เจ็บคอ (Sore Throats)

อาการเจ็บคอ ภาวะแทรกซ้อน สาเหตุ และวิธีการรักษาอาการเจ็บคอ
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เจ็บคอ (Sore Throats)

เกี่ยวกับอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอ (Sore throats) คือภาวะที่พบได้บ่อยและไม่น่ากังวลใด ๆ ส่วนมากอาการนี้จะหายได้เองภายในหนึ่งสัปดาห์

อาการเจ็บคอส่วนมากเกิดจากโรคชนิดไม่รุนแรงต่าง ๆ อย่างไข้และหวัดที่สามารถรักษาเองที่บ้านได้ง่าย ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการแทรกซ้อน หรือโรคที่อาจเกิดต่อเนื่อง

อาการเจ็บคอมักเป็นอาการเริ่มต้นของ:

  • ไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ : คุณอาจมีอาการคัดจมูกหรือจมูกตัน ไอ มีไข้สูง ปวดศีรษะ และปวดเนื้อตามตัวร่วมด้วย
  • ภาวะกล่องเสียงอักเสบ (laryngitis) : คุณอาจมีอาการเสียงแหบ ไอแห้ง และมีความรู้สึกอยากขับเสลดตลอดเวลา
  • ภาวะทอนซิลอักเสบ (tonsillitis) : คุณอาจมีไข้ ร่วมกับพบว่าต่อมทอนซิลแดงหรือมีจุดบนทอนซิล มีความไม่สบายขณะกลืน
  • คออักเสบ (การติดเชื้อแบคทีเรียที่คอ) : คุณอาจมีต่อมในคอบวม มีความไม่สบายขณะกลืน และมีภาวะทอนซิลอักเสบ
  • โรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever) : คุณอาจมีอาการเหน็ดเหนื่อยรุนแรง มีไข้ และมีต่อมในคอบวมโต

อาการนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ จากบางสิ่งที่ไปสร้างความระคายเคืองแก่ลำคอของคุณ เช่น ฝุ่น ควัน โรคกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease) และภูมิแพ้ เป็นต้น

นอกจากนี้ อาการเจ็บคอยังอาจเป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นไม่บ่อยของโรคภัยไข้เจ็บต่อไปนี้

  • ฝีที่หลังลำคอ (quinsy) : ความเจ็บปวดที่เกิดจากฝีนี้ อาจมีความรุนแรงจนทำให้กลืนลำบากได้
  • ภาวะฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (epiglottitis) : ความเจ็บปวดที่เกิดจากภาวะนี้อาจมีความรุนแรงจนทำให้หายใจหรือกลืนลำบาก

ภาวะเหล่านี้มีความรุนแรงค่อนข้างมาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่คุณมีสัญญาณดังกล่าว

สาเหตุของอาการเจ็บคอ

สาเหตุของอาการเจ็บคอมักจะไม่ชัดเจน แต่ส่วนมากแล้วมักเกิดจากภาวะติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส อย่างเช่น ไข้หวัด

ประเภทการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มักทำให้เกิดอาการเจ็บคอและพบได้มากที่สุด มีดังนี้:

  • เชื้อไรโนไวรัส (rhinovirus) โคโรนาไวรัส (coronavirus) และไวรัสพาราอินฟูลเอนซา (parainfluenza) ที่มักทำให้เกิดหวัดทั่วไป : ไวรัสเหล่านี้เองที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ
  • แบคทีเรีย streptococcal ชนิดต่างๆ : แบคทีเรีย streptococcal กลุ่ม A ทำให้เกิดอาการเจ็บคอในผู้ใหญ่ที่ 10% และในเด็กมากกว่า 1 ใน 3 ส่วนกลุ่ม C กับ G ก็ถูกคาดว่าเป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอเช่นกัน

แบคทีเรียและไวรัสประเภทอื่น ๆ ที่เป็นต้นเหตุของอาการเจ็บคอและพบได้น้อยกว่า 5% มีดังนี้:

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A และ B
  • อะดีโนไวรัส (adenovirus) : ไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อตาอักเสบ (conjunctivitis)
  • ไวรัส herpes simplex ชนิด 1 : สาเหตุของโรคเริม (cold sores)
  • Epstein-Barr virus (EBV) : สาเหตุของโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever)

ส่วนแบคทีเรียและไวรัสหายากชนิดอื่นๆ นั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอน้อยกว่า 1%

