กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงหลักๆ จะมีอยู่สองวิธี คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หยุดสูบบุหรี่ เป็นต้น และอีกวิธีคือการใช้ยาลดระดับความดันโลหิต ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม โดยยาลดความดันโลหิตแต่ละชนิดอาจเหมาะสมกับคนแต่ละคนแตกต่างกัน ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลดความดันโลหิตใดๆ 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิตของคุณและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดของคุณ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีอยู่ 7 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • อายุ
  • ความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่ (หรือเคยสูบบุหรี่)
  • อ้วน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ถ้าความดันโลหิตสูงเล็กน้อย

ถ้าความดันโลหิตของคุณสูงกว่าค่าปกติ (120/80 mmHg) เล็กน้อย และแพทย์พิจารณาแล้วว่าคุณมีความเสี่ยงต่ำต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด คุณสามารถลดความดันโลหิตได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยวิธีง่ายๆ

ถ้าความดันโลหิตสูงปานกลาง

ถ้าระดับความดันโลหิตของคุณสูงปานกลาง คือสูงตั้งแต่ 140/90 mmHg ขึ้นไป หรือแพทย์พิจารณาแล้วว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก 10 ปีข้างหน้าของคุณมากกว่า 1 ใน 5 กรณีนี้คุณจะได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และอาจได้รับการสั่งยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย

ถ้าความดันโลหิตสูงมาก

ถ้าความดันโลหิตของคุณสูงมาก คือ สูงตั้งแต่ 180/110 mmHg ขึ้นไป คุณควรได้รับการส่งต่อไปรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านความดันโลหิตสูง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไปนี้จะช่วยลดระดับความดันโลหิตได้:

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ
  • ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงให้อยู่ในระดับที่แนะนำ (น้อยกว่า 21 หน่วยต่อสัปดาห์ในผู้ชาย และน้อยกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์ในผู้หญิง)
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ไขมันต่ำ และหลากหลายครบ 5 หมู่ และให้จำกัดปริมาณการบริโภคเกลือให้น้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน
  • ถ้าน้ำหนักเกินหรืออ้วน ให้ทำการลดน้ำหนัก
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน โดยให้กาแฟหรือชาน้อยกว่า 5 ถ้วยต่อวัน
  • ฝึกการผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ และนั่งสมาธิ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ นอกจากจะช่วยลดระดับความดันโลหิตแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในภาพรวมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยาลดความดันโลหิต

มียาหลายชนิดสำหรับใช้เพื่อลดความดันโลหิต คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตมากกว่า 1 ชนิด เพราะบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดเพื่อช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จ

หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามหากคุณสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงเป้าหมายได้เป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี คุณควรสอบถามแพทย์ที่ดูแลว่าคุณสามารถหยุดยาและติดตามความดันโลหิตแทนได้หรือไม่

ยาลดความดันโลหิตส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงบางประการ (รายละเอียดผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิดแสดงไว้ด้านล่าง) หากคุณมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากยาลดความดันโลหิตเหล่านี้ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที:

  • รู้สึกง่วงนอน
  • มีอาการปวดบริเวณด้านข้างของหลังส่วนล่าง (บริเวณที่อยู่ของไต)
  • มีอาการไอแห้ง
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
  • มีผื่นที่ผิวหนัง

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่ายาลดความดันโลหิตแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ได้ดีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์ของผู้ป่วยที่ใช้ยา ตัวอย่างเช่น ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ เอซีอี หรือเรียกว่า เอจ อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและควรใช้เป็นตัวแรกในคนผิวขาว ในขณะที่ยาในกลุ่ม calcium channel blockers หรือ ยาขับปัสสาวะไทเอไซด์ (thiazide diuretics) มีแนวโน้มที่จะออกฤทธิ์ได้ดีในคนผิวดำ เป็นต้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคนผิวดำมีแนวโน้มที่จะมีระดับเรนนิน (renin) ในเลือดน้อยกว่า เรนนิน เป็นเอนไซม์ที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย ยาในกลุ่ม ACE inhibitors จะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อมีปริมาณเอนไซม์เรนนินในเลือดสูง ดังนั้นคนผิวดำที่มีเอนไซม์เรนนินน้อยกว่า จึงใช้ยาในกลุ่ม ACE inhibitors เพื่อลดความดันโลหิตไม่ค่อยได้ผล

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้แพทย์ผู้ทำการรักษาจะพิจารณาชาติพันธุ์ของผู้ป่วยด้วยเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกยาในการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อลดความดันโลหิต ได้แก่:

  • ยาในกลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors อ่านว่า เอจอินฮิบิเตอร์
  • ยาในกลุ่ม Calcium channel blockers อ่านว่า แคลเซียม แชลแน่ล บล็อกเกอร์
  • ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide อ่านว่า ไทเอไซด์
  • ยาในกลุ่ม Alpha-blockers อ่านว่า อัลฟ่า บล็อกเกอร์
  • ยาในกลุ่ม Beta-blockers อ่านว่า เบต้า บล็อกเกอร์

ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors

ยาในกลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors จะออกฤทธิ์ยับยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนบางชนิดที่ควบคุมระดับความดันโลหิตของร่างกาย

จากการยับยั้งฮอร์โมนดังกล่าว ยาจะช่วยลดปริมาณน้ำในเลือด, ขยายหลอดเลือดแดง ทำให้ความดันโลหิตลดลง

ยากลุ่ม ACE inhibitors ไม่เหมาะสำหรับ:

  • หญิงตั้งครรภ์ หรือ หญิงให้นมบุตร
  • คนที่มีสภาวะที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดไปเลี้ยงไต

ยากลุ่ม ACE inhibitors จะลดปริมาณเลือดไปที่ไต ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงได้ ดังนั้นก่อนการใช้ยานี้ จะต้องตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่เป็นโรคไตอยู่ก่อนใช้ยานี้

ระหว่างการใช้ยาในกลุ่ม ACE inhibitors คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะปีละครั้ง

ผลข้างเคียงของยาในกลุ่ม ACE inhibitors ได้แก่:

ผลข้างเคียงโดยส่วนใหญ่จะดีขึ้นและหายได้เองในเวลาไม่กี่วัน แต่จะมีผู้ป่วยบางรายที่จะยังมีอาการไอแห้งอย่างต่อเนื่อง

หากผลข้างเคียงมีอาการมากขึ้น และรบกวนคุณ มียาอีก 1 ชนิดที่ออกฤทธิ์คล้ายๆ กันกับยากลุ่มนี้ ได้แก่ยาในกลุ่ม angiotensin-2 receptor antagonist (อ่านว่า แองจิโอเทนซิน ทู รีเซปเตอร์ แอนตาโกนิส) ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่มนี้แทน

ยาในกลุ่ม ACE inhibitors สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ถ้าคุณรับประทานยานี้ร่วมกับยาอื่น ได้แก่ยาที่หาซื้อได้เองบางชนิด ดังนั้นก่อนการรับประทานยาชนิดใด ร่วมกับยาในกลุ่ม ACE inhibitors ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอว่าสามารถรับประทานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยหรือไม่

ยากลุ่ม Calcium channel blockers

ยาในกลุ่ม Calcium channel blockers ออกฤทธิ์โดยการคลายกล้ามเนื้อของผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัวและความดันโลหิตลดลงได้

ตัวอย่างของยาในกลุ่ม Calcium channel blockers ได้แก่:

  • Diltiazem อ่านว่า ดิวไทเอเซ็ม
  • Verapamil อ่านว่า เวราปามิล
  • Amolodipine อ่านว่า แอมโลดิปีน
  • Nifedipine อ่านว่า ไนเฟดิปีน

ยาในกลุ่ม calcium channel blocker แต่ละตัวออกฤทธิ์ได้แตกต่างกัน ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อยจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่วัน โดยมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ดังนี้:

  • หน้าแดง
  • ปวดศีรษะ
  • ข้อเท้าบวม
  • เวียนศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • หัวใจเต้นเร็ว เต้นช้า หรือเต้นผิดปกติ

ยาในกลุ่ม calcium channel blocker บางรายการอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องผูกได้

อย่ารับประทานน้ำผลไม้ grapefruit ระหว่างใช้ยาในกลุ่ม calcium channel blocker เพราะจะยิ่งลดความดันโลหิตให้ต่ำลงเกินไปได้

ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide

ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide จะออกฤทธิ์โดยการลดปริมาณน้ำในเลือดและขยายผนังของหลอดเลือดแดง ยาในกลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ (โรคข้อชนิดหนึ่งที่มีผลึกสะสมที่บริเวณข้อ)

ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide เป็นยาที่ลดระดับโพแทสเซียมในเลือดด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและไต ยาสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นได้

ดังนั้นคุณจะได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะทุกๆ 6 เดือน เพื่อติดตามระดับโพแทสเซียมและระดับน้ำตาลในเลือด

ตัวอย่างของยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide ได้แก่:

  • Furosemide อ่านว่า ฟูโรซีไมด์
  • Torasemide อ่านว่า ทอราซีไมด์

ผลข้างเคียงของยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide ได้แก่:

  • เวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ
  • ปัสสาวะบ่อยครั้งในช่วงกลางวัน และอาจเป็นในช่วงกลางคืนด้วย

มีผู้ป่วยชายจำนวนเล็กน้อยที่รับประทานยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide แล้วพบว่า อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือไม่สามารถแข็งตัวได้นาน อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงนี้จะหายเป็นปกติเมื่อหยุดรับประทานยานี้

นอกจากยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide แล้ว ยังมียาขับปัสสาวะกลุ่มอื่นๆ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาจ่ายให้กับคุณ ได้แก่:

  • กลุ่ม Loop Diuretics อ่านว่า ลูป ไดยูเรติก
  • กลุ่ม Potassium-sparing diuretics อ่านว่า อ่านว่า โพแทสเซียม สะแปริ่ง ไดยูเรติก

ยากลุ่ม Alpha-blockers

ยาในกลุ่ม Alpha-blockers เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตเช่นกัน อย่างไรก็ตามยานี้มักไม่ถูกจ่าย ยกเว้นแต่ว่า คุณกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิตตัวอื่นอยู่แล้ว แต่ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่

ยากลุ่ม Alpha-blockers ออกฤทธิ์โดยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อที่บุรอบๆ หลอดเลือดหดตัว ทำให้หลอดเลือดคลายตัวและเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และความดันโลหิตลดลง

ตัวอย่างของยาในกลุ่ม Alpha-blockers ได้แก่:

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาในกลุ่ม Alpha-blockers คือ:

  • เหมือนจะเป็นลมเมื่อเริ่มใช้ยาเป็นครั้งแรก
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะ
  • ข้อเท้าบวม
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย

ยากลุ่ม Beta-blockers

ยากลุ่ม Beta-blockers เคยเป็นยาที่นิยมใช้เพื่อลดความดันโลหิตในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันยานี้จะถูกใช้เฉพาะในกรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ประสบความสำเร็จในการลดความดันโลหิต สาเหตุเป็นเพราะยาในกลุ่ม Beta-blockers มีผลข้างเคียงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับยากลุ่มอื่นที่ใช้ลดความดันโลหิต

ยากลุ่ม Beta-blockers ออกฤทธิ์โดยทำให้หัวใจเต้นช้าลง และลดแรงในการบีบตัวของหัวใจ ทำให้ลดแรงในการส่งเลือดจากหัวใจได้

ตัวอย่างยาในกลุ่ม Beta-blockers ได้แก่:

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาในกลุ่ม Beta-blockers คือ:

ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยกว่าของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่:

แม้ว่ายาในกลุ่ม beta-blockers จะไม่ถูกแนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรกสำหรับรักษาผู้ที่มีความดันโลหิตสูง แต่อาจถูกแนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีอายุน้อย ถ้า:

  • ใช้ยาตัวอื่น เช่น ยาในกลุ่ม ACE inhibitors แล้วไม่ได้ผล
  • ใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (หญิงที่สามารถตั้งครรภ์ได้)

ยาในกลุ่ม beta-blockers อาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นๆ ทำให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ ดังนั้นก่อนใช้ยาใดร่วมกับยาในกลุ่ม beta-blockers จะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

อย่าหยุดรับประทานยาในกลุ่ม beta-blockers อย่างทันทีทันใด โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะการหยุดรับประทานยานี้กะทันหันสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือ เจ็บหน้าอก อันเนื่องมาจากการลดลงของปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อหัวใจ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/heart-and-blood-vessels/conditions/high-blood-pressure-hypertension#treatment


40 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hypertension Treatment: Lifestyle Changes, Medication, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/high-blood-pressure-hypertension-treatment)
Hypertension Treatment & Management: Approach Considerations, Nonpharmacologic Therapy, Pharmacologic Therapy. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/241381-treatment)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม