กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เข้าใจอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ และวิธีรักษา

เรียนรู้หลากหลายสาเหตุของอาการเจ็บคอ เพื่อหาแนวทางการรักษาหรือใช้ยาที่บรรเทาอาการได้ตรงจุด
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เข้าใจอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ และวิธีรักษา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอเกิดจากหลายสาเหตุ แต่จะแบ่งได้ 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ อาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัส อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย อาการเจ็บคอจากทอนซิลอักเสบ
  • อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย และต่อมทอนซอนซิลมีวิธีสังเกต คือ จะเห็นจุดหนองที่ต่อมทอนซิล และเกิดผ้าที่ลิ้น ซึ่งหากอาการเจ็บคอเกิดจากเชื้อไวรัส จะมีไม่มีจุดสังเกตเหล่านี้
  • ยาบรรเทาอาการเจ็บคอแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น ยารับประทาน ยาสเปรย์ ยาปฏิชีวนะ ซึ่งยาแต่ละประเภทจะต้องถูกสั่งผ่านแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อป้องกันอาการดื้อยา และการใช้ยาโดยเปล่าประโยชน์
  • ยาอมแก้เจ็บคอสามารถช่วยบรรเทาอาการ และฆ่าเชื้อได้เช่นกัน แต่ควรใช้ในปริมาณพอดี เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  • การรักษาอาการป่วยที่ดีที่สุด คือ การไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะหากคุณมีอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอมามากกว่า 7-10 วัน (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่สามารถเป็นกันได้บ่อย โดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว โดยอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย คือ อาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ซึ่งบางครั้งอาการก็อาจรุนแรง และต่อเนื่องยาวนาน จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ 

ดังนั้นคุณจึงควรมาทำความรู้จักสาเหตุ และแนวทางรักษาตัวเองเบื้องต้น เช่น หายารูปแบบสเปรย์หรือยารับประทาน เพื่อให้อาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอบรรเทาลงหรือกระทั่งหายไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยหลักแล้ว อาการเจ็บคอมักเกิดขึ้นจาก 3 สาเหตุหลัก ดังนี้

1. อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อไวรัส 

อาการเจ็บคอกว่า 90% เกิดขึ้นจากสาเหตุนี้ เช่น ไวรัสก่อโรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคหวัดร่วมกับอาการเจ็บคอ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไอ มีไข้อ่อนๆ อ่อนเพลีย 

การติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าเชื้อก่อโรคหวัดธรรมดา ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จึงมักมีไข้สูง และปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อไวรัสนั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ส่วนมากจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน โดยไม่ต้องใช้ยา

2. อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 

อาการเจ็บคอที่เกิดจากสาเหตุนี้พบได้ไม่บ่อยนัก โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรค คือ เชื้อสเตรปโตคอกคัส ไพโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes) หรือที่เรียกว่า สเตรปโตคอกคัสกลุ่มเอ 

เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายผ่านละอองน้ำลายจากผู้ที่ติดเชื้อ ไปสู่บุคคลอื่นผ่านการไอ จาม การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการได้รับเชื้อจากการสัมผัสเข้าสู่ร่างกายผ่านตา จมูก ปาก 

อาการของผู้ป่วยที่เจ็บคอจากสาเหตุนี้จะเริ่มแสดงหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 5 วัน อีกทั้งการติดเชื้อในเด็กยังสามารถพบได้บ่อยกว่าในผู้ใหญ่ด้วย โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร แต่จะไม่แสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัด เช่น น้ำมูกไหล ไอ เสียงแหบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. อาการเจ็บคอจากทอนซิลอักเสบ 

ปกติแล้วต่อมทอนซิลจะมีหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย แต่เมื่อต่อมทอนซิลเกิดการติดเชื้อขึ้นซะเอง จึงอาจเป็นสาเหตุให้ต่อมทอนซิลอักเสบ และนำไปสู่การปวด หรือเจ็บคอรุนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจเจ็บคอมากขนาดที่กลืนน้ำลายไม่ได้ทีเดียว 

นอกจากนี้ อาการเจ็บคอยังอาจเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง เช่น โรคกรดไหลย้อน ซึ่งมีสาเหตุจากน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนคืนสู่หลอดอาหารอีกครั้ง อาการที่มักเกิดร่วมด้วยในผู้ป่วยกรดไหลย้อน ได้แก่ แสบร้อนกลางอก เสียงแหบ รู้สึกมีรสเปรี้ยวจากกรด หรือรสขมจากน้ำดีในปาก 

นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ก็มีส่วนทำให้การเจ็บคอกำเริบขึ้นได้ รวมถึงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง และการอักเสบในลำคอ อากาศแห้ง การใช้เสียงมากจนลำคออักเสบ

วิธีสังเกตอาการว่า อาการเจ็บคอเกิดมาจากไวรัส หรือแบคทีเรีย

เมื่อมีอาการเจ็บคอ หรือกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ผู้ป่วยสามารถสังเกตได้ด้วยตนเองว่า อาการเจ็บคอที่เป็นอยู่นี้เกิดจากสาเหตุใด 

