โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน

วิธีโภชนาการบำบัดสำหรับชนิดเรื้อรังนั้น เป็นเพราะไม่อาจทราบได้ต้องว่าตนมีอาการของโรคนี้ ดังนั้นเรื่องสำคัญอันดับแรกคือต้องกินอาหารให้มากพอกับความต้องการของร่างกาย สารอาหารต่าง ๆ ที่ควรได้รับก็เช่นเดียวกับคนทั่วไปเป็นหลัก

แต่สำหรับชนิดเฉียบพลัน มีอาการเด่นชัด วิธีโภชนาการบำบัดสำหรับตับอักเสบชนิดเฉียบพลันจึงมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูเซลล์ตับที่เสียหายจากอาการอักเสบ และชดเชยสารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ ให้กับตับอีกด้วย เพื่อให้ตับกลับมามีหน้าที่การทำงานเหมือนเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยเฉพาะช่วงที่กำลังเป็นดีซ่าน คือ กำลังอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ปวดเมื่อยอ่อนเพลียทั้งตัว ค่า GOT GPT เกิน 300 KU และเบื่ออาหารกินไม่ลง จึงต้องปรับอาหารให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ ดังนี้

หลักโภชนาการบำบัดสำหรับไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน

อาหารต้องมีคาร์โบไฮเดรตมากพอและมีโปรตีนสูงเป็นชนิดย่อยง่าย (เช่น เนื้อปลา)

ต้องจำกัดไขมันเป็นหลัก ไม่ให้เกิน 20-30 g / วัน เนื่องจากกำลังเป็นดีซ่าน

ตัวอย่างของอาหารที่มีไขมันมากได้แก่ ไอศกรีม ช็อกโกแล็ต อาหาร ชุบแป้งทอด สเต็ก เนยสด มายองเนส หมูสามชั้น และอาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ แม้แต่ผลไม้บางอย่างเช่น อะโวคาโด ก็มีไขมันสูง ต้องระวัง

มีวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มากพอ

วิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ นับว่ามีความสำคัญกับตับมาก เพราะการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับต้องใช้เกลือแร่และวิตามินต่าง ๆ เข้ามาช่วย นอกจากนี้ตับเองก็ต้องใช้เพื่อเป็นการป้องกันเซลล์แก่ตัวลง ป้องกันตับฝ่อตัว สนับสนุนการสร้างเซลล์ใหม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตัวอย่างของวิตามินและเกลือแร่ที่ให้ประโยชน์ต่อตับ ดังนี้

วิตามินเอ    คุ้มครองเยื่อบุเซลล์ตับให้แข็งแรงทนทาน

 วิตามินซี   ทำหน้าที่ช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับ ช่วยตับคลายพิษต่าง ๆ ในอาหาร

วิตามินอี     ป้องกันเซลล์ตับจากอนุมูลอิสระ

ซีลีเนียม     ป้องกันเซลล์ตับที่ถูกอนุมูลอิสระโจมตีไม่ให้เสียหายไป

โดยเฉพาะสังกะสี เป็นสารจำเป็นสำหรับใช้ฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหาย จึงจำเป็นต้องได้รับตัวนี้เป็นอย่างยิ่ง (สังกะสีควรใช้ในรูปของข้าวกล้อง ตับสัตว์ ถั่วต่าง ๆ)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปริมาณสังกะสีที่ควรได้รับ คือ ประมาณ 9-12 mg/วัน แหล่งของสังกะสีมีดังนี้

ตารางแสดงปริมาณสังกะสีในอาหารต่าง ๆ โดยประมาณ

รายการ

ปริมาณ mg / อาหาร 100 g

หอยนางรม

13

พริกหวาน

10

ตับหมู

7

เนื้อวัว

6.5

งา

5.4

ไข่แดง

4

ข้าวเจ้า

1.5

โกโก้ 100%

7.2

ปลาหมึก

5.5

น่องไก่

3

ถ้าพูดถึงแหล่งอาหารที่ให้สังกะสีมาก ต่างก็ต้องนึกถึงหอยนางรม แต่จากตารางจะเห็นว่า พริกหวานมีปริมาณสังกะสีพอ ๆ กับหอยนางรม แต่ราคาต่างกันมาก

คำแนะนำในช่วงที่เบื่ออาหาร

ช่วงที่มีอาการอักเสบเฉียบพลันระยะแรกจนกว่าจะทุเลา จะมีอาการเบื่ออาหาร ดังนั้นควรเลือกอาหารที่ผู้ป่วยชอบและวิธีต่าง ๆ ต่อไปนี้เพื่อให้ผู้ป่วยกินได้มากขึ้น เช่น

อาหารที่เป็นอาหารหลักของมื้อ ควรเปลี่ยนสลับกันบ้างอย่าเหมือนกันทุกครั้ง เช่น มื้อเช้าเป็นโจ๊กหรือข้าวต้ม กลางวันเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว เย็นเป็นแซนด์วิช เป็นต้น

ควรเป็นรสอ่อน ช่วงนี้ถ้าเป็นอาหารรสเผ็ดหรือรสจัด จะทำให้กระเพาะเกิดความระคายเคืองง่าย ใช้ส่วนประกอบสดใหม่ ช่วยให้อาหารที่ปรุงได้รสอร่อยขึ้นแม้ไม่เค็ม ใช้น้ำผักต้มเป็นน้ำซุป เติมใส่ในข้าวต้ม เลี่ยงน้ำซุปมัน ๆ

อาหารที่ต้องกินร้อน ๆ ก็ควรอุ่นให้ร้อนอย่าปล่อยให้เย็นชืด เช่น ซุป ข้าว ผัด ขนมที่ต้องกินเย็น ๆ ก็ควรใส่ตู้เย็นให้เย็นได้ที่ก่อนกิน เช่น เยลลี่ เต้าฮวยเย็น

จัดแต่งหน้าอาหารให้ดูน่ากิน จัดให้ดูมีสีสันน่ากิน กินขนมที่มีส่วนผสมของนมและแป้ง เช่น บิสกิต คัสตาร์ด เพื่อให้ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น

สารอาหารจำพวกไขมัน ควรใช้เป็นชนิดเหลว เช่น ใช้ในรูปของเนยสด มายองเนสแบ่งกินทีละน้อย ประมาณ 4-5 ครั้ง/วัน ควรเป็นอาหารที่เคยอยากกินหรือชอบกินเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร หาเคล็ดลับปรุงให้อร่อยยิ่งขึ้น แต่ถ้ากลืนไม่ลงจริง ๆ ก็ต้องปรึกษานักโภชนาการหรือบุคลากรในโรงพยาบาล

หลังจากอาการดีขึ้น เริ่มมีความอยากอาหาร คราวนี้ก็ต้องเป็นอาหารที่มีโปรตีน พลังงาน และวิตามินสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ บี ซี และอี

วิตามิน

พบมากในอาหาร

A

ไข่แดง ปลาไหล ตับสัตว์ กุยช่าย ปวยเล้ง แครอท ฟักทอง

B1

เนื้อหมู ถั่วต่าง ๆ ข้าวกล้อง

B2

ผลิตภัณฑ์นม ไข่ไก่ ปลาไหล เนื้อหมู นมผงขาดมันเนย

C

ผลไม้รสเปรี้ยวต่าง ๆ กีวี ดอกกะหล่ำ มะเขือเทศ บร็อกโคลี่ ปวยเล้ง มันฝรั่ง พริกหวานแดง

E

น้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่วต่าง ๆ ฟักทอง ปวยเล้ง ปลาไหล

เรื่องของโภชนาการบำบัดสำหรับทั้ง 2 ชนิดนี้ มีรายละเอียดเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบซียังมีข้อห้ามในเรื่องของธาตุเหล็ก ดังนั้น ต่อไปนี้จึงขอเข้าเรื่องของวิธีโภชนาการบำบัดสำหรับไวรัสตับอักเสบซี ชนิดเรื้อรัง

โภชนาการบำบัด สำหรับไวรัสตับอักเสบซี ชนิดเรื้อรัง

แต่เดิมวิธีโภชนาการบำบัดสำหรับไวรัสตับอักเสบซีก็ใช้หลัก (โปรตีนสูง + พลังงานสูง) แต่วิธีนี้กลับทำให้ผู้ป่วยมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ในตับมากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงเรื่องของอาหารการกิน โดยใช้วิธีจำกัดปริมาณธาตุเหล็กในอาหารเป็นหลัก เรียกว่าแนวทางจำกัดธาตุเหล็กในอาหาร วิธีนี้มีจุดประสงค์เพื่อชะลออาการไม่ให้ลุกลามไปเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่านี้ เช่น โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับออกไปให้ได้นานที่สุด

เอาเป็นว่าก่อนเข้าสู่เรื่องอาหารจำกัดธาตุเหล็ก มาดูกันก่อนว่า ธาตุเหล็กเกี่ยวข้องกับตับอย่างไรบ้าง

ธาตุเหล็กกับตับ

ธาตุเหล็กมีสูตรทางเคมีว่า (Fe) เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบิน ส่วนเฮโมโกลบินก็เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง การที่เลือดเป็นสีแดงก็เพราะเฮโมโกลบิน

เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่สำคัญคือ ทำหน้าที่พาออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าขาดธาตุเหล็กก็เท่ากับว่าร่างกายพลอยขาดเลือดไปด้วย หรือก็คือ เป็นโรคโลหิตจาง

การได้รับธาตุเหล็กเพียงพอจึงจะช่วยให้มีสุขภาพดี ปัญหาอยู่ที่ถ้าได้รับน้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง แต่ถ้าได้รับมากเกินไปก็เสี่ยงเป็นมะเร็งตับ ยิ่งเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น

สารอาหารตัวนี้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเท่านั้น สร้างขึ้นเองไม่ได้ ซึ่งต่างจากคอเลสเตอรอล เพราะนอกจากได้รับจากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสร้างขึ้นเองได้

ตรงกันข้าม เม็ดเลือดแดงมีอายุแค่ 120 วันเท่านั้น จึงต้องมีการสร้างใหม่ทดแทน แต่ธาตุเหล็กในนั้นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

ตามหลักแล้วถ้ามีธาตุเหล็กมากจนมีเหลือใช้ ก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับม้าม และอื่น ๆ โดยเฉพาะที่ตับนับเป็นแหล่งสะสมธาตุเหล็กที่สำคัญที่สุดในร่างกาย

การที่ตับเก็บสะสมธาตุเหล็กได้ เพราะตับมีกลไกในการเก็บสะสมธาตุเหล็ก กลไกดังกล่าวคือ ฮอร์โมนเฮพซีดีน ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณธาตุเหล็ก ถ้ามีเพียงพอแล้วก็จะไม่เก็บเข้ามาไว้อีก

แต่เมื่อตับไวรัสชนิดซี ก็จะทำให้ฮอร์โมนนี้ลดน้อยลง ส่งผลให้ตับสะสมธาตุเหล็กมากเกินไปธาตุเหล็กนี้ว่าไปแล้วก็เหมือน ๆ กับเหล็กทั่วไป คือ เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็จะเกิดสนิมจับ ทำให้เหล็กผุกร่อน เหล็กในตับก็ทำนองเดียวกัน คือ เหล็กในตับจะช่วยสร้างอนุมูลอิสระ ยิ่งมีธาตุเหล็กมากก็ยิ่ง

มีมากขึ้น อนุมูลอิสระที่เกิดก็จะโจมตีเซลล์ตับตายลง ทำให้ตับทำงานด้อยลง เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นที่นี่

ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังจึงต้องใช้วิธีต้องใช้โภชนาการบำบัดด้วนการจำกัดปริมาณธาตุเป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิด c เนื่องจากไขมันในตับสูงชนิดไม่ใช่เกิดจากแอลกอฮอล์

นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นตับแข็ง ตับนับว่าเป็นอวัยวะที่มีความในการฟื้นตัวสูง แม้ตับบางส่วนเสียหาย เซลล์บริเวณนั้นล้มตาย ก็จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน

ถ้าเป็นตับปกติ ตับจะสร้างใหม่ทดแทนที่เดิมไม่มีปัญหา แต่เมื่อถูกไวรัสโจมตี เซลล์ตับเสียเสียหายสร้างใหม่ไม่ จึงเกิดเป็นช่องว่างตับตับต้องใช้วิธีสร้างเส้นใยอุดตันช่องว่างแทน

ยิ่งมีเส้นใยมากตับก็ยิ่งสูญเสียความอ่อน เสียหน้าที่หน้าที่การทำงาน เมื่อมีเส้นใยกระจายทั่วตับ ก็เรียกว่าตับแข็ง ตามชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าตับแข็ง ไม่นิ่มเหมือนตัวปกติที่มีความมันเรียบ ผิวนอกขรุขระ ผิดจากตัวที่มีความมันเรียบ และมีขนาดใหญ่ขึ้น

เรื่องของการมีธาตุเหล็กที่ตับมากเกินไป จึงส่งผลเสียดังกล่าว ผู้ป่วยจึงต้องใช้วิธีจำกัดธาตุเหล็กเพื่อลดความเสี่ยง

