ยาแก้ปวด (Analgesic) มักนิยมใช้เพื่อลดอาการปวดจากการอักเสบของข้อ การผ่าตัด การบาดเจ็บ การปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ หรืออาการปวดจากสาเหตุอื่น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งยาของแพทย์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาแก้ปวด สามารถแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ดังต่อไปนี้
- ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) เช่น Avinza, Kadian, MS Contin (Morphine), Oxycontin (Oxycodone), Dolophine หรือ Methadose (Methadone), Dilaudid (Hydromorphone), Codeine, Demerol (Meperidine), Duragesic หรือ Actiq (Fentanyl) เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะลดสัญญาณปวดที่ส่งจากระบบประสาท และลดการตอบสนองของสมองต่อสัญญาณดังกล่าว จึงทำให้ยากลุ่มนี้มักถูกนำไปใช้เป็นยาเสพติดด้วย
- ยากลุ่มพาราเซตามอล (Paracetamol) เช่น Tylenol (Acetaminophen) ยากลุ่มนี้จะปรับเปลี่ยนการรับรู้อาการเจ็บปวดของร่างกาย
- ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เช่น Advil (Ibuprofen), Aleve (Naproxen), Celebrex (Celecoxib) บางครั้งอาจพบ Aspirin จัดอยู่ในยากลุ่มนี้ด้วย ยากลุ่มนี้จะยับยั้งผลของโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ทำให้ลดอาการปวดและอาการบวม
ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวด
ก่อนใช้ยาแก้ปวดทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และควรระวังการใช้ยาแก้ปวดดังนี้
- ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินในเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ได้
- การรับประทานยาไทลินอลในปริมาณมากอาจมีผลต่อตับ ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อนใช้ยา
- ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกในกระเพาะ โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมองได้
- การใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปินอยด์เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการติดยาจากการที่ร่างกายเคยชินกับการได้รับยา
- ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว หากใช้ยากลุ่มโอปินอยด์ในครั้งแรก จนกว่าจะทราบว่าร่างกายตอบสนองต่อการใช้ยาอย่างไร
ผลข้างเคียงของการใช้ยาแก้ปวด
ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจะขึ้นอยู่กับชนิดของยาแก้ปวด และระยะเวลาที่ใช้ โดยผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่
แอลกอฮอล์สามารถเพิ่มผลข้างเคียงของยาแก้ปวดได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างที่ใช้ยากลุ่มนี้