โดยจุดสังเกตที่ชัดเจน คือ หากเป็นอาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย จะสามารถสังเกตเห็นจุดหนองบริเวณต่อมทอนซิล และอาจเกิดฝ้าที่ลิ้น ซึ่งหากเจ็บคอจากไวรัสจะไม่มีอาการเหล่านี้

ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ

ยังไม่มีการคิดค้นยารับประทานที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บคอโดยเฉพาะออกมา และโดยปกติอาการเจ็บคอจะสามารถหายได้เอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ อย่างที่กล่าวไว้ว่า การเจ็บคอนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การรักษานั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเจ็บคอที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด ส่วนใหญ่การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ ดังนี้

1. ยารับประทานบรรเทาอาการปวด 

ได้แก่ พาราเซตามอล (Paracetamol) แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาพรอกเซน (Naproxen

2. ยาอมแก้เจ็บคอ 

นิยมใช้บรรเทาอาการเนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีการผสมตัวยาที่หลากหลาย ได้แก่

  • ตัวยาที่ออกฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ในปริมาณไม่สูงนัก ใช้เพื่อช่วยลดความรู้สึกเจ็บและปวด เช่น เบนโซเคน (Benzocaine)
  • ตัวยาที่มีฤทธิ์แก้ปวด ลดการอักเสบ เช่น เฟอร์บิโพรเฟน (Flurbiprofen) เบนซิดามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Benzydamine Hydrochloride) ซึ่งเป็นตัวยาในกลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
  • ตัวยาฆ่าเชื้อ เพื่อทำความสะอาดช่องปากและลำคอ เช่น เอมิลเมแทครีซอล (Amylmetacresol) เบนซิลแอลกอฮอล์ (Benzyl Alcohol) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ด้วย

การอมยาอมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอหรือกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอนั้น ควรศึกษาปริมาณและวิธีใช้จากฉลากบนซอง ไม่ควรอมโดยไม่จำกัดปริมาณ เพราะมีโอกาสที่จะได้รับยาเกินขนาด และทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร 

3. ยาในกลุ่มสเปรย์ 

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  • กลุ่มที่มีการผสมตัวยาต้านการอักเสบ ได้แก่ เบนซิดามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Benzydamine Hydrochloride) เช่น ดิฟแฟลม (Difflam)
  • กลุ่มที่ผสมสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น คาร์โมไมล์ เปปเปอร์มินต์ ยูคาลิปตัส ที่ให้ฤทธิ์เย็น เช่น คามิโลซาน โพรพอลิส 

และในปัจจุบันมีการวางจำหน่ายสเปรย์โพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone iodine) สำหรับใช้พ่นบรรเทาอาการเจ็บคอ ซึ่งตัวยามีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ 

อย่างไรก็ตาม ไอโอดีนสเปรย์ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาไทรอยด์ และไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายรับมากเกินไปจะรบกวนการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ เป็นผลให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติได้  

4. ยาปฏิชีวนะ 

ใช้เฉพาะในกรณีที่การเจ็บคอนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งตัวอย่างยาปฏิชีวนะ จะได้แก่ เพนนิซิลลิน วี (Penicillin V) อะมอกซีซิลลิน (Amoxicillin

แต่ในกรณีผู้ป่วยแพ้ยากลุ่มอะมอกซีซิลลิน ให้ใช้ยาเซฟาเลกซิน (Cephalexin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) คลินดามันซิน (Clindamycin

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรพบแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุของอาการเจ็บคอที่ถูกต้อง และได้รับยาตรงตามอาการ ไม่ควรให้ซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้ด้วยตนเอง 

เพราะหากที่จริงเจ็บคอจากเชื้อไวรัส การใช้ยาปฏิชีวนะจะไม่มีประโยชน์ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเชื้อดื้อยาได้ด้วย

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

คุณควรพบแพทย์หากว่ามีอาการเจ็บคอ รวมถึงกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอนานเกินกว่า 7-10 วัน หรือมีอาการเสียงแหบนานกว่า 3 สัปดาห์ หรือรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียด้วยยาปฏิชีวนะแล้วไม่ได้ผล

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Centers for Disease Control and Prevention, Pharyngitis (Strep throat) (https://www.cdc.gov/groupastrep/diseases-hcp/strep-throat.html), 22 January 2019
Alison Blenkinsopp et. al, Symptoms in the Pharmacy A Guide to the Management of Common Illnesses, sore throat, 2014.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เจ็บคอ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกัน และการดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการเจ็บคอ
เจ็บคอ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกัน และการดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการเจ็บคอ

เจ็บคอเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน ไม่จำเป็นต้องกินยาทุกครั้ง

อ่านเพิ่ม
เจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
เจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

อาการเจ็บคอเกิดจากอะไร รุนแรงได้แค่ไหน รักษาได้อย่างไรบ้าง รวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
เจ็บคอ (Sore Throats)
เจ็บคอ (Sore Throats)

อาการเจ็บคอ ภาวะแทรกซ้อน สาเหตุ และวิธีการรักษาอาการเจ็บคอ

อ่านเพิ่ม