เรื่องต่อมาจึงเป็นเรื่องแนวทางจำกัดปริมาณธาตุเหล็กในอาหารแม้จะเรียกว่า จำกัดธาตุเหล็กในอาหาร แต่ก็ไม่ใช่ว่างดกินตับ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเครื่องใน ก็น่าจะเป็นอันใช้ได้ ความจริงแล้วยังแล้วต้องมีความความเข้าใจก่อนใช้วิธีดังกล่าว เพื่อให้การใช้ได้ผลดีต่อตนเอง

เริ่มจากความรู้ความเข้าใจพื้นฐานก่อนปฏิบัติจริง

  1. วิธีนี้เป็นต้องปรึกษานักโภชนาการเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะกับตนเองมากที่สุด
  2. เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลา อีกทั้งไม่ใช่ว่าใช้แต่เมนูแค่ 2 – 3 อย่าง แต่ต้องใช้ให้หลากหลายเมนู และใช้ เป็นเวลาหลายเดือน จากนั้นโภชนาการ หรือผู้เกี่ยวข้องประเมินเพื่อดูผลว่ายังคงในแนวนี้ต่อไป  หรือว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนเมนูบางอย่าง
  3. ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ได้มาอย่างถูกต้อง เพราะการทำตามใจตนเองก็ย่อมทำให้ผลที่ได้นั้น  ไม่ได้ผลดีพอ
  4. เข้มงวดมากเกิน พลอยทำให้ขาดสารอาหารอื่น ๆ เพราะอาหารที่มีธาตุธาตุเหล็กมาก ก็มีเหลือแร่อย่างอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส เป็นต้น ดังนั้นถ้าใจจดใจจ่อแต่จำกัดธาตุเหล็กจากอาหาร ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับโปรตีน พลังงาน และสารอาหารจำเป็นต่าง ๆไม่พอด้วยทำร่างกายขาดสารอาหาร ก่อปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นลูกโซ่
  5. วิธีนี้การจำกัดปริมาณธาตุในอาหารให้ร่างกายได้รับให้ได้น้อยกว่า 6 mg / วัน แต่ร่างกายยังคงได้รับสารอาหารจำเป็นต่าง ๆ เหมือนปกติ ถ้าคุณเป็นคนที่กินได้ทุกอย่าง ไม่เลือกกินเป็นบางอย่าง คุณก็จะได้รับธาตุเหล็กในอาหารวันละประมาณ 10 mg แต่เป็นเป็นโรคไวรัสชนิดนี้ ต้องลดลง 6 – 7 mg คือให้เหลือแค่ไม่เกิน 3 mg

ต่อมาทำความรู้จักกับธาตุเหล็กในอาหารกันก่อน

ชนิดของธาตุเหล็กในอาหาร

ธาตุเหล็กในอาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฮีมไอรอน (heme iron) และ นอนฮีมไอรอน (non - heme iron)

non - heme คือาตุเหล็กในสัตว์ ส่วน non – heme iron คือ ธาตเหล็กในพืช และสาหร่ายต่าง ๆ

ชนิด Heme iron จัดเป็นธาตุเหล็กที่ร่างกายต้องการดูดซึมได้ง่ายกว่า non – heme iron กล่าวได้ว่าระบบย่อยและดูดซึมสามารถดูดซึม Heme iron ได้เกือบ 25 % ส่วน non – heme iron แค่ประมาณ 5% เท่านั้น

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

โดยทั่วโลกแล้ว ถ้าให้นึกถึงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ก็ต้องยกให้เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับ จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายอย่างที่มีธาตุเหล็กมาก ทั้งธัญพืช ผักต่าง ๆ หรือแม้แต่เครื่องดื่มโกโก้

ชนิดของอาหารที่มีธาตุเหล็ก

 

ธัญพืชต่าง ๆ

 

ข้าวสาลีมีมากกว่าข้าวเจ้า ธัญพืชชนิดปรุงสำเร็จ พร้อมชงดื่ม ข้าวกล้อง อาหารจำพวกเส้นต่าง ๆ จมูกข้าวสาลี งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์

ผัก

สีใบยิ่งเข้มยิ่งมีธาตุเหล็กมาก สียิ่งอ่อนยิ่งมีธาตุเหล็กน้อย ผักใบสีเข้ม ได้แก่ ผักชีฝรั่ง ปวยเล้ง คะน้า กวางตุ้งไตหวัน บร็อกโคลี โดยเฉพาะผักชีฝรั่งให้มากกว่าปวยเล้งถึง 3 เท่า

เห็ดและสาหร่าย ต่าง ๆ

เห็ดหูหนู เห็ดหอมแห้ง เห็ดเข็มทอง สาหร่ายแผ่น

ล้วนมีแต่ธาตุเหล็กมาก

เนื้อต่างๆ

เนื้อสัตว์สี่ยิ่งแดง (ตามธรรมชาติ) ก็ยิ่งแสดงว่ามีธาตุเหล็กมาก ตับสัตว์จึงนับว่ามีธาตุเหล็กมากกว่าส่วนเนื้อต่อน้ำหนักที่เท่ากัน ตับหมูมีมาก ตามมาคือตับไก่ ส่วยตับวัวน้อยกว่าตับไก่ แต่สำหรับเนื้อหมูและเนื้อไก่ มีธาตุเหล็กค่อนข้างน้อย

สัตว์จำพวกปลา

เนื้อปลายิ่งมีสีแดงก็ยิ่งมีธาตุเหล็กมากเช่นกัน เช่น ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาซาบะ ไข่ปลา และเครื่องในปลา ลูกปลาชนิดที่กินทั้งตัว สัตว์ทะเลต่าง ๆ ที่สามารถกินได้ทั้งตัว ทำให้กินเครื่องในเข้าไปด้วยก็ถือว่าเป็นปริมาณธาตุเหล็กสูง เช่น หอยต่าง ๆ เพราะต้องกินทั้งตัว รวมถึงเครื่องในของมัน เช่น หอยลาย หอยนางรม

ไข่ไก่

ไข่ ถือว่าให้โปรตีนสูง ราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ ไข่แดงมีธาตุเหล็ก แต่ไข่ขาวแทบไม่มีเลย

เครื่องดื่ม และขนม

โกโก้จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีแร่ธาตุเหล็กมาก น้ำตาลทรายแดง ผงแกงขมิ้น ลูกพรุน ขนมต่าง ๆ ที่ใช่ใส่ไส้ถั่งแดง

ถั่วต่าง ๆ

ถั่วต่าง ๆ ล้วนแต่มีธาตุเหล็กมาก ยิ่งถ้าได้รับการปรุงแต่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆก็ยิ่งมีแนวโน้มยิ่งขึ้น

 จะเห็นว่าอาหารเหล่านี้ เป็นอาการที่หากินได้ทั่วไป นอกจากมีธาตุเหล็กแล้วยังมีวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายต่าง ๆ อีกมาก ดังนั้นถ้าไม่กินของเหล่านี้เลย ก็จะกลับจะทำให้ขาดสารอาหารต่าง ๆ ตามมา จึงต้องมีแนวทางจำกัดธาตุเหล็กในอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอื่น ๆ ด้วย

แนวทางจำกัดธาตุเหล็กในอาหาร และโภชนาการการบำบัดสำหรับไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง

มีจุดประสงค์เพื่อจำกัดธาตุเหล็ก แต่ได้รับสารอาหารอื่น ๆ รวมทั้งโปรตีน และพลังงานในปริมาณพอเหมาะในแต่ละวัน ดังนี้

ธาตุเหล็ก  6.0 mg

ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับ 30 kcal+1 นำหนักปริมาณ+2 (kg)

ปริมาณโปรตีน 1.1 – 1.2g x น้ำหนักตัวมาตรฐาน+2 (kg)

ปริมาณไขมัน 20% ของพลังงานควรที่จะได้รับหรือต้องระวังอย่าให้ได้รับมากเกินไป

*1 : 30 kcal ตัวเลขนี้คือพลังงานที่จำเป็นต้องได้รับ / น้ำหนักตัว 1 kg (อาจมากน้อยต่างกันไปบ้างแล้วแต่กิจกรรมในแต่ละวัน)

*2 : น้ำหนักมาตรฐาน (kg) = ส่วนสูง (m) x ส่วนสูง (m) x 22

ตัวอย่าง : เพศชาย สูง 170 cm = (1.7 x 1.7 x 22) x 30 kacl = 1907 คือตกประมาณ 1,900 kcal

เลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง แต่ไม่ใช่งดทั้งหมด เพราะแม้ต้องเลี่ยงแต่ก็ไม่ได้หมายความหมายว่า ห้ามกินเด็ดขาด เพียงแต่ต้องกินในปริมาณน้อยลงต่อมื้อ กินอาหารต่าง ๆ ร่วมกัน โดยแต่ละอย่างรวมแล้วได้รับธาตุเหล็กน้อย แบบนี้จะช่วยให้ยังได้รับสารอาหารตัวอื่นได้

ผักต่าง ๆจัดได้ว่ามีธาตุเหล็กที่ร่างกายดูดซึมได้ยาก ดังนั้นควรกินผักหลายอย่างในคราวเดียวกัน ก็จะช่วยให้ได้รับวิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ แถมยังอิ่มท้องได้ ถ้าจำกัดธาตุเหล็กให้อยู่ในวันละ 6 mg ไม่ได้ ก็ควรกินปริมาณ 2 – 3 วัน ให้ได้เฉลี่ยไม่เกินวันละ 6 mg ก็ยังดี

ว่าแต่ทราบไหมว่า 6 mg คือแค่ไหน คำตอบคือ 1 g มี 1,000 mg นึกง่าย ๆ ว่าเอาเนื้อสัตว์น้ำหนัก 1 g มาหั่นเป็น 1,000 ชิ้น ทุกชิ้นมีขนาดเท่ากันหมด 6 mg ก็คือ 6 ชิ้น

เลี่ยงกินอาหารที่มาตุเหล็กจากพืช และสัตว์ทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน เพราะแม้ non - heme iron จะถูกดูดซึมได้ยากกว่า แต่ถ้ากินร่วมกับอาหารที่มี heme iron ก็จะช่วยให้การดูดซึมดีขึ้น ตัวอย่างอาหารที่เห็นได้ง่ายคือ ตับหมูผัดกุยช่าย อาหารแบบนี้จึงไม่เหมาะกับคนเป็นโรคนี้ แต่เหมาะกับคนเป็นโลหิตจางมากกว่า

หอยต่างๆ และควรเลี่ยงปลาเนื้อแดง รวมทั้งส่วนที่เป็นไขมัน ควรกินเป็นปลาเนื้อขาวแทน เช่น ปลาหมึก กุ้ง เพราะมีโปรตีน แต่ธาตุเหล็ก

อย่ากินจุเกินเหตุ

เพราะผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคแทรกช้อนอย่างเช่น เบาหวานและไขมันในตับสูงได้ง่ายขึ้น จึงต้องระวังไม่กินมากเกินไปจนมีพลังงานเหลือ ต้องเป็นอาหารที่มีพลังงานพอเหมาะและมีสารอาหารต่างๆ ในสัดส่วนสมดุล

เรื่องของโปรตีน

โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้เซลล์ตับเสียหาย จึงต้องช่วยตับฟื้นฟูเซลล์ตับขึ้นมาใหม่ โดยต้องกินโปรตีนให้มากพอที่จะใช้ในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ดังนั้นต้องบริโภคโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ไก่ นม และผลิตภัณฑ์นม

นมและผลิตภัณฑ์จากนมรวมทั้งโยเกิร์ต จัดว่ามีธาตุเหล็กน้อย แต่เป็นแหล่งให้แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก แต่ปัญหาเรื่องไขมันนม ควรใช้เป็นชนิดพร่องมันเนย และไม่ดื่มบ่อยถึงขนาดดื่มแทนน้ำเปล่าทุกครั้ง ควรดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว

ส่วนไข่ ควรใช่วิธีกินครึ่งใบหรือกินเฉพาะไข่ขาว เลี่ยงเนื้อวัวและตับสัตว์ ควรกินเป็นเนื้อไก่ เพราะมีธาตุเหล็กน้อยกว่า

เลี่ยงการบริโภคโปรตีนร่วมกับผลไม้รสเปรี้ยว

เพราะผลไม้รสเปรี้ยวมีวิตามินชี ช่วยให้ร่ายกายดูดซึมธาตุเหล็กชนิดจากพืชและสัตว์ได้ง่ายขึ้น

สำหรับผลไม้พวกนี้ ควรกินต่างหากเป็นของว่างหลังจากกินข้าวไปแล้ว 2-3 ช.ม. ก็จะช่วยให้ได้รับวิตามินชีและสารอาหารอื่นๆ เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

รายการ g

ปริมาณวิตามินซี mg

บร็อกโคลี 80

128

กะหล่ำปลี 100

44

พริกหยวก 40

32

สตรอว์เบอร์รี 100

80

เลี่ยงบริโภคแอปเปิลร่วมกับเนื้อสัตว์ เพราะแอปเปิลมีกรด malic acid ซึ่งก็จะช่วยทำให้ร่างกายดุดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้นเช่นกัน

