กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ฟอกฟันขาว มีประโยชน์อย่างไร? แต่ละวิธีมีอะไรบ้าง?

ฟันเหลือง ฟันคล้ำ จนหมดความมั่นใจ แก้ไขได้ด้วยการฟอกสีฟัน หรือฟอกฟันขาว
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ฟอกฟันขาว มีประโยชน์อย่างไร? แต่ละวิธีมีอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การฟอกสีฟัน เป็นกระบวนการทำทันตกรรมเพื่อเปลี่ยนสีเนื้อฟันที่ขุ่นหมอง ให้กลับมาขาวสว่างอีกครั้ง โดยสาเหตุที่ทำให้สีฟันขุ่นเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การรับประทานอาาหารสีเข้ม การสูบบุหรี่ การกินยาบางชนิด การแปรงฟันไม่สะอาด
  • การฟอกสีฟันจะแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ฟอกกับทันตแพทย์ และฟอกด้วยตนเอง หรืออาจฟอกกับทันตแพทย์ในครั้งแรก แล้วนำน้ำยาไปฟอกสีฟันต่อเองที่บ้าน
  • การฟอกสีฟันสามารถส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันได้บ้าง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดได้ปกติ และหากน้ำยาฟอกไปโดนเหงือก ก็อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองได้
  • หลังจากฟอกสีฟันแล้ว ผู้เข้ารับบริการต้องดูแลสีฟันอย่างเหมาะสม เพื่อให้สีฟันคงทนความขาวสว่างไว้เช่นเดิม เช่น ไม่รับประทาน และดื่มเครื่องดื่ม อาหารที่มีสีเข้ม งดสูบบุหรี่
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฟอกสีฟัน

ปัญหาฟันเหลือง สีฟันขุ่นไม่ขาวใส เป็นอีกปัญหาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่หลายคนกำลังเผชิญ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ไม่กล้ายิ้มให้ใครเห็น เพราะกังวลเกี่ยวกับสีฟันที่ไม่สวยงาม 

เทคโนโลยีการฟอกสีฟัน จึงเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ผู้คนในปัจจุบันนิยมทำกัน เพื่อให้สีเนื้อฟันออกมาขาวสว่าง เสริมความมั่นใจให้กับบุคลิกภาพ และขจัดปัญหาสีฟันขุ่นหมองให้หมดไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฟอกสีฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,069 บาท ลดสูงสุด 66%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของการฟอกสีฟัน

การฟอกสีฟัน หรือฟอกฟันขาว (Teeth Whitening) คือ การเปลี่ยนสีฟันที่ขุ่นหมองให้กลับมาขาวสดใสโดยใช้ผลิตภัณฑ์ หรือสารต่างๆ สำหรับฟอกสีฟัน 

สำหรับสารฟอกสีฟันที่ส่วนมากนิยมใช้กัน คือ สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogenperoxide) ซึ่งเป็นสารที่จะเข้าไปทำปฏิกิริยา ทำให้เม็ดสีบนเนื้อฟันแตกตัวออก และทำให้ฟันดูขาวสว่างขึ้น โดยไม่ส่งผลต่อสารเคลือบฟันธรรมชาติ และโครงสร้างของฟัน

การฟอกสีฟันจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีฟันเหลือง หรือฟันสีคล้ำ ขุ่น ที่ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุมาจากคราบฟัน หรือเป็นสีฟันธรรมชาติ และยังเป็นวิธีที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน หรือไปทำที่คลินิกทันตกรรมก็ได้

ฟันเหลืองเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้ฟันเหลือง คล้ำ หรือขุ่นหมอง เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในตัวฟัน (Intrinsic) และปัจจัยภายนอกตัวฟัน (Extrinsic)

  • ปัจจัยภายในตัวฟัน เช่น ฟันตายทำให้ไม่มีเลือดและประสาทมาหล่อเลี้ยง ฟันจึงมีสีทึบ หรือมีการสะสมของสารมีสีขณะสร้างฟัน ทำให้ฟันมีสีขุ่นโดยธรรมชาติ การได้รับยาบางชนิดในช่วงวัยเด็ก การเป็นโรคที่ส่งผลต่อความผิดปกติของโครงสร้างฟัน
  • ปัจจัยภายนอกตัวฟัน เช่น ได้รับอุบัติเหตุที่ฟัน เช่น การกระแทก มีการสะสมของคราบ หรือสีบนฟัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ได้แก่
    • การทำความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ หลังการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น แปรงฟันไม่สะอาด ทำให้มีคราบอาหาร แบคทีเรีย และหินปูนสะสมบนเนื้อฟัน
    • การรับประทานอาหารที่มีสี เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ไวน์ ลูกอม
    • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
    • การรับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น กลุ่มยาเตตระไซคลิน (Tetracycline)
    • การมีอายุมากขึ้น ทำให้เกิดการสะสมของเม็ดสีในเนื้อฟัน

สาเหตุที่กล่าวมานี้ทำให้ฟันเหลือง ไม่สดใส แม้จะเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก แต่เราสามารถเปลี่ยนสีฟันให้กลับมาขาวสดใส และมีรอยยิ้มที่มั่นใจได้ด้วยการฟอกสีฟัน 

อย่างไรก็ตาม การฟอกสีฟันไม่มีผลต่อวัสดุอุดเดิม และครอบฟันเดิม ฉะนั้นเมื่อฟอกสีฟันแล้ว หากต้องการความสวยงามควรเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นให้มีสีเหมือนฟันที่ฟอกแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การฟอกสีฟันขาวมีกี่วิธี

การฟอกฟันขาวแบ่งได้เป็น 5 วิธี ได้แก่

1. การฟอกสีฟันที่คลินิกโดยทันตแพทย์ (In-office power bleaching)

เป็นวิธีฟอกสีฟันที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจน จะต้องทำที่คลินิกโดยทันตแพทย์เท่านั้น เนื่องจากต้องใช้น้ำยาฟอกสีฟันที่มีส่วนผสมของสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้นสูง ประมาณ 35% ซึ่งคลินิกทันตกรรมแต่ละแห่งอาจมีเครื่องมือ และเทคโนโลยีต่างกันไป เช่น

  • ฟอกสีฟันด้วยเทคโนโลยี Zoom เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานแสงสีฟ้าชนิดเข้มข้นมากระตุ้นการทำงานของน้ำยาฟอกฟันด้วย ทำให้สารในน้ำยาฟอกฟันแทรกซึมเข้าสู่ชั้นผิวฟัน และกำจัดคราบ หรือเม็ดสีบนเนื้อฟันได้ดีขึ้นโดยไม่ทำลายโครงสร้างของฟัน
  • การฟอกสีฟันแบบเลเซอร์ เทคโนโลยีที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ ซึ่งเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ และมีความร้อนต่ำมาก มากระตุ้นประสิทธิภาพของน้ำยาฟอกสีฟันให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ฟอกสีฟันด้วยเทคโนโลยี Cool Light เป็นการใช้แสง "แสงเย็น" ซึ่งเป็นแสง LED ไปกระตุ้นประสิทธิภาพของน้ำยาฟอกสีฟันให้สามารถแทรกซึมเข้าไปในผิวฟัน และทำปฏิกิริยาให้เม็ดสีบนเนื้อฟันเกิดการแตกตัวได้ดีขึ้น

2. การฟอกสีฟันด้วยตัวเองที่บ้าน (At-home bleaching)

เป็นการฟอกสีฟันที่บ้านซึ่งทำได้ด้วยตัวเอง โดยทั่วไปจะใช้สารฟอกสีฟันเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นต่ำ ประมาณ 10% ร่วมกับการใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ไซริงค์ หรือถาดครอบฟันที่พิมพ์โดยทันตแพทย์ 

อย่างไรก็ตาม การฟอกสีฟันด้วยตัวเองมักให้ผลลัพธ์ที่ไม่ยั่งยืน ทางที่ดีจึงควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนที่จะตัดสินใจฟอกสีฟันเอง

3. การฟอกสีฟันที่คลินิกร่วมกับทำด้วยตัวเอง (In-office assisted bleaching)

เป็นการฟอกสีฟันที่คลินิกร่วมกับทำด้วยตนเองใช้ในกรณีที่สีฟันเริ่มต้นเหลือง หรือเข้มมาก ทันตแพทย์จะเริ่มจากการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้นสูง เพื่อให้ฟันขาวขึ้นในระดับหนึ่งก่อน

หลังจากนั้น แพทย์จะให้อุปกรณ์ฟอกสีฟันให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปฟอกที่บ้าน โดยน้ำยาฟอกที่ได้รับมาจะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าสารที่ฟอกที่คลินิกในครั้งแรก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีฟอกนิยมใช้กัน คือ ใส่น้ำยาฟอกลงไปในรีเทนเนอร์ตัวพิมพ์ฟันของทางคลิกนิก แล้วใส่ครอบฟันทิ้งไว้ประมาณ 2-4 ชั่วโมงต่อวัน หรือฟอกทิ้งไว้ระหว่างนอนตอนกลางคืน

4. การฟอกสีฟันด้วยผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันสำเร็จรูปทั่วไป (Over-the-counter bleaching)

เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันสำเร็จรูปซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไป ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นต่ำเป็นส่วนประกอบ เช่น เจลฟอกสีฟัน ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปากสำหรับฟันขาว ซึ่งสามารถหาซื้อมาใช้เองได้โดยไม่ต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อน

5. การฟอกสีฟันเฉพาะซี่ (Walking bleaching)

เป็นการฟอกสีฟันเฉพาะซี่ซึ่งใช้ในกรณีที่ฟันตาย ทันตแพทย์จะใส่สารฟอกสีฟันเข้าไปในตัวฟันซี่นั้นๆ และปิดช่องทางเข้า สารฟอกสีฟันจะช่วยให้ฟันซี่ดังกล่าวค่อยๆ ขาวขึ้นเรื่อยๆ หากฟันยังมีสีคล้ำอยู่ก็สามารถเติมสารฟอกสีฟันเข้าไปเพิ่มได้

การเลือกวิธีฟอกสีฟันนั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สุขภาพฟัน สีของเนื้อฟัน และทุนทรัพย์ เป็นต้น สำหรับผู้ที่อยากมีฟันขาวใสสุขภาพดีก็ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง ควรศึกษาข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีก่อนทำ เพื่อที่จะได้ฟอกสีฟันอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม: เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียการฟอกฟันแต่ละประเภทอย่างละเอียด แบบไหนเหมาะกับเราที่สุด
อ่านเพิ่มเติม: ราคาการฟอกสีฟันแต่ละแบบ ผลข้างเคียง แบบไหนขาวที่สุด

การทำวีเนียร์ อีกทางเลือกทำให้ฟันขาว นอกจากการฟอกสีฟัน

นอกจากการฟอกสีฟันที่เป็นการลงน้ำยากับคลื่นแสงพิเศษเพื่อเข้าไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสีเนื้อฟัน ก็ยังมีอีกเทคนิคที่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงสีฟันของคุณให้ขาวสว่างขึ้นได้ นั่นก็คือ การทำวีเนียร์ 

การทำวีเนียร์ (Veneer) คือ การเคลือบผิวหน้าฟันด้วยการแปะวัสดุที่มีสีคล้ายกับสีของฟัน แต่มีความขาวสว่าง และมีรูปร่างสวยงามกว่าลงไปที่หน้าฟัน โดยวัสดุที่นิยมใช้กันจะเป็นเรซินคอมโพสิต วัสดุพอร์ซเลน หรือวัสดุเซรามิก

การทำวีเนียร์มีจุดเด่นที่การฟอกสีฟันทำไม่ได้อยู่ นั่นก็คือ ช่วยขจัดปัญหาลักษณะรูปฟันที่ไม่สวยด้วย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสีฟัน เพราะการทำวีเนียร์เป็นการแปะวัสดุรูปร่าง และสีเหมือนฟันลงไปที่หน้าฟันเลย จึงช่วยบดบังตัวฟันแท้ที่อยู่ด้านหลังซึ่งอาจมีทั้งรูปร่าง และสีไม่สวยงาม

ผู้ที่เหมาะสำหรับการทำวีเนียร์จึงไม่ใช่แค่ผู้ที่มีสีฟันหมองคล้ำเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่มีฟันบิ่น หัก แตก ลักษณะฟันกว้าง และยาวไม่เท่ากัน ฟันแต่ละซี่มีการเรียงตัวห่างกันจนเกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันอย่างเห็นได้ชัด

อ่านเพิ่มเติม: การทำวีเนียร์คืออะไร ดีกว่า หรือด้อยกว่าฟอกสีฟันอย่างไรบ้าง

ผลข้างเคียงจากการฟอกสีฟัน

  • มีอาการเสียวฟัน เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงแรก และมีอาการอยู่ประมาณ 1–3 วัน จึงค่อยๆ หายไป
    อาการเสียวฟัน เป็นอาการที่เกิดจากน้ำยาฟอกสีฟันไปทำให้เม็ดสีของฟันแตกตัวออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ทำให้เนื้อฟันถูกดึงน้ำออกไปด้วย และไปกระตุ้นปลายประสาทในเนื้อฟันที่ไวต่ออุณหภูมิทำให้รู้สึกเสียวฟัน 
  • เหงือกเป็นแผล หากน้ำยาฟอกสีฟันสัมผัสบริเวณเหงือกอาจทำให้เกิดแผลได้

ฟอกสีฟันด้วยตนเอง หรือฟอกกับทันตแพทย์ดีกว่ากัน?

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วตนเองควรฟอกสีฟันกับทันตแพทย์ หรือฟอกด้วยตนเองก็ได้ คำตอบ คือ การฟอกสีฟันทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • การฟอกสีฟันด้วยตนเอง ไม่ต้องไปพบทันตแพทย์ ราคาค่าอุปกรณ์จะถูกกว่ามาก หาซื้อได้ง่าย และสะดวกสบายกว่า สามารถจัดเวลาฟอกสีฟันได้เอง แต่มีข้อเสีย คือ น้ำยาฟอกสีฟันมักไม่เข้มข้น ทำให้ฟันอาจมีสีไม่ขาวสว่างขึ้นนัก เห็นผลช้า และมักขาวสว่างได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ

    นอกจากนี้ในระหว่างฟอกสีฟัน หากสุขภาพฟันมีความผิดปกติ คุณก็ไม่อาจรู้ด้วย เพราะไม่ได้ตรวจฟันก่อนฟอกสีฟัน

  • การฟอกสีฟันกับทันตแพทย์ จะได้รับการตรวจสุขภาพฟัน และขูดหินปูนก่อน แต่ค่าอุปกรณ์ และค่าฟอกสีฟันจะแพงกว่า และอาจต้องกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจสีฟันอีกครั้งหลังฟอกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ แต่สีฟันที่ฟอกมาจะมีโอกาสสว่าง และคงทนกว่าอุปกรณ์ฟอกสีฟันด้วยตนเอง

การดูแลหลังการฟอกสีฟัน

  • ทำความสะอาดช่องปากตามปกติด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนปากเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • อาจใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อป้องกันอาการเสียวฟันด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดสีและคราบบนฟัน เช่น ชา กาแฟ ไวน์ ซอส ลูกอม หากจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มดังกล่าวควรใช้หลอดดูดแทนการดื่มจากแก้ว
  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว และอาหารที่ร้อน หรือเย็นเกินไป
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังการฟอกสีฟัน
  • หากมีอาการเสียวฟันมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

เลือกคลินิกฟอกสีฟันอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นการจัดฟัน ขูดหินปูน หรือฟอกสีฟัน ผู้ใช้บริการจะต้องเลือกคลินิกทันตกรรมที่ได้รับมาตรฐานเพื่อความปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยมีวิธีคัดกรองง่ายๆ ดังนี้

  • คลินิกจะต้องมีใบอนุญาตถูกต้อง คลินิกที่มีมาตรฐานน่าเชื่อถือ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข หรือสาธารณสุขจังหวัด จึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ
  • ทันตแพทย์มีความเชี่ยวชาญ การฟอกสีฟันต้องใช้เครื่องมือ และน้ำยาเคมีเฉพาะ ซึ่งหากทำโดยไม่ระวังอาจส่งผลข้างเคียงต่อผู้ใช้บริการได้ ดังนั้นทันตแพทย์ที่ดำเนินการต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการฟอกสีฟันด้วยเช่นกัน

วิธีป้องกันการเกิดคราบฟัน

การฟอกสีฟันไม่ได้ทำให้ฟันขาวถาวร แต่ฟันที่ผ่านการฟอกจะมีสีคล้ำขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะเมื่อเกิดคราบสะสมบนฟัน ดังนั้นเราควรมีวิธีป้องกันการเกิดคราบฟันเพื่อให้ฟันขาวสดใสอยู่กับเรายาวนานได้ดังนี้

  • ทำความสะอาดฟัน และช่องปากให้ดีอยู่เสมอ โดยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ เพื่อลดการสะสมของคราบหินปูน และแบคทีเรียบนเนื้อฟัน
  • ลดการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดคราบบนฟัน เช่น ชา กาแฟ ลูกอม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม การฟอกสีฟันไม่ใช่กระบวนการตามธรรมชาติจึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ดังที่กล่าวมา จึงควรศึกษาก่อนตัดสินใจฟอกสีฟันเพื่อให้มั่นใจว่า จะมีสีฟันที่ขาวดั่งต้องการ ปลอดภัยต่อฟัน และช่องปากจริงๆ

คำถามที่พบบ่อย

1. หากฟันผุจำเป็นต้องอุดฟันก่อนหรือไม่?

คำตอบ: ต้องดูตำแหน่งที่ฟันผุก่อน หากตำแหน่งที่ผุอยู่ด้านในของฟันสามารถฟอกสีฟันได้ แล้วแนะนำให้มาอุดฟันหลังฟอกสีฟันเสร็จเพื่อที่จะได้เลือกสีวัสดุให้เหมาะกับสีฟันที่ขาวขึ้นแล้ว

2. หากอยู่ระหว่างจัดฟันสามารถฟอกสีฟันได้หรือไม่?

คำตอบ: หากใส่ชุดเครื่องมือจัดฟันติดแน่นแบบลวดโลหะ ฟอกสีฟันไม่ได้ หากใส่เครื่องมือจัดฟันแบบใส สามารถฟอกสีฟันได้แต่ไม่แนะนำ วิธีที่ดีที่สุดแนะนำให้ฟอกสีฟันหลังถอดเครื่องมือจัดฟันทุกแบบออกเรียบร้อยเเล้ว

3. การฟอกสีฟันสามารถทำให้วัสดุอุดฟัน หรือต่อฟันขาวขึ้นหรือไม่?

คำตอบ: ฟอกสีฟันจะเปลี่ยนเฉพาะ “ฟันจริง” เท่านั้น ส่วนวัสดุอุดฟันต่างๆ รวมไปถึงการครอบฟัน หรือเคลือบฟันจะยังคงเป็นสีเดิม หากต้องการฟอกสีฟันก็สามารถทำได้ แต่เฉดสีที่ได้จะไม่เท่ากัน แนะนำให้เปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการบูรณะฟันนั้นๆ ให้มีสีใกล้เคียงกับฟันที่ผ่านการฟอกสี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฟอกสีฟัน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการฟอกสีฟัน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zawn Villines, Six natural ways to whiten teeth (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322421.php) 10 July 2018
nhs.uk, Teeth whitening - Healthy body (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/teeth-whitening/)
webmd.com, Teeth Whitening and Bleaching (https://www.webmd.com/oral-health/teeth-whitening-and-bleaching)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม

เตรียมความพร้อมดูแลฟันชุดแรกในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานดูแลฟันแท้ต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่ม
อาการของฟันผุ
อาการของฟันผุ

จะรู้ได้อย่างไรว่าฟันผุ อ่านเลย

อ่านเพิ่ม