กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผิวแดง (Skin Flushing)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

อาการผิวแดง เกิดจากการไหลเวียนของเลือดที่มากขึ้นบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆ เช่น ใบหน้า ลำคอ หรืออก ทำให้หลอดเลือดต้องขยายตัวออกเพื่อรองรับเลือดปริมาณที่มากขึ้น มักเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายจากความกังวล ความเครียด ความเขินอาย ความโกรธ หรือความรู้สึกทางอารมณ์ต่างๆ

บางครั้งอาจพบอาการผิวแดงจากภาวะทางการแพทย์ เช่น โรคคุชชิ่ง (Cushing Disease) หรือการได้รับไนอะซินเกินขนาด (Niacin Overdose) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิวแดงเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิวแดง

มีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผิวแดงขึ้น เช่น

  • เกิดจากการลดลงของกระบวนการผลิตฮอร์โมนในรังไข่ที่ทำให้ผู้หญิงหมดประจำเดือนถาวร อาการที่พบมีทั้งร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง เจ็บปวดขณะมีการสอดใส่ นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ความต้องการทางเพศลดลง ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน อาการหมดประจำเดือนอาจคงอยู่นานหลายเดือนหรือหลายปีแตกต่างกันตามบุคคล
  • เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดขึ้นและหายไปซ้ำๆ เป็นวัฏจักร สาเหตุการเกิดโรคนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การทานอาหารรสเผ็ด การอักเสบของหลอดเลือดจากความเครียด และอุณหภูมิที่ร้อนอาจทำให้ภาวะนี้ทรุดลงได้ อาการทั่วไปของโรคโรซาเชียมีทั้งใบหน้าแดง เกิดตุ่มแดงขึ้น ผิวแห้ง พบการเกิดโรคนี้มากที่สุดในผู้หญิงผิวขาวที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี
  • ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการเหนื่อยล้า มีไข้อ่อนๆ เจ็บคอ คัดจมูก ท้องร่วง และคลื่นไส้ มักพบอาการผื่นขึ้นในเด็ก โดยผื่นบนแก้มมักจะมีลักษณะกลมสีแดงสด และเกิดลวดลายของผื่นบนแขน ขา และร่างกายส่วนบนชัดเจนขึ้นหลังอาบน้ำร้อน
  • เกิดขึ้นพร้อมกันหรือหลังจากการติดเชื้อคออักเสบ (Strep Throat) มักทำให้เกิดผื่นแดงทั่วร่างกาย โดยผื่นมักจะเป็นจุดเล็กๆ ที่สัมผัสแล้วเหมือนกระดาษทราย อีกอาการที่สังเกตได้ชัดเจนคือลิ้นมีสีแดงสด
  • เป็นภาวะที่เกิดเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป ทำให้เกิดอาการต่างๆ รวมไปถึงโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disease) เนื้องอก (Tumors) มีไอโอดีนเกิน หรือเกิดการอักเสบขึ้น หากมีฮอร์โมนมากเกินไปจนกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญมากขึ้น อาจพบอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตพุ่งสูง มือสั่น ท้องร่วง น้ำหนักลด เป็นต้น
  • เป็นการติดเชื้อร้ายแรงที่ตำแหน่งบนของระบบทางเดินปัสสาวะรวมไปถึงไต สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อาการทั่วไปมีทั้งไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน และเจ็บปวดในช่องท้อง อาจทำให้ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือปนเลือดร่วมด้วย
  • เป็นอาการปวดศีรษะรุนแรงเกิดขึ้นวนไปมาหรือเป็นชุดๆ อาการปวดมักเกิดขึ้นข้างหลังหรือรอบ ๆ ดวงตา อาการปวดมักลามไปยังหน้าผาก ขมับ ฟัน จมูก ลำคอ หรือหัวไหล่ที่อยู่ข้างเดียวกันของร่างกายได้ด้วย อาการที่อาจจะเกิดขึ้นต่อคือเปลือกตาหย่อน ม่านตาขยาย น้ำตามาก ตาแดง อ่อนไหวต่อแสง คัดจมูกหรือจมูกตันและคลื่นไส้
  • เกิดจากเชื้อไวรัสร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยมียุงเป็นพาหะ พบในบางพื้นที่ของประเทศแอฟริกาและอเมริกาใต้ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนก่อนเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีเชื้อ อาการขั้นต้นของการติดเชื้อคล้ายกับการติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย และความอยากอาหารลดลง ระหว่างระยะที่มีพิษจากการติดเชื้อมาก อาการขั้นต้นจะหายไปนาน 24 ชั่วโมง จากนั้นจะกลับมาพร้อมอาการปวดท้อง อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ ชัก เพ้อ เลือดออกจากปาก จมูก และดวงตา
  • เป็นภาวะที่ทำให้ระบบประสาทที่อยู่นอกเหนือการควบคุมที่สัมพันธ์กับสิ่งเร้าภายนอกร่างกายทำงานมากเกิน พบได้มากกับคนที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังเหนือ Thoracic Vertebra 6 หรือ T6 อาจเกิดกับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) ผู้ป่วยกิลเลน-บาร์เร่ (Guillain-Barré Syndrome) และผู้ที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือสมองบางประเภท อาการมีทั้งหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง เหงื่อท่วม ผิวแดง วิงเวียน และม่านตาหด เป็นภาวะร้ายแรงที่นับเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • เกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมน Cortisol ในเลือดสูงผิดปกติอาการมีทั้งน้ำหนักเพิ่ม ไขมันสะสมเกิน โดยเฉพาะส่วนกลางร่างกาย ใบหน้า และระหว่างหัวไหล่กับแผ่นหลังส่วนบน (ทำให้มีลักษณะเหมือนหนอกควาย) อาการเพิ่มเติมคือสิวขึ้น เหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง รับประทานกลูโคสไม่ได้ กระหายน้ำมากขึ้น มวลกระดูกหาย ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
  • อาการผิวแดงจากไนอะซินมักเป็นผลข้างเคียงที่ไม่เป็นอันตรายอาการมีทั้งผิวแดงทันทีที่ได้รับไนอะซิน อาจเกิดร่วมกับอาการคันและแสบร้อนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะปรับตัวให้ทนต่อไนอะซินมากขึ้นจนมีอาการลดน้อยลงไปเอง
  • เป็นอาการไหม้ของผิวหนังชั้นบนสุด อาการมีทั้งผิวแดง ปวด และบวม หลังผิวไหม้แดดไม่กี่วัน ผิวจะเริ่มแห้งและหลุดลอกออก แต่ถ้าผิวไหม้แดดรุนแรง อาจพบตุ่มหนองขึ้น
  • การรับประทานอาหารรสเผ็ด อาจทำให้เกิดอาการผิวแดง โดยเฉพาะใบหน้าและลำคอ เนื่องจากการรับประทานอาหารเหล่านี้จะเพิ่มอุณหภูมิร่างกายขึ้น เพิ่มความดันโลหิตมากขึ้น และทำให้เกิดอาการใบหน้าแดง
  • อารมณ์รุนแรงต่างๆ สามารถกระตุ้นให้ผิวแดงได้ เช่น ความวิตกหรือเขินอายรุนแรง ความโกรธ ความเครียด ความเศร้า รวมถึงการร้องไห้ก็สามารถทำให้เกิดผิวแดงที่ใบหน้าและลำคอ
  • เช่น
  • เป็นภาวะผิดปกติที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกลัวฝูงชน จึงพยายามเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจทำให้รู้สึกถูกขัง อับอาย หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อาการที่พบมีทั้งหวาดกลัว คลื่นไส้ อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้น เจ็บหน้าอก วิงเวียน ตัวสั่น เหงื่อออก ท้องร่วง และแขนขาชาเมื่ออยู่ในสถานการณ์ข้างต้น
  • สาเหตุของอาการผิวแดงที่พบได้ แต่ไม่บ่อย ได้แก่

การรักษาอาการผิวแดง

การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการผิวแดง เช่น อาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มร้อนๆ สารพิษ แสงอาทิตย์ รวมถึงสภาพอากาศที่เย็นหรือร้อนสุดขั้ว อาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการผิวแดงได้ แต่ถ้าหากเลี่ยงปัจจัยข้างต้นไปแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อจะได้รักษาอย่างถูกต้องต่อไป


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Skin blushing/flushing (https://medlineplus.gov/ency/article/003241.htm),
ncbi.nlm.nih, Flushing in (Neuro)endocrinology (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5161029/), 2016 Sep
Cynthia Cobb, APRN , What can cause flushed skin? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323219.php), October 1, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อายุ 51 ปี มีอาการชาริมฝีปากล่างบ่อย ๆ อาการคือชายิบ ๆ เจ็บเล็กน้อยค่ะ มีอาการเป็นบางวันค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว แต่ค่า LDL สูง 144 ค่ะ ไม่ทราบเกิดจากอะไรคะ ต้องพบแพทย์แผนกไหนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้มีอาการปัสสาวะบ่อย ออกมาแบบกระปริบกระปรอย และรู้สึกเจ็บจี๊ดขึ้นท้องน้อย มีเลือดจางๆปนออกมาแค่ครั้งเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คือหนูทานไข้มุขแล้วเหมือนมันจะติดคอทำยังไงถึงจะให้มันไหลลงท้องปกติค่ะกลัวเป็นอันตราย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)