โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ และส่งผลเสียที่รุนแรงได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจึงควรเตรียมพร้อม ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ การป้องกันของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้สามารถรับมือกับโรคร้ายได้ทันเวลา
ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ช่วยควบคุม และป้องกันไม่ให้โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้น หรือลุกลามจนเกิดผลเสียต่อแม่และทารกได้ คือการวางแผนเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้ระดับน้ำตาลซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวานอยู่ในระดับคงที่
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร?
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลีน (Insulin) ได้เพียงพอ ดังนั้นการควบคุมอาหารให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันผลที่ตามมาจากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่อันตรายถึงชีวิตทารกได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนเมนูอาหาร
- ความต้องการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ หรือต่ำกว่าปกติ
- ความไว และการตอนสนองต่อการรับประทานคาร์โบไฮเดรตจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณอาจรู้สึกไวต่อคาร์โบไฮเดรตในบางช่วงเวลาของวัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนต้องลดหรือหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตในช่วงเช้า
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องต่อสู้กับการเริ่มใช้อินซูลิน
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานอาจมีความต้องการอาหารที่มากขึ้นตามเวลา
และจากปัจจัยเหล่านี้เอง การทำเมนูอาหารให้ง่าย และรับประทานได้บ่อยครั้งอาจเป็นตัวเลือกที่ง่ายสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงเป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ เช่น ถ้าพบเมนูอาหารที่เหมาะกับการรับประทานเป็นอาหารเช้า ให้ยึดเมนูนั้นเป็นหลักในการรับประทาน และหากเจอเมนูอาหารที่ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ควรรับประทานอาหารเหล่านั้นซ้ำๆ วิธีนี้จะทำให้สามารถมองหาข้อมูลทางโภชนาการ และคำนวณได้หากมีการรับประทานอาหารที่ผิดไปจากปกติ
แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือจะเบื่อหน่ายต่อมื้ออาหารได้ง่าย เพราะต้องทานอาหารซ้ำๆ กันทุกวัน แนะนำให้ลองปรึกษานักโภชนาการอาหาร หรือแพทย์เกี่ยวกับอาหารที่สามารถทานได้ขณะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อความหลากหลายในวางแผนเมนูอาหาร
ข้อแนะนำเกี่ยวกับสูตรอาหาร สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และตั้งครรภ์อยู่ ให้ใช้การนับสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต และพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันโดยคำนวณอ้างอิงตามดัชนีมวลกาย ดังนี้
- BMI 20-25 kg/m2 ควรได้รับพลังงาน 30 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน
- BMI 25-34 kg/m2 ควรได้รับพลังงาน 25 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน
- BMI >34 kg/m2 ควรได้รับพลังงาน 20 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน
ให้มีสัดส่วนของอาหารแต่ละมื้อคือ คาร์โบไฮเดรต 40% ไขมัน 40% และ โปรตีน 20% และอาจมีของว่างที่พลังงานต่ำระหว่างมื้อ เช่น นมไขมันต่ำ แต่อย่ายึดติดกับการนับสัดส่วนนี้เกินไป ให้วางแผนเมนูอาหารที่เหมาะกับการเผาผลาญของร่างกายตนเอง และสถานการณ์ของโรคเบาหวานว่าอยู่ในระดับไหน
ในสูตรอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์ ควรอุ่นให้มีความร้อนระดับ 165 องศาเซลเซียส เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อลิสเตอเรีย (Listeria) ซึ่งต้องระมัดระวังในผู้หญิงตั้งครรภ์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เมนูอาหารเช้า
อาหารเช้าเป็นมื้อที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่ามื้ออื่น เพราะหลายคนมีปัญหาระดับน้ำตาลสูงในช่วงเช้า และการรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่ว่าในรูปแบบใดอาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างง่ายได้ การควบคุมอาหารเช้าที่ดีจะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลตลอดทั้งวันได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างเมนูอาหารต่อไปนี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อยากจะรับประทานมื้อเช้าในแบบไทยๆ และยังมีตัวอย่างเมนูอาหารแบบตะวันตกมาให้เลือกด้วย เพื่อความหลากหลายในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยในมื้อเช้าอาจรับประทานคาร์โบเดรตเพียงเล็กน้อย หรือบางครั้งอาจหลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตก่อนเวลา 11.00 น.
