Antidiuretic hormone (ADH)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Antidiuretic hormone ทางเลือด เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของการขาด หรือมีฮอร์โมนชนิดดังกล่าวมากกว่าปกติ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Antidiuretic hormone (ADH)

การตรวจ Antidiuretic hormone (ADH) จากการเจาะเลือดไปตรวจ ทำเพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของภาวะขาดฮอร์โมน ADH หรือการมีฮอร์โมน ADH มากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์บางชนิด บุคคลทั่วไปที่ไม่มีอาการจำเพาะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจฮอร์โมนชนิดนี้

ชื่ออื่น: Vasopressin, AVP

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชื่อทางการ: Antidiuretic hormone, Arginine vasopressin

จุดประสงค์การตรวจ Antidiuretic hormone

การตรวจ Antidiuretic hormone (ADH) ทำเพื่อวินิจฉัย และหาสาเหตุของภาวะขาดฮอร์โมน ADH หรือการมีฮอร์โมน ADH มากกว่าปกติ ฮอร์โมนชนิดนี้เรียกอีกอย่างได้ว่า Arginine vasopressin (AVP) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส และถูกเก็บอยู่ในฐานของต่อมใต้สมองส่วนหลัง ซึ่งมี ADH ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย

แพทย์มักพบภาวะขาดฮอร์โมน ADH พร้อมกับโรคเบาจืด (Diabetes insipidus) ชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่

  • Central diabetes insipidus ภาวะที่ไฮโปทาลามัสผลิตฮอร์โมน ADH ลดลง หรือต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน ADH น้อยลง
  • Nephrogenic diabetes insipidus ภาวะที่ไตตอบสนองต่อฮอร์โมน ADH น้อยลง

นอกจากนี้แพทย์ยังพบฮอร์โมน ADH มากขึ้นในผู้ที่มีภาวะหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndromes of inappropriate ADH: SIADH) จึงต้องมีการตรวจ SIADH ที่ประกอบไปด้วย

  • การตรวจออสโมแลลิตีในเลือดและปัสสาวะ
  • การตรวจโซเดียม
  • การตรวจโพแทสเซียม
  • การตรวจคลอไรด์
  • การวัดฮอร์โมน ADH

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Antidiuretic hormone?

แพทย์จะตรวจ ADH เพียงอย่างเดียว ตรวจควบคู่ไปกับการตรวจอื่นๆ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจ Water deprivation หรือ Water loading procedure เมื่อสงสัยว่าร่างกายของผู้ป่วยผลิต และหลั่งฮอร์โมน ADH มากหรือน้อยเกินไป รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรคเบาจืด ซึ่งมีอาการกระหายน้ำมาก และปัสสาวะบ่อย

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจ ADH เมื่อผู้ป่วยมีโซเดียมในเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการที่สัมพันธ์กับภาวะหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม ได้แก่

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Antidiuretic hormone

แพทย์จะตรวจ Antidiuretic hormone จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Antidiuretic hormone

Antidiuretic hormone (ADH) หรือที่เรียกว่า Arginine vasopressin (AVP) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย โดยควบคุมปริมาณของน้ำที่ไตดูดกลับในขณะที่ไตกรองของเสียออกจากเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฮอร์โมน ADH จะถูกผลิตขึ้นจากสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส และจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง โดยปกติแล้วต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน ADH เพื่อตอบสนองต่ออวัยวะรับความรู้สึกที่ตรวจพบว่าออสโมแลลิตี (Osmolality) ในเลือดเพิ่มขึ้น หรือปริมาตรของเลือดลดลง ซึ่งไตจะตอบสนองต่อฮอร์โมน ADH โดยการรักษาน้ำ และผลิตปัสสาวะให้เข้มข้นมากขึ้น

มีภาวะทางการแพทย์ และยามากมาย ที่ส่งผลต่อปริมาณฮอร์โมน ADH หรือการตอบสนองของไต ซึ่งภาวะขาดฮอร์โมน ADH และการมีฮอร์โมน ADH มากกว่าปกติสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ในกรณีที่มีมีฮอร์โมน ADH น้อยเกินไป หรือไตไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมน ADH ไตจะขับน้ำปริมาณมากออกมา ทำให้ปัสสาวะเจือจางกว่าปกติ และทำให้เลือดมีความเข้มข้นสูง ส่งผลให้เกิดการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย และมีภาวะขาดน้ำ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดสูง

แต่ถ้าร่างกายมีฮอร์โมน ADH มากเกินไป จะมีน้ำคั่งในร่างกายจนทำให้ปริมาตรเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ งุนงง สับสน เฉื่อยชา โซเดียมในเลือดต่ำ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ภาวะหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndromes of inappropriate ADH: SIADH)

ความหมายของผลตรวจ Antidiuretic hormone

ผลตรวจฮอร์โมน ADH เพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำมาใช้วินิจฉัยภาวะขาดฮอร์โมน ADH ที่จำเพาะได้ แพทย์จึงต้องนำผลตรวจมาประเมินควบคู่กับประวัติเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย และผลตรวจอื่นๆ ด้วย

การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน ADH มักสัมพันธ์กับภาวะหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดจากมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งสมอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การมีฮอร์โมน ADH เพิ่มขึ้นระดับปานกลางมักพบได้ในผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ดังนี้

ส่วนผู้ที่มีระดับฮอร์โมน ADH ต่ำ อาจเกิดจากโรคเบาจืดชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง (Central diabetes insipidus) การดื่มน้ำมากกว่าปกติ และการมีออสโมแลลิตีในซีรั่มต่ำ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Antidiuretic hormone

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน ADH มากกว่าปกติ เช่น

  • ปัจจัยทางกายภาพ ประกอบไปด้วย การยืน ช่วงเวลากลางคืน ความรู้สึกปวด ความเครียด และการออกกำลังกาย
  • ยา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • ยาที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน ADH ได้แก่ Barbiturates Desipramine Morphine Nicotine Amitriptyline Carbamazepine
    • ยาที่กระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน ADH ได้แก่ Acetaminophen Metformin Tolbutamide Aspirin Theophylline ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ส่วนยาที่ทำให้ฮอร์โมน ADH ลดลง หรือทำให้เสื่อมฤทธิ์ ได้แก่ Ethanol Lithium และ Phenytoin


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Antidiuretic hormone (ADH) (https://labtestsonline.org/tests/antidiuretic-hormone-adh), 14 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป