กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ขมิ้นชัน (Turmeric)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ขมิ้นชัน (Turmeric)

ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังถูกนำมาใช้เพื่อให้สีเหลืองในเมนูอาหารต่างๆ รวมถึงนำมารับประทานเป็นผักเคียงอีกด้วย ขมิ้นชันสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน (Turmeric) เป็นพืชมีเหง้าที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับขิงและข่า ส่วนที่มักจะถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร และนำมาทำเป็นยา คือส่วนที่เรียกว่า เหง้าขมิ้น ซึ่งอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในของเหง้ามีสีเหลืองไปจนถึงสีแดง มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณค่าทางอาหารของขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน 100 กรัม ให้พลังงาน 312 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คาร์โบไฮเดรต 67.14 กรัม โปรตีน 9.68 กรัม ไขมัน 3.25 กรัม ใยอาหาร 22.7 กรัม แคลเซียม 168 มิลลิกรัม เหล็ก 55 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 208 กรัม ฟอสฟอรัส 299 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2,080 มิลลิกรัม สังกะสี 4.5 มิลลิกรัม วิตามิน C 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน E 4.43 มิลลิกรัม วิตามิน K 13.4 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขมิ้นชัน

สรรพคุณของขมิ้นชันนั้นมีมากมายดังต่อไปนี้

  1. ช่วยต้านการอักเสบ สารเคอร์คูมินในขมิ้นชัน เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติต่อต้านการทำงานของโปรตีนที่จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้น การรับประทานพืชชนิดนี้เป็นประจำ จะช่วยลดการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย และบรรเทาอาการอักเสบ เช่น ลำไส้อักเสบ ไขข้ออักเสบ ทอนซิลอักเสบได้
  2. ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง นอกจากต้านการอักเสบแล้ว สารเคอร์คูมิน ยังมีสรรพคุณฆ่าเชื้อโรคต่างๆ และต้านการออกซิไดซ์ จึงช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งต่างๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบย่อยอาหาร ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ในการขับลม จึงช่วยบรรเทาอาการโรคท้องอืดท้องเฟ้อ และยังช่วยบรรเทาอาการท้องเสียที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อได้อีกด้วย
  4. ลดการอุดตันในหลอดเลือด เมื่อเกล็ดเลือดจับตัวอยู่ในบริเวณเดียวกันจะกลายเป็นก้อนเลือด หรือลิ่มเลือด หากเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งสารเคอร์คูมินในขมิ้นชันสามารถสลายลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ช่วยลดอาการซึมเศร้า ผลการศึกษาในปี 2014 พบว่าอาสาสมัครจำนวน 60 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า มีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาและอาหารที่มีส่วนประกอบจากขมิ้นชัน
  6. บำรุงรักษาและดูแลผิวให้มีสุขภาพดี ขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยยับยั้งและต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จึงสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาสิว และผื่นคันตามผิวหนังได้
  7. ช่วยรักษาความผิดปกติของกล้ามเนื้อ มีผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าคุณสมบัติต้านการอักเสบของสารเคอร์คูมินในขมิ้นชัน สามารถช่วยในการรักษาความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อต่างๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกพรุน ได้
  8. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Alzheimer’s Diesase เมื่อปี 2558 ได้ระบุว่า สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน สามารถทำลายคราบพลัค Beta-Amyloid ซึ่งเป็นคราบพลัคที่พบได้มากในกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จึงช่วยป้องกันการสูญเสียความจำได้

แนวทางการใช้ขมิ้นเพื่อสุขภาพ

การใช้ขมิ้นเพื่อสุขภาพ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  1. รักษาอาการท้องร่วง นำขมิ้นชันมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1-3 เม็ด จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  2. รักษาแผล ใช้ผงเหง้าขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วนำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนน้ำมันเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นำน้ำมันที่ได้ไปทาแผล
  3. รักษาโรคฟัน เคี้ยวขมิ้นชันผสมเกลือ แล้วอมไว้ประมาณ 10 นาที ทุกวัน จะทำให้ฟันแข็งแรง ถ้าอยากให้ฟันขาว ให้เอานิ้วแตะเหง้าขมิ้นชันส่วนที่เป็นสีเหลืองแล้วนำมาขัดฟันให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่แล้วบ้วนทิ้ง แปรงด้วยยาสีฟันอีกครั้ง