สาเหตุจากการติดเชื้อ

แบคทีเรียหรือไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอนั้น มักจะมาจากการติดเชื้อจากผู้ที่กำลังมีเชื้ออยู่ ยกตัวอย่างเช่น การติดหวัดจากละอองสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มาจากการไอ จาม หรือการพูดคุย

หากคุณหายใจนำละอองเหล่านี้เข้าไป หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส แล้วนำมือเปื้อนเชื้อไปสัมผัสใบหน้าตนเอง คุณก็มีโอกาสติดเชื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อคุณติดเชื้อ จะเกิดอาการเจ็บคอขึ้นสองประเภท ดังนี้

  • ภาวะผนังช่องคออักเสบ (pharyngitis) : พื้นที่บริเวณหลังช่องคอของคุณเกิดการอักเสบ
  • ทอนซิลอักเสบ (tonsillitis) : ต่อมทอนซิล (ก้อนเนื้อเยื่อที่อยู่ขนาบข้างลำคอสองด้าน) เกิดการอักเสบ

สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบเห็นไม่บ่อย มีดังนี้

  • อาการระคายเคืองจากควันบุหรี่หรือแอลกอฮอล์
  • อาการระคายเคืองจากการสอดสายยางกระเพาะอาหาร (nasogastric tube) (สอดผ่านจมูกเข้าไปยังกระเพาะอาหาร เพื่อป้อนอาหารเหลวเข้าไปในกรณีที่คุณไม่สามารถทานอาหารแข็งได้)
  • โรคกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease) : ภาวะที่ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นจากกระเพาะไปยังหลอดอาหาร
  • กลุ่มอาการ Stevens-Johnson : เป็นปฏิกิริยาจากการแพ้ยารุนแรงมาก
  • โรค Kawasaki : ภาวะหายากที่ส่งผลต่อเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ภูมิแพ้ : เช่น ไข้ละอองฟาง (hay fever) (ปฏิกิริยาแพ้ละอองเกสรหรือสปอร์) ในกรณีหายากอาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ
  • ภาวะเลือดผิดปกติ เช่น ลิวคีเมีย (leukaemia) (มะเร็งไขกระดูก) หรือโรคโลหิตจางจากกระดูกฝ่อ (aplastic anaemia) (ภาวะที่ไขกระดูกไม่สามารถผลิตเซลล์เลือดได้เพียงพอ)
  • ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (oral mucositis) ที่เกิดจากการทำรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัด

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเจ็บคอ ยกเว้นในกรณีที่เกิดสิ่งต่อไปนี้

  • คุณมีอาการรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการดูแลตนเอง
  • คุณมีอาการเจ็บคอเรื้อรังที่ไม่ทุเลาลงหลังผ่านไปแล้วหนึ่งสัปดาห์
  • คุณประสบกับอาการเจ็บคอบ่อยครั้ง
  • คุณมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ : ยกตัวอย่างเช่น มีเชื้อ HIV กำลังเข้ารับการทำเคมีบำบัด หรือกำลังใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่

นอกจากนี้ คุณควรไปแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (A&E) ในโรงพยาบาลทันทีหากเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น

  • อาการของคุณรุนแรงหรือทรุดลงเร็วมาก
  • คุณมีอาการหายใจลำบาก
  • ขณะหายใจมีเสียงหวีดสูงออกมา
  • คุณมีอาการกลืนอาหารลำบาก
  • คุณเริ่มมีน้ำลายไหล

การรักษาอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอมักไม่ใช่ภาวะร้ายแรง และมักจะหายไปเองภายใน 3-7 วัน โดยระหว่างนี้คุณสามารถบรรเทาอาการเองได้ที่บ้าน โดย:

  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือพาราเซตามอล (paracetamol) : ยาพาราเซตามอลจะเหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาไอบูโพรเฟน (เช่น ผู้ที่เป็นหอบหืด ผู้ที่มีปัญหากับกระเพาะอาหาร และผู้ที่มีปัญหากับตับ) โดยปฏิบัติตามคู่มือหรือฉลากยาเพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาด
  • ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ให้เพียงพอ แต่ต้องเลี่ยงการดื่มน้ำที่ร้อนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
  • ทานอาหารที่นิ่ม และอุ่นหรือเย็น
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่และอยู่ในที่ที่มีควัน
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือบ้วนปากอุ่น ๆ ที่ทำเอง
  • อมยาอม ลูกอม หรือน้ำแข็ง : ไม่ควรให้เด็กเล็กอมของที่มีชิ้นเล็กและอมยาก เพราะอาจทำให้พวกเขาสำลัก

