กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาแก้ปวดกับอาการท้องผูก

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาแก้ปวดกับอาการท้องผูก

เมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้น ก็มักจะเริ่มมีอาการปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายและต้องใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ อาการเหล่านี้มักจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปี 

มีหลายภาวะที่อาจทำให้อาการเจ็บปวดนั้นเกิดขึ้นได้นานและรุนแรงมากขึ้นเช่นภาวะนอนไม่หลับซึ่งพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ นอกจากนั้นอายุที่มากขึ้นยังทำให้สุขภาพทั้งกายและใจของเราแย่ลงทำให้เราคิดถึงความเจ็บปวดดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา

ทั้งหมดนี้จึงยิ่งทำให้การค้นหาวิธีการบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละบุคคลนั้นสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตามยาแก้ปวดที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมักจะมีผลข้างเคียงและผลข้างเคียงดังกล่าวก็มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

วิธีการบรรเทาอาการเจ็บปวด

แน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดในการบรรเทาอาการเจ็บปวดก็คือการค้นหาสาเหตุว่าอาการดังกล่าวนั้นเกิดจากอะไร หากอาการปวดคอหรือปวดหลังนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อ การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อก็จะสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าข้อสามารถบรรเทาอาการปวดข้อได้ แต่ส่วนมากแล้ว วิธีที่แพทย์มักเลือกใช้ในการบรรเทาความเจ็บปวดก็คือการใช้ยาแก้ปวดเช่นพาราเซตามอล, ibuprofen, naproxen หรือแอสไพริน ซึ่งยาทุกตัวนั้นล้วนแต่มีผลข้างเคียงทั้งสิ้นแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างปลอดภัยหายใช้เป็นเวลาสั้นๆ (ประมาณหลายสัปดาห์หรือไม่กี่เดือน) และในขนาดที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการใช้ยาแอสไพริน, ibuprofen และ naproxen ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีนั้นมักจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงเช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร, ไตวายหรือทำให้ภาวะหัวใจวายรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นก่อนที่ผู้สูงอายุจะรับประทานยาในกลุ่มเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
ข้อเสียของการใช้ยาในกลุ่มนี้ก็คือมันสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้เฉพาะระดับต่ำจนถึงปานกลาง และอาจไม่สามารถบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงหรือเรื้อรังได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงอาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม opioid ในเวลาต่อมา

ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid

ยาแก้ปวดกลุ่มนี้สกัดมาจากต้นฝิ่นและมีการนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดมาเป็นเวลาหลายพันปี โดยเฉพาะมอร์ฟีนซึ่งมีการใช้เป็นยาแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย และยาแก้ปวดตัวอื่นๆ ที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีนก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกันเช่น codeine, hydrocodone, hydromorphone, fentanyl, meperidine, oxycodone และ methadone การใช้ยาในกลุ่มนี้อาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะหากใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังเป็นเวลานานเนื่องจากร่างกายจะเกิดอาการดื้อยาและทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลในการรักษาในระดับเดิม ผู้ป่วยบางรายมีอาการไวต่ออาการเจ็บปวดมากขึ้นภายหลังจากการรับประทานยา นอกจากนั้นมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการใช้ยาเป็นเวลานานนั้นอาจทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกันและทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุลได้
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม opioid แม้จะเป็นระยะสั้นๆ ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับการขับถ่ายได้เช่นกัน

คุณควรเริ่มรับประทานยาระบายไปพร้อมๆ กับการใช้ยากลุ่ม opioid

ยาแก้ปวดในกลุ่มนี้ทุกตัวจะทำให้เกิดอาการท้องผูกในระดับเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงแนะนำให้เริ่มรับประทานยาระบายไปพร้อมๆ กับการรับประทานยาแก้ปวดในกลุ่มนี้ บางคนอาจคิดว่าผลข้างเคียงนี้เกิดขึ้นได้น้อยหรืออาจจะไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ป่วยมากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการท้องผูกมักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว ดังนั้นการเริ่มรับประทานยาระบายเพื่อป้องกันการเกิดอาการท้องผูกจึงเป็นสิ่งที่ควรทำให้ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุซึ่งมักจะเคลื่อนไหวตัวได้ลำบากและดื่มน้ำน้อยซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่ายขึ้น ยาระบายนั้นมีหลายรูปแบบโดยคุณอาจจะเริ่มจากการใช้ยาที่ช่วยทำให้อุจจาระนิ่มลง และยาระบายที่กระตุ้นการทำงานของลำไส้ แต่ถ้าหากยาสองกลุ่มนี้ยังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ คุณอาจจะต้องใช้ยากลุ่มอื่นที่มีส่วนผสมของ polyethylene glycol, lactulose, Milk of Magnesia หรือ magnesium citrate


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pain relief, opioids, and constipation. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/pain/pain-relief-opioids-and-constipation)
What You Can Do About Opioid Induced Constipation. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/opioid-induced-constipation-4153814)
Opioid-induced constipation (OIC): Causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323418)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิดีโอการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
วิดีโอการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การเห็นตัวอย่างจะช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและการรักษาความปลอดภัย

อ่านเพิ่ม
ยาแก้ปวดหัว กินมากไปก็ไม่ดี
ยาแก้ปวดหัว กินมากไปก็ไม่ดี

เคยไหม? กินยาแก้ปวดหัวเมื่อมีอาการ แต่กลับทำให้รู้สึกดีขึ้นเพียงระยะสั้นๆ จากนั้นก็กลับมามีอาการซ้ำอีกเรื่อยๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังเผชิญกับ “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน” ก็เป็นได้

อ่านเพิ่ม