ข้าวสวยมีธาตุเหล็กน้อยกว่าขนมปังหรืออื่นๆ ที่ทำจากข้าวสาลี ดั้งนั้นควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก และเปลี่ยนเป็นขนมปัง อาหารเส้นเป็นบางครั้ง ถ้าเป็นข้าวสารขาวก็จะมีธาตุเหล็กน้อยกว่าข้าวกล้อง

เลี่ยงของทอด รสจัด ผักดอง ของเข็มต่างๆ ถ้าจะกินควรเป็นแค่ครั้งเดียวต่อวันเท่านั้น และไม่กินทุกวัน

กินผักต่างๆ ร่วมกันให้มากพอ โดยเฉพาะผักสีอ่อนและผักสีเหลืองเพราะมีธาตุเหล็กน้อย แต่มีเกลือแร่และวิตามินต่างๆ รวมทั้งเส้นใยอาหารช่วยป้องกันท้องผูก ส่วยผักใบเขียวเข้ม  สาหร่าย เต้าหู้ ควรกินบ้างเป็นบางครั้งแต่ไม่ควรบ่อยจนเกินไป

ผลไม้และหัวเผือกหัวมัน นับว่ามีธาตุเหล็กน้อย แต่มีเกลือแร่ วิตามินและเส้นใยมากเช่นกัน

ควรดื่มชาเขียวขณะกินอาหารหรือหลังกินเสร็จใหม่ๆ เพราะสารแทนนินในชาเขียว กาแฟ และชาฝรั่ง มีคุณสมบัติช่วยขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก

ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพื่อรักษาสุขภาพตับ เพราะตอนนี้เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า แอลกอฮอล์เสี่ยงต่อการเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับเร็วขึ้นและยังทำให้วัคชินอินเตอร์ฟีรอนมีฤทธิ์ด้อยลง ดั้งนั้น ขณะใช้ยาฉีดตัวนี้ ต้องงดแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์ นับว่ามีธาตุเหล็กมากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น

งดบุหรี่

บุหรี่ นอกจากเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับด้วย

การปรับจำนวนพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน ควรปรับจากการปริมาณข้าวสวย อย่าใช่เมนูเดิมตลอด ควรเปลี่ยนวิธีปรุงไม่ให้ซ้ำกันทุกมื้อ และปรับแต่งอาหารให้ดูน่ากิน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกินได้เยอะขึ้น เพราะช่วงอักเสบนี้ จะมีอาการเบื่ออาหารมาก

เครื่องปรุงรส ควรเลี่ยงซีอิ๊ว  เพราะทำจากถั่งเหลือง และยังมีเกลือมากควรใช้รสชาติอื่นแทนรสเค็ม

เมื่อกินอาหารเสร็จแล้ว ควรเอนหลังนั่งสักพัก 10 – 30 นาที เพราะช่วงนี้ระบบทางเดินอาหารกำลังทำงานหนัก ทำให้เลือดที่ต้องหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วตัวนั้นไหลมาเลี้ยงอวัยวะเหล่านั้น เพื่อช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น

ทราบไหมว่า แค่เปลี่ยนท่านอนเป็นท่าลุกขึ้นยืน เลือดจะไหลไปยังตับลดลง 30 % ถ้าเปลี่ยนจากท่านอนเป็นการเดินหรือออกกำลัง  ก็มีผลทำให้เลือดบางส่วนต้องไปเลี้ยงให้ถึงปลายมือปลายเท้า แบบนี้จึงส่งผลให้เลือดไปยังตับลดลงจากเดิมถึง 50 % ย่อมส่งผลเสียต่อตับของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ด้วยเหตุนี้ถ้าเป็นไปได้ควรเอนหลังหรืออย่างน้อยก็นั่งนิ่ง ๆ สักตรู่

มีสุขนิสัยการกินที่ถูกต้องเช่น กิน 3 มื้อตรงเวลา ไม่ควรกินก่อนนอน เป็นต้น

นอกจากอาหารแล้ว ยังต้องระวังได้รับจากทางอื่นด้วย เช่น ภาชนะหรือเครื่องครัวที่ทำด้วยเหล็กก็สามารถละลายด้วยเหล็กเข้ามาปนกับอาหารได้บ้างไม่มากก็น้อย ทำให้ได้รับเพิ่มควรเลี่ยงเครื่องครัวไม่ว่าจะเป็นกะทะ หม้อ จานที่จากเหล็กหรือสเตนเลส แต่ควรใช้เป็นภาชนะอย่างอื่น เช่น แก้วทนไฟ กระเบื้อง หรือไม้แทนจะดีกว่า