ผลิตภัณฑ์ประเภทลูกอมยาและสเปรย์สำหรับอาการเจ็บคอที่วางขายตามร้านขายยา ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บคอได้จริง แต่หากคุณต้องการจะลองก็สามารถทำได้

ส่วนยาปฏิชีวนะ มักไม่ได้ถูกนำมาใช้รักษาอาการเจ็บคอ แม้ว่าจะเป็นอาการที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เพราะยากลุ่มนี้มักไม่ทำให้คุณฟื้นตัวเร็วขึ้น และยังทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์มากมาย

ยาปฏิชีวนะมักจะนำมาใช้รักษาอาการเจ็บคอก็ต่อเมื่อ:

  • อาการเจ็บคอของคุณมีความรุนแรงเป็นพิเศษ
  • คุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง : ยกตัวอย่างเช่น คุณมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากเชื้อ HIV หรือเบาหวาน (diabetes)
  • คุณมีความเสี่ยงที่อาจจะมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ : จากการได้รับยาที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน เช่น carbimazole ที่ใช้รักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
  • คุณมีประวัติเป็นโรคไข้รูมาติก (rheumatic fever) (ภาวะที่ทำให้การอักเสบลุกลามไปทั่วร่างกาย)
  • คุณเป็นโรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) (โรคที่ส่งผลต่อลิ้นหัวใจที่ใช้ควบคุมการไหลเวียนโลหิต)
  • คุณมีประวัติติดเชื้อซ้ำซากจากแบคทีเรีย streptococcus กลุ่ม A

หากแพทย์คาดว่าคุณจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจจะจัดยาให้ได้ แต่ต้องขอให้คุณรออย่างน้อยสามวันเพื่อดูว่าอาการของคุณดีขึ้นหรือไม่

การใช้วิธีให้ยาปฏิชีวนะล่าช้า จะให้ผลไม่ต่างกับการใช้ยาแบบทันที แต่คุณต้องเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อไม่จำเป็นจริง ๆ เพื่อป้องกันการดื้อยา

การรักษาอาการเจ็บคอโดยแพทย์

หากคุณมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง แพทย์อาจรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy) : หากคุณมีภาวะติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลซ้ำซาก แพทย์อาจพิจารณาการตัดต่อมทอนซิลออก
  • หากคุณมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง (ครั้งหนึ่งแต่ยาวนานมาก 3-4 สัปดาห์) : แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้ารับการทดสอบเพิ่มเติม เนื่องจากอาการเจ็บคอนี้อาจเป็นอาการของภาวะร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ดังนี้
    • โรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต : หากคุณมีอายุ 15-25 ปีที่มีอาการเจ็บคอเรื้อรังคุณอาจเป็นโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโตได้ (glandular fever, infectious mononucleosis หรือ mono)
    • มะเร็ง : อาการเจ็บคออาจเป็นอาการของมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งลำคอ โดยมะเร็งประเภทนี้นับว่าหายาก และมักเกิดกับผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี
    • การสูบบุหรี่ : การเลิกสูบบุหรี่ จะลดการระคายเคืองในลำคอ และเพิ่มระดับการป้องกันภาวะติดเชื้อของร่างกายขึ้น ซึ่งแพทย์สามารถช่วยเหลือในเรื่องการเลิกบุหรี่ของคุณได้ด้วย

การป้องกันอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอมักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย จึงเป็นการยากที่จะทำการป้องกัน

แต่หากคุณมีอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อ คุณสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ด้วยการดูแลความสะอาด เช่น ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และทำความสะอาดพื้นผิวสิ่งของให้ปลอดเชื้อโรคอยู่เสมอ


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sore Throat | Community | Antibiotic Use. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/antibiotic-use/community/for-patients/common-illnesses/sore-throat.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เจ็บคอ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกัน และการดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการเจ็บคอ
เจ็บคอ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกัน และการดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการเจ็บคอ

เจ็บคอเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน ไม่จำเป็นต้องกินยาทุกครั้ง

อ่านเพิ่ม
เจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
เจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

อาการเจ็บคอเกิดจากอะไร รุนแรงได้แค่ไหน รักษาได้อย่างไรบ้าง รวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่นี่

อ่านเพิ่ม