เมนูสุขภาพจากขมิ้นชัน

ขมิ้นชันสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  1. สมูทตี้ผักรวม เตรียมผักคะน้า ผักโขม ขมิ้นชัน กล้วย 1 ลูก น้ำมะพร้าว 1 ถ้วยตวง เนยอัลมอนด์ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันแฟลกซ์ 1 ช้อนโต๊ะ และชาอบเชย 1/8 ช้อน แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในเครื่องปั่น เทใส่แก้ว
  2. น้ำขิงขมิ้นชัน เตรียมนมไขมันต่ำ 1 ถ้วย ขมิ้นชันขูด 2 ช้อนชา ขิงขูด 2 ช้อนชา น้ำผึ้ง ½ ช้อนชา เทนมลงในกระทะหรือหม้อขนาดเล็ก ให้ความร้อนเบาๆ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิห้อง จากนั้นใส่ขมิ้นชัน ขิง น้ำผึ้ง ลงไป คนจนเข้ากันแล้วตักใส่แก้วดื่มร้อนๆ
  3. ปลาดุกผัดขมิ้นชัน นำปลาดุกที่หั่นเป็นชิ้นมาล้างให้สะอาด นำกระทะตั้งไฟปานกลางค่อนข้างแรง ใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อนจึงนำชิ้นปลาลงไปทอดให้กรอบ แล้วตักขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน ตำเครื่องผัดด้วยการตำพริกไทย พริกขี้หนูสวน กระเทียม ขมิ้นชัน ให้ได้ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ นำไปผัดในกระทะให้หอม เติมน้ำสะอาดในปริมาณพอเหมาะ ปรุงรสตามใจชอบ แล้วนำปลาดุกที่พักไว้ใส่ลงไปผัดในกระทะ ผัดจนเข้ากัน โรยใบยี่หร่าที่เตรียมไว้ปิดท้าย ทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงตักใส่จาน

ข้อควรระวัง

  • การรับประทานขมิ้นชันเป็นประจำ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และนอนหลับไม่สนิทได้
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานขมิ้นชัน เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกในการตั้งครรภ์
  • หากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขมิ้นชัน เนื่องจากอาจทำให้ยารักษาบางตัวออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจไม่ออกฤทธิ์เลย
  • หากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี ควรหลีกเลี่ยงการับประทานขมิ้นชัน เพราะอาจทำให้เกิดนิ่ว และทำให้ท่อน้ำดีอุดตันมากกว่าเดิม
  • การรับประทานขมิ้นชันติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า ดังนั้น หากมีนัดผ่าตัด หรือมีอาการของโรคฮีโมฟีเลีย ควรงดรับประทานขมิ้นชันโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ที่มาของข้อมูล

Josh Axe, Turmeric & Curcumin Benefits: Can This Herb Really Combat Disease? (https://draxe.com/turmeric-curcumin-benefits/), 18 January 2019

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

Kris Gunnars, 10 Proven Health Benefits of Turmeric and Curcumin (https://www.healthline.com/nutrition/top-10-evidence-based-health-benefits-of-turmeric), 13 July 2018

Megan Ware, Everything you need to know about turmeric (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306981.php), 24 May 2018

United States Department of Agriculture, Basic Report: 02043, Spices, turmeric, ground (https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/02043)

WebMD, Turmeric (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-662/turmeric)

กรุงเทพธุรกิจ, ชู'กระเจี๊ยบแดง-ขมิ้นชัน'ช่วยลดไขมันในเลือด (http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/636143), 23 กุมภาพันธ์ 2558

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ขมิ้นชัน ลดการอักเสบข้อเข่า (http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=362), 29 กรกฎาคม 2555

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ขมิ้นชัน (http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=34)

ผู้จัดการออนไลน์, อาหารสำหรับป้องกันโรคความจำเสื่อม ในวันอัลไซเมอร์โลก (https://mgronline.com/daily/detail/9580000105651), 18 กันยายน 2558

มติชนออนไลน์, อภ.ชูผลิตภัณฑ์ ‘ขมิ้นชัน’ ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบันจากสมุนไพรตัวแรก ลดปวดข้อเข่าเสื่อม (https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_636229), 21 สิงหาคม 2560

รศ.ดร.อ้อมบุญ วัลลิสุต, การใช้สมุนไพร อายุรเวท รักษามะเร็ง (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/128), 10 กุมภาพันธ์ 2556

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, ขมิ้น (http://www.medplant.mahidol.ac.th/herb_aids/data/scall/c_longa.htm)

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, ขมิ้น (http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/curcuma.html)

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, ขมิ้นชันกับอัลไซเมอร์ (http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/TurmericAndAlzheimer.pdf)


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Turmeric Uses, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mtm/turmeric.html)
Turmeric: Benefits and nutrition. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306981)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)