ใช้ยาเกินขนาดอันตรายอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ใช้ยาเกินขนาดอันตรายอย่างไร?

เมื่อปี พ.ศ. 2550 ยาแก้ปวดกลุ่มนาร์โคติก (เป็นยาในตระกูลมอร์ฟีน เฮโรอื่น) ที่ต้องจ่ายโดยแพทย์ ทําให้เกิดการเสียชีวิตโดยไม่เจตนา มากกว่าสถิติ การตายจากเฮโรอีนและโคเคนรวมกันเสียอีก ผลจากการใช้ยาผิดวิธีเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงกว่าอุบัติเหตุจราจรเสียอีก

ทำไมคนถึงกินยาเกินขนาด?

เหตุการณ์เช่นนี้อาจเริ่มต้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ เช่นใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการปวดหลังที่รบกวนงานของคุณ หรืออาการนอนไม่หลับ จากยาเพียงเม็ด สองเม็ดก็เพิ่มขึ้นทีละสองสามเม็ด พอรู้ตัวอีกที คุณก็อยู่ไม่ได้ถ้าไม่กินเสียแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาที่เสี่ยงทำให้เสียชีวิตจากการกินเกินขนาด

ยาที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตโดยไม่เจตนาที่พบบ่อยคือ

บ่อยครั้ง ยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ เหล่านี้ถูกใช้อย่างผิดวิธี ทําให้เกิดการติดยาตามมา

ทําไมการใช้ยาผิดถึงเกิดขึ้นบ่อย ?

การใช้ยาเหล่านี้ไม่ได้ทําให้รู้สึกผิดเหมือนการใช้ยาผิดกฎหมาย หลายคน รู้สึกว่าเป็นยาที่หมอสั่ง จึงปลอดภัยที่จะใช้ ครั้นต่อมาเมื่อใช้ยาหนักเข้า

การเสาะหายามาก็ไม่ค่อยยากมากกว่าครึ่งของคนเหล่านี้ หายาเพิ่มได้จากคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง ไม่ใช่จากแพทย์

คอกเอายา หมอหลายคนก็เครียดเหมือนกันที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่มาด้วย อาการปวดเรื้อรัง หรือบางครั้งก็อาจไม่ได้ใส่ใจสั่งยาอย่างรอบคอบ

ถึงยาแก้ปวดซื้อเองได้อย่างอะเซตะมิโนเฟน (ไทลินอล แอสไพริน และไอบิวโพรเฟน จะไม่ก่อปัญหาการเสพติดอย่างยาแก้ปวดที่ ต้องมีใบสั่งยาก็จริง แต่ก็เสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อใช้ผิดวิธีได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง การกินอะเซตะมิโนเฟนเกินขนาด อาจเป็นอันตรายต่อตับอย่างรุนแรง จนตับวายและถึงแก่ชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างการกินยาเกินขนาดโดยไม่รู้ตัว

มาดูตัวอย่างกัน แล้วคุณจะเข้าใจว่าเกิดจากเหตุการณ์แบบนี้ได้ง่ายขนาดไหน สมมุติคุณเป็นไข้หวัดใหญ่ มีไข้ คัดจมูกและรู้สึกปวดเมื่อย ทั้งตัว คุณตื่นขึ้นมารู้สึกแย่มาก จึงกินอะเซตะมิโนเฟนแบบ 500 มก. ไป 2 เม็ด (1,000 มก. แล้วนะครับ) ที่กล่องบอกว่า ตลอดวันคุณกินได้ 6 เม็ด นั่นคือ 3,000 มก. ต่อวัน แล้วคุณก็กินยาบรรเทาอาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ที่ซื้อจากห้าง เช่นยี่ห้อเดย์ควิล เพื่อลดอาการคัดจมูกไป 2 เม็ด ยาเม็ดนี้ มีอะเซตะมิโนเฟนผสมอยู่ด้วย คู่มือบอกว่าใน 24 ชั่วโมงกินได้สี่ครั้ง ฉะนั้น คุณก็จะกิน 8 เม็ด ซึ่งเท่ากับได้อะเซ็ทตะมิโนเฟนเพิ่มไปอีก 2,600 มก. คุณยังจะกินไนควิลเพื่อช่วยให้หลับด้วย หนึ่งเม็ดได้อะเซตะมิโนเฟน ไปอีก 650 มก. เห็นหรือยังครับ คุณอาจไม่รู้ตัวเลยว่าแค่กินยาบรรเทาหวัด ลดไข้แบบนี้ คุณได้รับอะเซตะมิโนเฟนเข้าไปเกือบ 7,000 มก แล้วนี่เกินสองเท่าของปริมาณที่แนะของปริมาณที่แนะนําต่อวันเสียอีก สําหรับบางคน ปริมาณเท่านี้อาจ จะเป็นพิษจนตับวายก็ได้ เวลาที่ป่วย คุณอาจไม่มีอารมณ์จะคํานวณปริมาณ อะเซตะมิโนเฟนที่กินเข้าไป ทั้งๆ ที่ปริมาณรวมกําลังเพิ่มขึ้นทุกทีๆ และแม้แต่ยาแก้ปวดที่ใช้ใบสั่งจากแพทย์บางตัว ก็มีอะเซตะมิโนเฟนเป็นส่วนผสม เช่น เพอร์โคเซ็ท และวิโคดิน หากคุณตั้งต้นด้วยการกินอะเซตะมิโนเฟน แล้วไม่ทุเลา จึงเขยิบไปกินยาแรงขึ้น โปรดระวังด้วยเพราะอาจเป็นอันตรายได้

ดีเหมือนกันถ้าคุณจะถือโอกาสนี้สํารวจตู้ยาของคุณเอง และดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ทําตัวเป็นคลังยาให้คนอื่นโดยไม่เจตนา ตอนผมอายุสามสิบ กว่า ผมมีอาการปวดหลังอยู่เสมอ จนในที่สุด ผมต้องเข้ารับการผ่าตัด ระหว่างห้าปีนั้น ผมได้ยาคลายกล้ามเนื้อและแก้ปวดกลุ่มนาร์โคติกเยอะ ถ้ากินอันไหนแล้วไม่ทุเลา ผมก็เปลี่ยนไปกินอันที่แรงกว่า ตู้ยาผมค่อย ๆ สะสมยาจนกระทั่งจะเป็นร้านขายยาที่เต็มไปด้วยยาที่อันตรายและเสพติด จนกระทั่งผมมีคนมาอยู่ร่วมบ้านด้วย ซึ่งผมทราบว่าเขามีปัญหาการใช้ยาผิดวิธีอยู่ ผมจึงสังคายนาตู้ยาจนเรียบร้อยเข้าที่ อย่ารอจนสายเกินไปนะครับ ไปสํารวจดูเถอะ คุณอาจจะแปลกใจกับสิ่งที่มีในนั้นก็ได้

บทสรุปจากหมอเบซเซอร์

สถิติการติดยาและการเสียชีวิตจากยาที่มีใบสั่งจากแพทย์กําลังมุ่งไม่หยุด การใช้เป็นครั้งคราวอาจนําไปสู่การต้องนั่งยาและกลายเป็นเสนติดในที่สุด จงอย่ากินยา ที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่ายสําหรับคุณ และต้องทําความเข้าใจกับการใช้ยาอย่างถูกต้องปลอดภัย แม้เป็นยาซื้อเองได้ก็ต้องระมัดระวัง ควรรู้ส่วนผสมในยาที่กินเสมอ จะได้ระวังไม่ใช้ยา เกินขนาด เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ครับ

สิ่งที่คุณทําได้ เพื่อให้ “ยาปลอดภัย”

  • ถามหมอถึงวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้ปวด ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ว่าทําให้เสพติดไหม หรือมีผลข้างเคียง อะไรบ้าง หาคําตอบว่าคุณควรกินยาในปริมาณเท่าใดและควรใช้ยานั้นไปนาน เท่าใด ก่อนการพบแพทย์ครั้งต่อไป
  • อย่าเกรงใจที่จะถามถึงทางเลือกวิธีอื่น ๆ การใช้ยาที่อาจเสพติด หมอที่รีบมักจะก้มหน้าก้มตาเขียนใบสั่งยาให้เสร็จ มากกว่าจะใช้เวลาอธิบาย ทางเลือกต่างๆ ให้คุณฟัง
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการบําบัดอื่นๆ เช่น กรณีนอนไม่หลับ แทนที่จะกินยานอนหลับ มาวิเคราะห์นิสัยการนอนของคุณ ฝึกเทคนิคการ ผ่อนคลาย และหาความรู้เกี่ยวกับยาที่ไม่มีฤทธิ์เสพติด
  • พูดความจริงเกี่ยวกับอาการไม่สบายของคุณ ปัจจุบัน แพทย์มัก จะเห็นใจผู้ที่มีปัญหาเรื่องปวดและให้ยาฤทธิ์แรงกว่าสมัยก่อน จึงไม่ควรใส่ไข่ เรื่องอาการมากเกินจริง หรือตัดสินใจไปพบแพทย์ทั้งที่เป็นไม่มาก บ่อยครั้ง ที่ยาแก้ปวดที่ซื้อเองได้นั้นบรรเทาอาการปวดระดับปานกลางได้สบาย ๆ
  • เก็บยาไว้ห่างมือเด็ก จะยิ่งดีถ้าบรรจุยาในขวดแบบเด็กเล็กเปิด ไม่ได้ ทางที่ดีอย่าให้เด็กเล็ก ๆ เห็นคุณกินยา เด็กวัยนั้น ชอบทํากิริยาเลียน แบบผู้ใหญ่ครับ
  • รู้จักตัวตนของคุณ ถ้าคุณเป็นคนติดอะไรง่าย เคยมีปัญหาติดยาแก้ปวด เป็นคนทนเจ็บปวดไม่ค่อยได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการสั่งยา
  • ตรวจดูยาผสมที่ใช้บรรเทากลุ่มอาการและทําสัญลักษณ์เน้น แก้ปวดที่มีในยา จะได้ง่ายต่อการคํานวณปริมาณยาแก้ปวดที่มีในยา จะได้ เท่าใดแล้ว

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์ ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Drug Overdose: Definition, Treatment, Prevention, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/drug-overdose)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป