ทำความรู้จักมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พร้อมสังเกตสภาวะของร่างกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 18 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ทำความรู้จักมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พร้อมสังเกตสภาวะของร่างกาย

หากพูดถึงโรคที่ใคร ๆ เมื่อได้ยินแล้วต่างก็ต้องหวาดผวาไปตาม ๆ กัน หนึ่งในนั้นคงจะหนีไม่พ้น “มะเร็ง” อย่างแน่นอน เพราะมะเร็งให้ภาพจำที่เลวร้ายซึ่งยากแก้การรักษา หรือต่อให้รักษาได้ เส้นทางในการรักษาที่จะต้องก้าวผ่านไปในแต่ละขั้นนั้นก็นับว่าโหดร้ายและทรมานไม่น้อยทีเดียว 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คืออะไร? 

ดังที่ทราบกันดีว่า มะเร็ง เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย แรกเริ่ม เราจะพบเซลล์ผิดปกติอยู่ในชั้นเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ อวัยวะที่กักเก็บปัสสาวะหลังเดินทางมาจากไต ซึ่งโดยมากแล้ว มักตรวจพบมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้แต่เนิ่น ๆ และสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทั้งนี้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะสามารถย้อนกลับมาทำร้ายคุณได้อีก ดังนั้น จำเป็นที่คุณจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายเสมอ ๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งหลายชนิดมักมีระยะที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

  • ขั้น 0 พบมะเร็งในชั้นเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ
  • ขั้น 1 มะเร็งแพร่ขยายไปที่ผนังกระเพาะปัสสาวะ
  • ขั้น 2 มะเร็งเข้าไปถึงกล้ามเนื้อผนังกระเพาะปัสสาวะ
  • ขั้น 3 มะเร็งแพร่กระจายไปถึงเนื้อเยื้อไขมันรอบ ๆ กระเพาะปัสสาวะ
  • ขั้น 4 มะเร็งไปสู่กระดูกเชิงกราน ผนังช่องท้อง ต่อมน้ำเหลือง หรือไกลถึงกระดูก ตับ และปอด

อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอาจเกิดได้หลายอย่างควบคู่กัน ลองอ่านอาการดังต่อไปนี้เพื่อสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาปัสสาวะหรือไม่

  • เลือดในปัสสาวะ: เลือดในปัสสาวะบ่งบอกความเป็นไปได้ที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ คุณอาจสังเกตด้วยตาหรือหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำก็ได้ อย่างไรก็ดี ในบางครั้ง เลือดในปัสสาวะอาจไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็งเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมไปถึงการออกกำลังกาย ความเจ็บป่วยอื่น ๆ การติดเชื้อ ความผิดปกติที่ไต หรือยา เป็นต้น
  • กระเพาะปัสสาวะเปลี่ยนแปลง: อาการที่พบนั้นมีหลากหลาย บางทีก็รู้สึกต้องการปัสสาวะ แต่ไม่ออก บ้างก็ปัสสาวะมากกว่าปกติ บ้างก็รู้สึกเจ็บขณะปัสสาวะ หรือบ้างก็ปัสสาวะลำบาก ซึ่งบางครั้ง อาการเหล่านี้อาจไม่ได้หมายถึงมะเร็งเท่านั้น อาจเป็นอาการของการติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะ หรือนิ่วในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • สูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมากกว่าคนไม่สูบถึง 4 เท่า เนื่องจากสารเคมีจากปอดสามารถส่งผ่านทางเส้นเลือด จากนั้นจึงกรองผ่านไตสู่ปัสสาวะ
  • สารเคมี อาชีพบางอาชีพ เช่น ช่างเหล็ก ช่างเครื่องยนต์ ช่างทำผม ต่างมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าผู้อื่นหลายเท่าตัว การย้อมสี การผลิตยาง การทำสิ่งทอ การผลิตหนัง หรือการทาสี ขอให้มั่นใจว่า คุณใส่เสื้อผ้าป้องกันการสัมผัสสารเคมีอันตรายเหล่านั้นโดยตรง
  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เพศชาย ผู้ที่มีวัยมากกว่า 55 ปี และคนผิวขาว รวมไปจนถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์เกี่ยวกับมะเร็ง ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจนำคุณไปสู่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์และอาการของผู้ป่วย

  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นเมื่อพบมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในขั้นแรกเริ่ม แต่หากมันรุกรานกระเพาะปัสสาวะมากเกินไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก สำหรับผู้ชายแล้ว ต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะอาจถูกตัดไปด้วย และสำหรับผู้หญิง มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และบางส่วนของช่องคลอดอาจถูกตัดออกไป

    หากกระเพาะปัสสาวะทั้งหมดของคุณถูกตัดออกไป แพทย์จะแนะนำคุณถึงที่ที่ไว้จัดเก็บและส่งผ่านปัสสาวะ ลำไส้ส่วนหนึ่งของคุณอาจได้รับการรังสรรค์นำมาเป็นท่อเพื่อให้ปัสสาวะไหลผ่านไปสู่ถุงหน้าท้อง ในบางกรณี อาจใช้สายหรือท่อสวนเข้าไป 

  • การฉายรังสี การฉายรังสี เป็นการใช้แสงที่มีพลังงานสูงและมองไม่เห็นได้ด้วยตา ซึ่งใช้เพื่อฆ่าเจ้าเซลล์มะเร็งหรือย่อขนาดให้เขามีขนาดเล็กลง โดยมากแล้วมักมาจากภายนอกร่างกาย ส่วนมากแล้วมักทำควบคู่ไปกับการรักษาชนิดอื่น เช่น การให้คีโม หรือการผ่าตัด สำหรับคนที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ การรักษาด้วยการฉายรังสีอาจเป็นวิธีหลัก และผลข้างเคียงอาจมีทั้งอาเจียน เหนื่อยล้า ผิวระคายเคือง ท้องเสีย และเจ็บปวดขณะปัสสาวะ

  • เคมีบำบัด แพทย์อาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย หรือที่เรียกว่า ยาคีโม ยานี้อาจให้ก่อนการผ่าตัดเพื่อไปลดขนาดหรือทำลายเซลล์มะเร็ง เพื่อให้สามารถกำจัดมันออกไปได้ง่ายขึ้น หรืออาจจะใช้ยาดังกล่าวหลังการผ่าตัดเพื่อจัดการกับโอกาสของการเกิดมะเร็งที่อาจตามมาได้อีก ซึ่งผลข้างเคียงนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผมร่วงเอย อาเจียนเอย ความไม่อยากอาหารเอย ความเหนื่อยล้าเอย ต่างก็เป็นผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  • การฉายรังสี การฉายรังสี เป็นการใช้แสงที่มีพลังงานสูงและมองไม่เห็นได้ด้วยตา ซึ่งใช้เพื่อฆ่าเจ้าเซลล์มะเร็งหรือย่อขนาดให้เขามีขนาดเล็กลง โดยมากแล้วมักมาจากภายนอกร่างกาย ส่วนมากแล้วมักทำควบคู่ไปกับการรักษาชนิดอื่น เช่น การให้คีโม หรือการผ่าตัด สำหรับคนที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ การรักษาด้วยการฉายรังสีอาจเป็นวิธีหลัก และผลข้างเคียงอาจมีทั้งอาเจียน เหนื่อยล้า ผิวระคายเคือง ท้องเสีย และเจ็บปวดขณะปัสสาวะ

  • แพทย์ทางเลือก ปัจจุบัน ไม่มีการยืนยันว่าแพทย์แผนทางเลือกสามารถรักษามะเร็งกระพาะปัสสาวะได้ หากแต่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยต่อไป หลายงานวิจัยกำลังศึกษาถึงใบชาเขียวหรือบร็อคโคลี่อ่อน ว่าอาจช่วยรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้

  • การสร้างภูมิคุ้มกัน การสร้างภูมิคุ้มกันมีไว้เพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง การรักษาหนึ่งที่เรียกกันว่า วัคซีน BCG เป็นการรักษาที่ใช้วิธีส่งเชื้อแบคทีเรียผ่านท่อโดยตรงไปยังกระเพาะปัสสาวะ หรือการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า ภูมิคุ้มกันบำบัดโรคมะเร็ง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแกร่งมากพอที่จะเอาชนะเซลล์มะเร็ง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ขั้นแรกสุด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณตรวจปัสสาวะเสียก่อน หรือหากจะให้ละเอียดกว่านั้น แพทย์จะใช้วิธีส่องกล้องเพื่อตรวจกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งในขณะเดียวกัน กล้องดังกล่าวสามารถกำจัดชิ้นเนื้อออกไปได้ด้วย และการตัดชิ้นเนื้อนั้น ทำให้เราสามารถวินิจฉัยมะเร็งได้ต่อไป

การตรวจด้วยภาพ หากตรวจพบมะเร็ง การดูจากภาพก็สามารถตรวจพบได้ว่า มีก้อนเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ ซึ่งการตรวจด้วยภาพ สามารถทำได้ด้วยการทำรังสีวินิจฉัยจากการย้อมสีหรือฉีดสีเข้าไปที่ไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อไต หรือจะใช้วิธี CT หรือ MRI ซึ่งจะแสดงต่อมน้ำเหลืองประกอบไปด้วย รวมถึงอาจใช้วิธีอัลตราซาวด์ด้วยคลื่นแทนการใช้รังสี

ข้อควรระวังอื่นๆ

  1. การมีเพศสัมพันธ์: การผ่าตัดอาจทำลายเส้นประสาทบางส่วน ทำให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปได้ยากขึ้น ในผู้ชายบางคนอาจมีสมรรถภาพทางเพศที่หย่อนลง แม้ว่ายังเด็กก็ตาม เมื่อต่อมลูกหมากและถุงอสุจิถูกกำจัดออกไป อสุจิก็มิสามารถผลิตออกมาได้อีก ส่วนผู้หญิงนั้นอาจมีปัญหากับจุดสุดยอดในความรู้สึกทางเพศ และอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวนักยามมีเพศสัมพันธ์
  2. การมีชีวิตอยู่กับมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ: แม้จะไม่สามารถมั่นใจว่าจะหายขาดจากโรคได้ แต่คุณก็สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ด้วยการรับประทานผลไม้ ผัก และธัญพืชมาก ๆ และลดปริมาณเนื้อลง และหากคุณสูบบุหรี่ ก็ให้เลิกเสียเถอะ รวมไปถึงควรจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ต่อวัน อีกทั้งควรหมั่นออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ และจัดระเบียบจิตใจให้เบิกบานเสมอ ๆ

ขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” แล้ว เมื่อได้ยินก็คงเป็นที่น่าตกอกตกใจไม่น้อย แต่ปัจจุบันนี้ กล่าวได้เลยว่า มีทางออกมากมายสำหรับโรคดังกล่าว เขาว่ากันว่า มะเร็งมิใช่เชื้อไวรัส มิใช่เชื้อโรค การจะต่อสู้กับเขานั้นสำคัญอยู่ที่ “จิตใจ” ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยแพทย์ทั้งแผนปัจจุบันและแผนทางเลือก เมื่อใดก็ตามที่จิตใจเราโล่งโปร่งสบาย ปล่อยวางจากความเครียดทั้งปวง เจ้าวายร้ายก็ยากที่จะเจริญเติบโตได้ ขอเพียงแค่มีจิตใจที่เข้มแข็ง...จะต่อสู้ด้วยวิธีไหน ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้อย่างแน่นอน


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป