กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Inositol (อิโนซิทอล)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

ข้อมูลภาพรวมของอิโนซิทอล

อิโนซิทอล (Inositol) คือสารที่คล้ายวิตามิน ถูกพบในพืชและสัตว์หลายชนิด อีกทั้งยังสามารถผลิตออกมาจากร่างกายของมนุษย์และห้องปฏิบัติการณ์ได้ด้วย อิโนซิทอลมีอยู่หลายรูปแบบ (ที่เรียกว่าไอโซเมอร์) โดยส่วนมากคือ myo-inositol และ D-chiro-inositol

บางคนรับประทานอิโนซิทอลกับโรคเบาหวาน, ปัญหาระบบประสาทที่เกิดจากเบาหวาน, เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes), รักษาภาวะผิดปรกติที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) และภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS)) และหมดประจำเดือน เช่นไม่สามารถตกไข่ได้, ความดันโลหิตสูง, ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง, และระดับเทสโทสเทอโรนสูง อีกทั้งยังสามารถใช้อิโนซิทอลกับโรคซึมเศร้า (depression), โรคจิตเภท (schizophrenia), โรคออทิสติก (autism), โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease), โรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)), โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder), โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorder (OCD)), โรคดึงผมตัวเอง (trichotillomania), โรคแพนิค (panic disorder), ภาวะผิดปรกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (post-traumatic stress disorder), และโรควิตกกังวล (anxiety disorders) กระนั้น ณ ปัจจุบันก็ยังคงมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับประโยชน์เหล่านี้ของอิโนซิทอลที่จำกัดอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อิโนซิทอลออกฤทธิ์อย่างไร?

อิโนซิทอลอาจช่วยปรับสมดุลสารเคมีบางชนิดในร่างกายเพื่อควบคุมภาวะทางจิตต่าง ๆ อย่างเช่นโรคแพนิค, ภาวะซึมเศร้า, และโรคย้ำคิดย้ำทำ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาภาวะต่าง ๆ อย่างโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น

การใช้และประสิทธิภาพของอิโนซิทอล

ภาวะที่อาจใช้อิโนซิทอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes) การทานอิโนซิทอลประเภทที่เรียกว่า myo-inositol ร่วมกับกรดโฟลิก (folic acid) ระหว่างมีครรภ์อาจช่วยลดโอกาสที่แม่ผู้มีความเสี่ยงจะเกิดโรคเบาหวานระหว่างมีครรภ์ลงได้ 60-92% โดยการใช้อิโนซิทอลปริมาณน้อยและไม่ได้ทานร่วมกับกรดโฟลิกอาจไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความเสี่ยงนี้
  • ผลข้างเคียงจากลิเทียม (lithium) การทานอิโนซิทอลอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากลิเทียม แต่ไม่อาจรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่ได้เกิดลิเทียมแต่อย่างใด อีกทั้งอิโนซิทอลก็ไม่ได้ช่วยลดผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดจากลิเทียมเชานกัน
  • โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) การทานอิโนซิทอลเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับ alpha-lipoic acid อาจช่วยเพิ่มความทนทานต่ออินซูลิน, ปรับระดับคอเลสเตอรอลกับไตรกลีเซอร์ไรด์, และควบคุมความดันโลหิตของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคนี้ได้
  • โรคแพนิค (Panic disorder) อิโนซิทอลแสดงให้เห็นศักยภาพในการควบคุมอาการแพนิคและลดความหวาดกลัวสถานที่เปิดโล่งหรือที่สาธารณะ (agoraphobia) ได้ โดยงานวิจัยพบว่าอิโนซิทอลมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาที่ใช้ควบคุมอาการของโรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องมีการศึกษาทางคลินิคเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่แท้จริงของอิโนซิทอลต่ออาการแพนิคเพิ่มเติมอยู่ดี
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder (OCD)มีหลักฐานว่าผู้ป่วย OCD ที่ได้รับประทานอิโนซิทอลนานกว่า 6 สัปดาห์จะมีอาการของโรคนี้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้อิโนซิทอลก็ไม่อาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มที่เรียกว่า selective serotonin reuptake inhibitors ไปแล้ว
  • โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (ovary disorder known as polycystic ovary syndrome (PCOS)) การทานอิโนซิทอล (D-chiro-inositol หรือ myo-inositol) อาจช่วยลดระดับเทสโทสเทอโรนกับไตรกลีเซอร์ไรด์, ลดระดับความดันโลหิตได้ค่อนข้างมาก, และเพิ่มการทำงานของรังไข่ของสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ โดย Myo-inositol อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับยา metformin ซึ่งงานวิจัยบางชิ้นยังได้แสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลสองประเภทร่วมกันจะช่วยให้การตกไข่เป็นไปได้ดีขึ้นกว่าการทานแค่ D-chiro-inositol เพียงอย่างเดียว อีกทั้งการใช้ร่วมกับยาควบคุมความดันโลหิต, น้ำตาลในเลือด, และระดับอินซูลินจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าการทาน myo-inositol เพียงอย่างเดียว
  • ปัญหาการหายใจของเด็กที่คลอดก่อนกำหนด (acute respiratory distress syndrome) การให้อิโนซิทอลทางเส้นเลือด (intravenously (by IV)) กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ปัญหาระบบหายใจจะช่วยให้พวกเขามีการหายใจที่ดีขึ้น อีกทั้งการให้อิโนซิทอลแบบรับประทานหรือทางเส้นเลือดแก่ทารกกลุ่มนี้ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต, ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่ทำให้ตาบอด, หรือความเสี่ยงที่จะเลือดออกในสมองได้ด้วย

ภาวะที่อิโนซิทอลอาจไม่สามารถรักษาได้

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) การทานอิโนซิทอลไม่ได้ช่วยให้อาการจากโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้น
  • โรควิตกกังวล (Anxiety) การทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยลดความรุนแรงของภาวะวิตกกังวลลงได้
  • โรคออทิสซึ่ม (Autism) การทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยลดความรุนแรงโรคออทิสซึ่มลงได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยให้อาการของภาวะซึมเศร้าดีขึ้นได้ ในขณะที่บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ซึมเศร้าที่ได้รับอิโนซิทอลจะมีอาการดีขึ้นแค่เพียง 4 สัปดาห์แรก จากนั้นจะเริ่มกลับมามีอาการอีกครั้ง อีกทั้งยังมีความคาดหวังว่าการทานอิโนซิทอลจะทำให้ยาต้านซึมเศร้าที่เรียกว่า SSRI มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ ณ ขณะนี้ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่พิสูจน์ข้อมูลดังกล่าวว่าเป็นจริง
  • จิตเภท (Schizophrenia) การทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยให้อาการของโรคจิตเภทดีขึ้น

ภาวะที่การใช้อิโนซิทอลไม่มีประสิทธิภาพใด

  • ปัญหาเส้นประสาทจากเบาหวาน การทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยให้อาการปวดเส้นประสาทจากเบาหวานดีขึ้นแต่อย่างใด

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้อิโนซิทอลรักษาได้หรือไม่

  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) การศึกษาแสดงให้เห็นว่าอิโนซิทอลอาจไม่ช่วยให้อาการของ ADHD ดีขึ้นแต่อย่างใด
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) งานวิจัยในเด็กที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วแสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลร่วมกับกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยให้อาการฟุ้งซ่านและอาการซึมดีขึ้น
  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานกรดโฟลิกร่วมกับอิโนซิทอลประเภท D-chiro-inositol จะลดกลูโคสในเลือดลงมากกว่าการทานกรดโฟลิกเพียงอย่างเดียว (ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1)
  • มะเร็งปอด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลไม่อาจแก้ไขการโตของเซลล์ก่อนมะเร็งในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดสูงได้
  • ภาวะผิดปรกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic stress disorder (PTSD)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยลดความซึมของผู้ป่วย PTSD ได้
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การทานอิโนซิทอล (isomer myo-inositol) ร่วมกับกรดโฟลิกระหว่างการตั้งครรภ์อาจช่วยลดน้ำหนักของเด็กทารก อย่างไรก็ตามการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันไม่อาจลดความดันโลหิตที่สูงจากการตั้งครรภ์, ความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด, อัตราการผ่าตัดคลอด (caesarean section), หรือความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดมาพร้อมปัญหาการหายใจ
  • โรคดึงผมตัวเอง (trichotillomania) การทานอิโนซิทอลไม่อาจช่วยลดอาการของโรคดึงผมตัวเองได้
  • มะเร็ง
  • การงอกของผม
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • ปัญหาการย่อยไขมัน
  • ปัญหาการนอนหลับ
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของอิโนซิทอลเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของอิโนซิทอล

อิโนซิทอลถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมากเมื่อรับประทานเข้าไป โดยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างคลื่นไส้, ปวดท้อง, เหน็ดเหนื่อย, ปวดศีรษะ, และวิงเวียนได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

เด็ก: สำหรับเด็กอายุ 5-12 ปี การทานอิโนซิทอลภายในระยะเวลาสั้นถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัย (นานถึง 12 สัปดาห์) และสำหรับทารกแรกเกิดนั้นการให้อิโนซิทอลทางเส้นเลือดตามโรงพยาบาลเพื่อรักษาภาวะปัญหาหายใจติดขัดก็ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเช่นกัน

การให้นมบุตร: การทานอิโนซิทอลระหว่างตั้งครรภ์ถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัย แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อมูลเรื่องของการใช้อิโนซิทอลระหว่างให้นมบุตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรงดการทานอิโนซิทอลในระหว่างนี้ไปก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคอารมณ์สองขั้ว: มีข้อกังวลว่าการทานอิโนซิทอลมากเกินไปจะทำให้อาการอารมณ์สองขั้วทรุดลง อีกทั้งมีรายงานว่าเคยมีคนที่ป่วยเป็นโรคนี้แต่อยู่ภายใต้การควบคุมเป็นอย่างดีถูกส่งไปโรงพยาบาลเนื่องจากการอาการคุ้มคลั่งอย่างหนักหลังดื่มกระป๋องน้ำชูกำลังที่มีส่วนผสมของอิโนซิทอล, คาเฟอีน, ทอรีน (taurine), และส่วนผสมอื่น ๆ (เครื่องดื่มกระทิงแดง) ตลอดระยะเวลา 4 วัน ซึ่งจากข้อมูลนี้ทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพราะส่วนผสมใด

เบาหวาน: อิโนซิทอลอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับฮีโมโกลบิน A1c ได้ ดังนั้นควรเฝ้าระวังภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ในกรณีที่คุณเป็นเบาหวานและใช้อิโนซิทอลเป็นพิเศษ

การใช้อิโนซิทอลร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องปฏิสัมพันธ์ของอิโนซิทอล

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับเบาหวานระหว่างมีครรภ์ (gestational diabetes): อิโนซิทอล (isomer myo-inositol) 2 กรัมร่วมกับกรดโฟลิก (folic acid) 200 mg สองครั้งต่อวันเริ่มจากช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
  • สำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงินจากการใช้ลิเทียม: อิโนซิทอล 6 กรัมต่อวัน
  • สำหรับโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome): อิโนซิทอล (isomer myo-inositol) 2 กรัมสองครั้งต่อวันนานหนึ่งปี
  • สำหรับรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome): อิโนซิทอล (isomer D-chiro-inositol) 1000-1200 mg และผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยอิโนซิทอล (isomer myo-inositol) 4 กรัมร่วมกับกรดโฟลิก 400 mcg ทุกวันนาน 6 เดือน, ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย myo-inositol 550 mg กับ D-chiro-inositol 13.8 mg สองครั้งต่อวันนาน 6 เดือน
  • สำหรับภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์: อิโนซิทอล (isomer myo-inositol) 2 กรัมร่วมกับกรดโฟลิก 200 mg สองครั้งต่อวันเริ่มจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

เด็ก

รับประทาน:

  • สำหรับปัญหาการหายใจของทารกแรกเกิด  (respiratory distress syndrome): อิโนซิทอล 120-160 mg/kg หรือ 2500 mcmol/L (เฉพาะในโรงพยาบาล)

ฉีดเข้าเส้นเลือด:

  • สำหรับปัญหาการหายใจของทารกแรกเกิด  (respiratory distress syndrome): อิโนซิทอล 80-160 mg/kg

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chhetri, D. (2019). Myo-Inositol and Its Derivatives: Their Emerging Role in the Treatment of Human Diseases. Frontiers In Pharmacology, 10. https://doi.org/10.3389/fphar.2019.01172. Frontiers. (Available via: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fphar.2019.01172/full)
Inositol. DrugBank. (Available via: https://www.drugbank.ca/drugs/DB13178)
4 Things to Know About Taking Inositol for PCOS. Verywell Health. (Available via: https://www.verywellhealth.com/inositol-for-pcos-info-2616286)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)