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้องระวัง เพราะส่วนมากแล้วมีสำหรับคนเป็นโลหิตจาง ช่วยบำรุงโลหิตจาง จึงมีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กมากขึ้น วิธีที่แนะนำมานี้ใช้ได้กับผู้ป่วยเรื้อรังจนกระทั่งเริ่มเป็นตับแข็ง แต่ถ้าเป็นโรคตับแข็งแล้ว ก็ต้องใช้วิธีเฉพาะต่างไปจากนี้

แต่สำหรับหนุ่มสาวที่เป็นวัยรุ่น (อายุยังไม่ถึง 20 ปี) หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กมากพอ จึงนับว่าเป็นช่วงสำคัญกว่าคนกลุ่มอื่น ดังนั้นถ้าไม่ได้มีปัญหาเรื่องตับอักเสบชนิดซี หรือรักษาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกินอาหารชนิดจำกัดปริมาณธาตุเหล็ก

ข้อควรระวังเมื่อต้องกินข้าวนอกบ้าน

ที่แน่ ๆ ถ้ากินนอกบ้าน มีโอกาสได้รับธาตุเหล็กมากกว่า 3 mg เพราะลักษณะของอาหารที่ขายกันโดยทั่วไป สรุปได้ว่า มีน้ำมันหรือไขมันสูง รสเค็ม หรือเข้มข้น มีผักน้อย ถ้ากินนอกบ้าน จึงต้องมีข้อควรระวัง ดังนี้

เลี่ยงรายการอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาหารที่แนวโน้มว่ามีธาตุเหล็กสูง ให้ใช้ในการอ้างอิงจากตารางที่ให้ไว้ก่อน

เลี่ยงรสเค็ม หรือใช้น้ำมันมาก เลี่ยงรายกรที่มีโปรตีน และพลังงานสูงเน้นผักเป็นหลัก

เลือกอาหารที่มีคาร์ไฮเดรตเป็นอาหารหลัก เช่น ข้าวสวย ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ถ้าอาหารมีปริมาณมากก็ต้องเหลือทิ้งไว้ อย่ากินจนหมดด้วยความเสียดาย แม้แต่น้ำก๋วยเตี๋ยวอร่อย ๆ ก็ต้องเหลือทิ้งไว้ เพราะล้วนแต่ทำให้ได้รับพลังงานเกิน อีกทั้งน้ำก๋วยเตี๋ยวยังมีเกลือเป็นส่วนมาก

ถ้าต้องไปกินเลี้ยงต่าง ๆ ต้องตักกินแต่น้อย และไม่ตักเพิ่มอีก เอาเวลาส่วนใหญ่คุยใหญ่คุยกับคนข้าง ๆ ให้มากจะดีกว่า

ขนม ควรเลี่ยงขนมเค้ก เพราะมีเนย ครีม น้ำตาล แป้ง ล้วนแต่ให้พลังงานสูง ขนมที่ประกอบด้วยงา และโกโก้ก็ควรกินแต่น้อย

 บุคคลกลุ่มต่อไปนี้ ไม่ควรใช้วิธีจำกัดธาตุเหล็กในอาหาร

 บุคคลกลุ่มต่อไปนี้ ไม่ควรใช้วิธีจำกัดธาตุเหล็ก เนื่องจากจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก ส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ

  • ผู้ป่วยโรคตับแข็งในระยะลุกลาม มีค่า อัลบูมิน (albumen) น้อยกว่า 3.5 g/dL
  • หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหญิงตั้งระยะให้นมบุตร ควรได้ประมาณ 40 mg
  • หนุ่มสาววัยรุ่น (อายุยังไม่ถึง 20 ปี)
  • คนที่ไม่ได้ติเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • คนที่ป่วยด้วยโรคนี้ แต่ได้รับการรักษาจนเป็นปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Hepatitis: What to Eat for Better Management. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/chronic-hepatitis-nutrition-1759983)
Hepatitis C diet: Nutrition and foods to eat. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320727)
Nutrition Therapy for Liver Diseases Based on the Status of Nutritional Intake. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3504385/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)