เมนูอาหารเช้าแบบไทย
- ข้าวสวย 2 ทัพพี แกงจืดผักกาดขาวหมูสับ
- โจ๊กปลา แอปเปิล 6-8 ชิ้น นมจืด 1 กล่อง
- ข้าวกล้อง 2 ทัพพี แกงจืดเต้าหู้
เมนูอาหารเช้าแบบตะวันตก
- ไข่ 2 ฟอง กับข้าวโพดและน้ำสลัด
- ไข่ 2 ฟอง (มักเป็นไข่ต้ม) และขนมปังปิ้ง 2 แผ่น
- ไข่เจียว 2 ฟองกับผัก
- เนื้อสัตว์ปรุงสุก 2 ส่วน ห่อด้วยผัก
เมนูอาหารกลางวัน
เมนูอาหารกลางวันแบบไทย
- ข้าวกล้อง 2 ทัพพี ปลาย่าง 1 ตัว แกงส้มผักรวม
- ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักรวมหมู ชมพู่ 2 ผล
- ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นใส่ผัก (ควรเลือกเส้นหมี่)
- ข้าวสวย 2 ทัพพี ผัดฟักทอง ปลากระพงนึ่งบ๊วย ส้มเขียวหวาน 1 ผล
เมนูอาหารกลางวันแบบตะวันตก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- สลัด ผักใบเขียว ผักต่างๆ ถั่ว ½ ถ้วยและน้ำสลัดพร้อมกันขนมปังปิ้งชิ้นเล็กๆ
- ใช้แผ่นแป้งทอร์ทิลลา (Tortilla) ห่อผักใบเขียว และเนื้อสัตว์ปรุงสุก 2 ส่วน แตงกวาดอง และมัสตาร์ด
- ใช้แป้งพิตา (Pita) ใส่โปรตีน ผักใบเขียว หัวหอม มะเขือเทศ อโวคาโด มายองเนย และเมล็ดทานตะวันไม่กระเทาะเปลือก ¼ ถ้วยลงบนแป้ง Pita
เมนูอาหารเย็น
เมนูอาหารเย็นแบบไทย
- ข้าวกล้อง 2 ทัพพี แกงส้มผักรวมกุ้ง ไก่กะเพรา ส้มโอ นมจืด 1 กล่อง
- ข้าวกล้อง 2 ทัพพี ผัดฟักทอง
- ข้าวสวย 2 ทัพพี ผัดกะเพราปลา นมจืด 1 กล่อง
- ข้าวกล่อง 2 ทัพพี ต้มยำปลาใส่เห็ดฟาง ผัดบล๊อคโคลี่ นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
เมนูอาหารเย็นแบบตะวันตก
- สลัดแร็พ (Wrap) หรือสลัดพิตา
- ผักชนิดที่ไม่ใช่แป้ง นำมาต้ม ย่าง หรือทอด ทานกับโปรตีน 2 ส่วนและข้าว 1 ถ้วยหรือแผ่นแป้งทอร์ทิลลา 2 แผ่น
อาหารว่าง
นอกจากอาหารมื้อหลักทั้ง 3 มื้อแล้ว คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ยังสามารถทานอาหารว่างระหว่างมื้อได้ แต่อาจต้องระวังเรื่องปริมาณ และสารอาหารที่ได้รับ โดยตัวอย่างของอาหารว่างที่สามารถประทานได้ ได้แก่
- แซนวิชไก่
- น้ำเต้าหู้ไม่ใส่น้ำตาล
- ขนมปังแครกเกอร์
- ขนมปังโฮลวีต
- ฝรั่ง
- แก้วมังกร
- แอปเปิล
- มะละกอ
- กล้วย
- ชมพู่
- ส้มเขียวหวาน
- ส้มโอ
- แก้วมังกร
- นมพร่องมันเนย
อาหารที่ไม่ควรทาน
หลักสำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกว่าอาหารชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออาหารที่มีปริมาณน้ำตาล และไขมันสูง เช่น
- ผลไม้ที่มีรสหวานจัดและน้ำตาลสูง เช่น เงาะ ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า ละมุด
- น้ำหวานทุกชนิด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้
- นมปรุงแต่งหรือน้ำนมแปรรูป เช่น นมเปรี้ยว นมรสหวาน โยเกิร์ต
- เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น เบคอน
- เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น หมูติดมัน หนังเป็ด หนังไก่
- อาหารที่ผลิตจากข้าวและแป้ง เช่น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ข้าวขาว
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
จะเห็นได้ว่าการจัดเมนูอาหารสำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่อนข้างยุ่งยาก และซับซ้อน อีกสิ่งสำคัญที่ต้องจำให้ขึ้นใจก็คือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ถึงแม้ว่าจะมีการจำกัดอาหารหลายประเภทสำหรับผู้หญิงที่เป็น หรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่การรับสารอาหารที่ครบถ้วนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้ โดยเฉพาะ "แคลเซียม" และ "กรดโฟลิก" ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องรับประทานให้เพียงพอ อย่าลืมทานปลา ผักใบเขียว และเครื่องในสัตว์บ้าง เพื่อให้สารอาหารที่จำเป็นของแม่และทารกได้รับอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด
ดูแลตนเองด้วยการวางแผนเมนูอาหารที่เหมาะสมตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ตัวคุณ และลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง