7 ธาตุอาหารสำคัญ สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ผิดปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 ธาตุอาหารสำคัญ สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ผิดปกติ

โรคไทรอยด์คืออะไร?

โรคไทรอยด์ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย กับ ไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งวิธีรักษาก็ต้องใช้ยาในการรักษาติดต่อเป็นเวลานาน เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด แต่หากต้องการให้การรักษาเป็นไปด้วยดี การเลือกรับประทานอาหารก็มีส่วนสำคัญ ที่จะทำให้อาการดีขึ้นได้ 

สารอาหาร 7 ชนิดที่ผู้เป็นโรคไทรอยด์ควรกิน

ไอโอดีน

ไอโอดีนจะเป็นสารอาหารสำคัญในการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพราะจะช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้เป็นปกติ โดยอาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเลพวก ปลา หอยกาบ หอยนางรม กุ้ง สาหร่ายทะเล กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ ผักโขม เมล็ดงาและเห็ด เป็นต้น

ซีลีเนียม

ซีลีเนียม คือ สารอาหารที่ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยสารชนิดนี้จะเข้าไปป้องกันต่อมไทรอยด์ที่เกิดจากความเครียด อีกทั้งยังช่วยสร้างโปรตีนที่ใช้ควบคุมการสังเคราะห์ของฮอร์โมนในร่างกาย ควบคุมการเผาผลาญ คอยรักษาระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายให้ดีอีกด้วย สำหรับอาหารที่มีซีลีเนียมได้แก่ ปลาทูน่า เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน เห็ด เครื่องในสัตว์ และถั่วเหลือง

สังกะสี

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวโยงโดยตรงกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะไม่ว่าจะเป็นชนิดไฮโปไทรอยด์ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ ต่างก็มีสาเหตุจากการขาดสังกะสีด้วยกันทั้งนั้น ผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารที่มีแร่สังกะสีให้มากขึ้น แต่ก็ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายด้วย โดยอาหารที่มีสังกะสีสูงก็ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง ถั่ววอลนัท และเมล็ดทานตะวัน ธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น

ทองแดง

สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ หากร่างกายขาดธาตุทองแดง ไม่ว่าจะเป็นแบบภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือผู้ป่วยเป็นไทรอยด์เป็นพิษ ก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลมากขึ้น เพราะร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง สำหรับอาหารที่มี ทองแดง สูง เช่น เนื้อปู หอยนางรม ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดทานตะวัน เนื้อวัว ถั่วขาว ถั่วเหลือง เห็ดชิทาเกะ มะเขือเทศ และ
ดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น

ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กมีความสำคัญมาก หากขาดก็จะทำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง จึงจำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ สำหรับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วขาว และเมล็ดฟักทอง เป็นต้น

วิตามินบี

สำหรับ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 มีความจำเป็นต่อร่างกายมากโดยเฉพาะกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ อีกทั้งมีหน้ามีสำคัญในการช่วยร่างกายผลิตฮอร์โมน T4 ซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย สำหรับอาหารที่มีวิตามินบี ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ถั่วลันเตา ปลา นม เห็ด และเมล็ดอัลมอนด์

สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี จะมีหน้าที่คอยช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับการถูกทำลายสารอนุมูลอิสระ และยังป้องกันการเสื่อมสภาพก่อนวัยของต่อมไทรอยด์ได้อีกด้วย สำหรับอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี องุ่น ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชชนิดต่าง ๆ บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ชาเขียว ผักกาดหอม ผักคะน้า ผัก แครอท ผักโขม มันเทศ ถั่วเหลือง ฟักทอง ปลา และตับ เป็นต้น

ถึงแม้ว่าอาหารเหล่านี้จะขึ้นชื่อว่าสามารถช่วยส่งเสริมระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานได้ดีขึ้น แต่ทางที่ดีก็ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนจะเริ่มรับประทาน เพราะในบางรายอาจมีอาการของโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคไขมันในเส้นเลือดสูง หรือหากมีระดับคอเลสเตอรอลสูง อาหารบางชนิดก็อาจจะยิ่งทำให้อาการของโรคเหล่านั้นแย่ลงไปได้


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thyroid Diet: Best and Worst Foods for Your Thyroid. Health.com. (https://www.health.com/food/the-best-and-worst-foods-for-your-thyroid)
Nutrition Tips to Support Thyroid Health. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/nutrition-tips-for-thyroid-wellness-4067153)
9 Foods to Avoid with Hypothyroidism. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/thyroid-pictures/foods-to-avoid/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)