กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยแท้ๆ พร้อมประโยชน์ และการนำไปใช้ให้ถูกวิธี

ขมิ้นชัน มีสรรพคุณมากมาย พร้อมวิธีการใช้ รวมถึงข้อห้าม ข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยแท้ๆ พร้อมประโยชน์ และการนำไปใช้ให้ถูกวิธี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกที่นิยมนำมาใช้ปรุงอาหาร และเป็นสีผสมอาหาร รวมถึงนำมาใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง และผงขัดผิว
  • ขมิ้นชันถือเป็นสมุนไพรโบราณของไทยที่มีคุณสมบัติรักษาได้ทั้งภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย เช่น แก้อาการท้องอืด อาการเวียนหัว ต้านเชื้อวัณโรค แก้อาการฟกช้ำ สมานแผลสด แผลถลอก แก้น้ำกัดเท้า บรรเทาอาการปวดไหล่
  • ปัจจุบันขมิ้นชันมีการแปรรูปสำหรับใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งแบบผง แบบแคปซูล แบบยาเม็ด แบบยาทาผิวหนัง แบบเครื่องดื่ม จะเลือกรับประทานแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคุณเอง
  • ผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีอุดตัน โรคนิ่วในถุงน้ำดี หญิงตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังเกี่ยวกับการรับประทานขมิ้นชัน รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด
  • ปริมาณของยาขมิ้นชันที่คุณสามารถรับประทานได้ ต้องเป็นไปตามที่ฉลากระบุไว้ หรือควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณยาที่เหมาะสมกับสุขภาพของคุณก่อน (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

ขมิ้นชัน สมุนไพรที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์หลายด้าน หาซื้อได้ไม่ยาก สีสันสะดุดตา มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าเหตุใดขมิ้นชันจึงเป็นที่นิยมในการรักษาอาการป่วยๆ หลายชนิด แล้วประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้าง รวมถึงวิธีการใช้ และข้อห้ามข้อควรระวังต่างๆ 

ทำความรู้จักขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน เป็นไม้ล้มลุก ซึ่งนิยมปลูกในประเทศแถบเขตร้อนและเขตอบอุ่นที่มีความชื้นโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสูงของต้นจะอยู่ที่ประมาณ 50-70 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองส้ม มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ชอบขึ้นในที่ชื้น ใบเดี่ยวมีลักษณะเป็นรูปหอก ส่วนดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน ตัวใบและตัวดอกจะแทงออกจากเหง้าใต้ดิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขมิ้นชันมีชื่อสามัญว่า "เทอร์เมอริก (Turmeric)" ซึ่งแปลในภาษาสันสกฤตได้ว่า "สีเหลือง" และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L. ถือเป็นพืชอยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) มีชื่อท้องถิ่นว่า ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หรือตายอ 

ในส่วนของการปรุงอาการ ขมิ้นชันนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหาร โดยถูกใช้ทั้งรูปแบบผงและแบบเหง้า ซึ่งอาหารที่นิยมใส่ขมิ้นชัน ได้แก่ แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวน ไก่ทอด แกงไตปลา มัสตาร์ด เนย มาการีน อีกทั้งยังใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง หรือเป็นผงขัดผิว

สรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีสารสำคัญ 2 กลุ่มที่เป็นสารออกฤทธิ์และเป็นยาทางการแพทย์ได้ ได้แก่

  1. กลุ่มที่ให้สารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) มีสารออกฤทธิ์หลัก คือ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เชื้อจุลชีพ สารแบคทีเรียปรสิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง บำรุงและรักษาตับจากสารพิษ 
  2. กลุ่มน้ำมันหอมระเหยโมโนเทอร์ปีน (Monoterpene) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี อุดมไปเกลือแร่และวิตามิน ช่วยบำรุงผิวพรณให้ผ่องใสขึ้น

นอกจากสารทั้ง 2 กลุ่มนี้แล้ว แพทย์ยังนิยมใช้ผงขมิ้นชันเป็นส่วนผสมในยารักษาโรคต่างๆ เช่น รักษาโรคข้ออักเสบ ยาลดกรด ยาขับลม ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ท้องอืดหรือท้องเฟ้อ ยาแก้อักเสบ ยาแก้โรคผิวหนัง 

สรรพคุณทางยาของขมิ้นชันในตำราไทย

ขมิ้นชันเป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรโบราณที่คนไทยนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการเจ็บปวดต่างๆ มาอย่างยาวนาน ซึ่งตามตำรายาไทยมักจะใช้ส่วนเหล้านำมาทำเป็นยารักษา โดยส่วนนี้จะมีรสฝาดหวานเอียน แต่มีสรรพคุณรักษาได้ดี ซึ่งขมิ้นชันในตำราไทยจะแบ่งส่วนการรักษาเป็น 2 แบบ

  • แบบใช้ภายในร่างกาย เช่น 
    • ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุ 
    • แก้ท้องอืดเฟ้อ อาการแน่นหรือจุกเสียดท้อง 
    • บรรเทาเวลาปวดประจำเดือน หรือเป็นยารักษาเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ 
    • แก้อาการดีซ่าน 
    • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ 
    • รักษาโรคหวัด ลดไข้ แก้เสมหะ 
    • ต้านเชื้อวัณโรค 
    • แก้อาการท้องเสีย
    • ป้องกันโรคหนองใน  
    • เป็นยารักษาเมื่อโรคออกทางปัสสาวะและทวารหนัก 
  • แบบใช้ภายนอกร่างกาย เช่น 
    • ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม 
    • บรรเทาอาการปวดไหล่ แขน ข้อต่อ อาการบวมช้ำ  
    • ช่วยสมานแผลสดและแผลถลอก 
    • ผสมเป็นยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอกได้ 
    • แก้น้ำกัดเท้า 
    • แก้โรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น โรคชันนะตุ โรคกลากเกลื้อน มีผื่นคัน เป็นผี 
    • สมานแผลและห้ามเลือดได้ เช่น แผลพุพอง แผลอักเสบจากแมงสัตว์กัดต่อย 
    • ใช้บำรุงรักษาผิวให้ดูดียิ่งขึ้น

สรรพคุณที่น่าสนใจอื่นๆ ของขมิ้นชัน

นอกเหนือจากตำรายาไทยแล้ว ประโยชน์จากขมิ้นชันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะยังมีโรคและอาการผิดปกติอีกหลายชนิดที่คุณอาจคาดไม่ถึงและสามารถรักษาได้ด้วยขมิ้นชัน เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ชะลอและป้องกันโรคพาร์กินสัน
  • ออกฤทธิ์ลดไขมันได้ (Hypolipidaemic)
  • รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • ต้านการเกิดโรคมะเร็งได้อีกหลายชนิด ไม่ใช่แค่โรคมะเร็งผิวหนังเท่านั้น เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ มะเร็งกระเพาะอาหาร

รูปแบบการรับประทานยาขมิ้นชันในปัจจุบัน

โดยในปัจจุบัน ขมิ้นชันมีการแปรรูปสำหรับการใช้งานในหลายรูปแบบ เช่น แบบเหง้าสด แบบเหง้าแห้ง แบบผง แบบแคปซูล แบบยาเม็ด แบบยาทาผิวหนัง แบบเครื่องดื่มชาขมิ้นชัน แบบสารสกัด หรือแบบเป็นยาใช้ภายนอก ซึ่งการเลือกรับประทานก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคุณเองว่า ต้องการบริโภคขมิ้นชันเพื่ออะไร และรูปแบบร่างๆ ก็จะมีวิธีบริโภคที่แตกต่างกัน เช่น

  • รูปแบบรับประทาน: ต้องกลืนไปทั้งเม็ด หรือทั้งแคปซูล 
  • รูปแบบยาผง: ต้องนำไปผสมน้ำก่อนดื่ม และปริมาณการใช้ก็ตามเป็นไปตามที่ฉลากระบุ 
  • รูปแบบยาทาผิวหนัง: ส่วนมากยาทาขมิ้นชันมักจะเป็นยาครีม เจล หรือขี้ผึ้ง โดยก่อนใช้ยา คุณควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ต้องการเสียก่อน จากนั้นให้บีบยาลงไปพอประมาณ แล้วทาบางๆ ให้ยาแผ่ซึมลงใต้ผิวหนัง   

คำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

คุณอาจยังสงสัยวิธีการใช้ขมิ้นชันมาดัดแปลงเป็นยารักษาอาการต่างๆ บางทีคำแนะนำการใช้ยาจากกระทรวงสาธารณสุขต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการใช้ขมิ้นชันเป็นยารักษามากขึ้น

  1. ใช้รักษาแมลงกัดต่อย: ใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ แล้วคนให้เข้ากันจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำมันที่ได้ทาลงที่แผล หรืออีกวิธีคือ นำเหง้าขมิ้นชันสดมาตำจนละเอียด แล้วผสมน้ำสารส้ม หรือดินประสิวเพื่อพอกบริเวณแผลก่อน จากนั้นนำเหง้าชิ้นชันสดที่ตำแล้วมาคั้นน้ำใส่แผล 
  2. ใช้รักษาโรคกลากเกลื้อน: ผสมผงขมิ้นกับน้ำ จากนั้นทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน
  3. ใช้รักษาอาการท้องเสีย: นำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยพอให้ผงยาจับเป็นก้อนได้ จากนั้นปั้นเป็นยาลูกกลอนแล้วรับประทานเวลาหลังอาหาร และก่อนนอน ครั้งละ 3-5 เม็ด หรือรับประทานให้ร่างกายได้ปริมาณผงขมิ้นชัน 1 กรัมต่อวัน

ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชัน

โดยปกติแล้ว ขมิ้นชันถือเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยูง มักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เสียหายมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยหรือผู้ใช้ขมิ้นชันบางรายที่เกิดอาการข้างเคียงเช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ เวียนหัว ท้องเสีย ดังนั้น ทางที่ดี คุณจึงใช้ขมิ้นชันตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข หรืออาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาหรือใช้ขมิ้นชันรักษาโรค 

นอกจากนี้ ยังไม่แนะนำให้คุณรับประทานขมิ้นชันเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ แต่ควรเว้นช่วงให้ร่างกายขับสารตกค้างออกจากตับบ้าง และมีข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชันสำหรับผู้ที่มีกลุ่มอาการเจ็บป่วย หรือกำลังใช้ยาดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีอุดตัน
  2. ผู้ที่แพ้หรือไวต่อการบริโภคขมิ้นชัน
  3. ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี 
  4. หญิงตั้งครรภ์
  5. การใช้ขมิ้นชันร่วมกับสารป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
  6. การใช้ขมิ้นชันร่วมกับยาที่ผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึมโดยโปรตีนไซโทโครม พี 450 (Cytochrome P450) เพราะสารเคอร์คูมินในขมิ้นชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในโปรตีนไซโทโครม พี 450 ได้แก่ 
    1. เอนไซต์ไซโทโครม พี 450 3 เอ 4 (Cytochrome P450 3A4: CYP2A4) 
    2. เอนไซน์ไซโทโครม พี 450 1 เอ 2 (Cytochrome P450 1A2: CYP1A)
  7. การใช้ขมิ้นชันร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เพราะตัวสมุนไพรจะมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว เช่น 
    1. ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin) 
    2. คลอมีทีน (Chlormethine)
    3. ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide)
    4. แคมป์โทเธซิน (Camptothecin)

สรรพคุณของสมุนไพรขมิ้นชันถือว่ามีความหลากหลายและมีคุณประโยชน์มากมายที่คุณไม่ควรพลาด บางทีการลองซื้อวิตามิน อาหารเสริม หรือลองรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ผสมขมิ้นชันดู ก็อาจเป็นความคิดที่ดีในการเสริมต้นศึกษาและลิ้มลองรสชาติที่เต็มไปด้วยประโยชน์ของสมุนไพรชนิดนี้ 

คุณไม่จำเป็นต้องมองหาวิตามิน อาหารพืชผัก หรือยาราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศเสมอไป ลองหันกลับมามองดูสมุนไพรดั้งเดิมของไทยดูสักครั้ง แล้วคุณจะพบว่าพืชผักของบ้านเราก็มีประโยชน์ไม่แพ้ของต่างประเทศเลย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, โครงการการวิจัยและพัฒนาสมุนไพร ขมิ้นชัน เป็นยา อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อที่ใช้ในคนและสัตว์ (http://www.inmu.mahidol.ac.th/...), สิงหาคม 2550
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน การใช้สมุนไพร อายุรเวท รักษามะเร็ง
บัญชียาหลักแห่งชาติ, บัญชียาจากสมุนไพร (http://kpo.moph.go.th/webkpo/t...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)