ยาแก้ปวด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบ มีทั้งชนิดที่หาซื้อได้เองและใช้ตามคำสั่งแพทย์ การใช้ยาแก้ปวดบ่อยๆ หรือต่อเนื่องนานๆ มีผลข้างเคียงและข้อควรระวัง โดยหลายคนอาจไม่ทราบถึงผลข้างเคียงดังกล่าว แต่ก่อนจะรู้จักอันตรายของยาแก้ปวด ควรรู้จักประเภทของยาแก้ปวดเสียก่อน
กลุ่มยาแก้ปวด ลดอักเสบสามารถแบ่งประเภทตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ 4 ชนิด ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
ยาพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก แทบทุกบ้านต้องมีติดไว้เพื่อใช้ลดอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ยาพาราเซตามอลสามารถเข้าสู่สมองได้ดี จึงออกฤทธิ์ลดไข้ลดปวดอย่างได้ผล อย่างไรก็ตาม ยาพาราเซตามอลไม่มีฤทธิ์ลดอักเสบ ขนาดยาในการใช้คือ 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยใน 1 วัน ไม่ควรใช้เกิน 4 กรัม ข้อดีของยาพาราเซตามอลคือ ค่อนข้างปลอดภัยในคนทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาทางสุขภาพ แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบร่างกาย
บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้ยาพาราเซตามอล ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคโรคตับ อาจทำให้อาการของโรครุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และจำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
- ผู้ป่วยโรคไต ทำให้ไตวายหรือเกิดความผิดปกติมากขึ้นได้
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด ได้แก่ Thrombocytopenia, Leucopenia, Neutropenia, Pancytopenia, Methaemoglobinaemia, Agranulocytosis
- ผู้ที่ติดเหล้า
- ผู้ที่แพ้ยา
2. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAIDs)
ยากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) เป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบในร่างกายได้ จึงช่วยลดปวดและลดบวมแดงไปได้ด้วยในตัว ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs เป็นยาลดอักเสบที่ใช้กันบ่อย เนื่องจากออกฤทธิ์ลดอักเสบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ยา NSAIDs สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแต่ต้องจ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาไดโคลฟีเน็ก (Diclofenac) ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin)
ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปวดท้องเนื่องจากยามีความเป็นกรดทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และยังมีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลงอีกด้วย จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายในผู้ที่ใช้ต่อเนื่อง หากเกิดอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
วิธีสังเกตว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือไม่ ให้ดูจากสีอุจจาระ หากอุจจาระมีสีดำเข้มแสดงว่าอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ควรพบแพทย์ทันที ดังนั้น ในการให้ยาในกลุ่ม NSAIDs แพทย์จึงอาจลดอาการข้างเคียงดังกล่าวโดยการสั่งจ่ายยาลดกรดร่วมด้วย หรือแพทย์อาจพิจารณาจ่ายแทนยาในกลุ่มเอ็นเสดตัวอื่นๆ ที่ไม่มีผลกัดกระเพาะอาหารแทน - ยาเซเลโคซิบ (Celecoxib) และยาอีโทริโคซิบ (Etoricoxib) เป็นยาในกลุ่มเอ็นเสดที่ไม่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้วสามารถใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้มีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีความผิดปกติหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากทำให้เลือดเกาะกลุ่มกันง่ายมากขึ้น อาจทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันจนถึงชีวิตได้
ในกรณีที่ผู้ป่วยทานยา NSAIDs แล้วไม่หาย แพทย์จะสั่งจ่ายยาลดปวดในกลุ่มอื่นแทน เช่น ยาพาราเซตามอล ยากลุ่มโอพิออยด์ (Opioid) แต่แพทย์มักจะไม่ให้ทานยาชนิดอื่นในกลุ่ม NSAIDs ร่วมเพิ่มอีก เนื่องจากนอกจากยาจะไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแล้ว แต่จะทำให้ผลข้างเคียงที่เกิดจากยามากขึ้นได้อีกด้วย
บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้กลุ่มยา NSAIDs
- ผู้ป่วยโรคตับและไต
- ผู้ที่มีแผล/เป็นโรคกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดตีบตัน
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของยาในกลุ่ม NSAIDs
3. ยาเออร์กอต (Ergot) หรือเออร์โกทามีน (Ergotamine)
เป็นยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ออกฤทธิ์รักษาอาการปวดศีรษะ โดยกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติเกิดการหดตัวลง ทำให้อาการปวดศีรษะหายไป เนื่องจากเมื่อเส้นเลือดขยายตัว ร่างกายจะรับรู้ความรู้สึกปวดมากกว่าปกติ ขนาดยาเออร์โกทามีน ให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิกรัม เฉพาะเวลามีอาการปวด หากยังไม่หายปวดสามารถรับประทานยาซ้ำได้ทุก 30 นาที แต่ห้ามรับประทานเกิน 6 เม็ด ใน 24 ชั่วโมง
บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้กลุ่มยา NSAIDs:
- ผู้ป่วยโรคตับและไต
- ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ควบคุมไม่ได้
- ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
- ผู้ป่วยโรคไฮเปอร์ไทรอยด์
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่แพ้ยาเออร์กอต
4. ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioid)
มีฤทธิ์ช่วยลดสัญญาณความเจ็บปวดที่ส่งมาจากระบบประสาทและยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ดีจึง สามารถลดอาการเจ็บปวดที่รุนแรงได้ แต่มีอาการข้างเคียงสูง เช่น กดการหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หลอดเลือดขยายตัว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ สับสน ง่วงนอน เคลิ้มฝัน และอาจเกิดการเสพติดหรือใช้ยาในทางที่ผิดได้ ดังนั้น ยาในกลุ่มนี้ต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาในกลุ่มโอปิออยด์ เช่น ยามอร์ฟีน (Morphine) ยาออกซิโคโดน (Oxycodone) ยาเฟนตานิล (Phentanyl) เป็นต้น
บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้กลุ่มโอปิออยด์
- ผู้ที่มีความผิดปกติของการหายใจ
- ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทชนิดควบคุมไม่ได้
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง
- ผู้ที่ติดยา
- ผู้ที่แพ้ยาโอปิออยด์