งานสายสวนบ่อย ๆ ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อ UTI อยู่ดี

2.การสวนคาสายสายปัสสาวะ

หากคุณต้องใช้งานสายสวยบ่อย ๆ คุณอาจต้องใช้วิธีคาสายสวนปัสสาวะแทน (Indwelling catheterisation) ที่ซึ่งเป็นการสอดสายสวนท่อปัสสาวะเช่นเดียวกับ CIC แต่จะปล่อยให้สายคาอยู่เช่นนั้นตลอด โดยที่ปลายของสายจะมีถุงบรรจุของเหลวไว้รอรับน้ำปัสสาวะติดอยู่

การป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นอาจทำไม่ได้สมบูรณ์ แต่การใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้

  • น้ำหนักร่างกายที่ดี การที่คุณอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขึ้น คุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ด้วยการคงสภาพน้ำหนักร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำและทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • นิสัยการดื่ม แพทย์จะแนะนำปริมาณของเหลวที่คุณควรได้รับในแต่ละวันขึ้นอยู่กับปัญหาที่กระเพาะปัสสาวะของคุณ หากคุณมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ควรตัดหรืองดแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่นชา กาแฟ หรือโค้ก เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้ไตผลิตปัสสาวะออกมามากขึ้นและสร้างความระคายเคืองแก่ไต หากคุณต้องถ่ายปัสสาวะกลางดึกบ่อยครั้ง (nocturia) พยายามดื่มน้ำก่อนเข้านอนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง แต่ช่วงกลางวันนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดวัน
  • บริหารอุ้งเชิงกราน การที่คุณตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรจะทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ควบคุมการไหลของปัสสาวะจากกระเพาะอ่อนแอลง หากคุณตั้งครรภ์อยู่ ควรเสริมความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานบ่อย ๆ เพื่อช่วยป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชายเองก็สามารถบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ด้วย

26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urinary incontinence: Treatment, causes, types, and symptoms. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/165408)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)