ยาอมแก้เจ็บคอ มีอะไรบ้าง?
1. Strepsils
รูปแบบและส่วนประกอบของ Strepsils
Strepsil ผลิตโดยบริษัท Reckitt Benckiser ผู้แทนจำหน่ายโดยบริษัท DKSH โดย Strepsil เป็นยาในกลุ่มยาระงับเชื้อที่ใช้สำหรับในลำคอ สำหรับอม ตัวยาประกอบด้วย ไดคลอโรเบนซิล แอลกอฮอล์ (dichlorobenzyl alcohol) ขนาด 1.2 มิลลิกรัม เอมิลเมทาครีซอล (amylmetacresol) ขนาด 0.6 มิลลิกรัม และวิตามินซี ขนาด 100 มิลลิกรัม
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กลไกการออกฤทธิ์ของ Strepsils
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เอมิลเมทาครีซอลและไดคลอโรเบซิลแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการระงับเชื้อ
ข้อบ่งใช้ของ Strepsils
ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บคอและการติดเชื้อเล็กน้อยในช่องปาก ขนาดการใช้ยา อม 1 เม็ด ทุก 2-3 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ Strepsils
อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เจ็บลิ้น (เกิดได้น้อย)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ข้อมูลการใช้ Strepsils ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
ไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (NDD)
2. Mybacin
รูปแบบและส่วนประกอบของ Mybacin
Mybacin ผลิตโดยบริษัท Greater Pharma ผู้แทนจำหน่ายโดยบริษัท Greater Pharma โดย Mybacin เป็นยาในกลุ่มยาสำหรับแผลในช่องปากและการอักเสบในช่องปาก สำหรับอม ตัวยาประกอบด้วย นีโอไมซิน ซัลเฟต (neomycin sulfate) เทียบเท่ากับนีโอไมซิน 2.5 มิลลิกรัม บาซิเทรซิน (bacitracin) ขนาด 100 หน่วย และอะไมโลเคน ไฮโดรคลอไรด์ (amylocaine HCl) ขนาด 0.5 มิลลิกรัม
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กลไกการออกฤทธิ์ของ Mybacin
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ นีโอไมซิน ซัลเฟต และบาซิเทรซิน เป็นยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียได้กว้าง และอะไมโลเคน ไฮโดรคลอไรด์ มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ บรรเทาอาการรู้สึกเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ปากเปื่อย
ข้อบ่งใช้ของ Mybacin
ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บคอและการติดเชื้อเล็กน้อยในช่องปาก ช่วยให้รู้สึกชุ่มคอ ขนาดการใช้ยา อมครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 8-10 เม็ด
ข้อมูลการใช้ Mybacin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
ไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
3. Throatsil
รูปแบบและส่วนประกอบของ Throatsil
Throatsil ผลิตโดยบริษัท Millimed ผู้แทนจำหน่ายโดยบริษัท Prosp Pharma โดย Throatsil เป็นยาในกลุ่มยาสำหรับแผลในช่องปากและการอักเสบในช่องปาก สำหรับอม ตัวยาประกอบด้วย 2,4-ไดคลอโรเบนซิล แอลกอฮอล์ (2,4-dichlorobenzyl alcohol) ขนาด 1.2 มิลลิกรัม เอมิลเมทาครีซอล (amylmetacresol) ขนาด 0.6 มิลลิกรัม
กลไกการออกฤทธิ์ของ Throatsil
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เอมิลเมทาครีซอลและไดคลอโรเบซิลแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการระงับเชื้อ
ข้อบ่งใช้ของ Throatsil
ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บคอและการติดเชื้อเล็กน้อยในช่องปาก ขนาดการใช้ยา อม 1 เม็ด ทุก 2-3 ชั่วโมง สามารถอมได้ก่อนหรือหลังอาหาร
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ Throatsil
อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เจ็บลิ้น (เกิดได้น้อย)
ข้อมูลการใช้ Throatsil ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
ไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (NDD)
4. Cepacol
รูปแบบและส่วนประกอบของ Cepacol
Cepacol ผลิตโดยบริษัท Sanofi-Aventis ผู้แทนจำหน่ายโดยบริษัท DKSH โดย Cepacol เป็นยาในกลุ่มยาสำหรับแผลในช่องปากและการอักเสบในช่องปาก สำหรับอม ตัวยาเซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ (cetylpyridinium Cl) ขนาด 1.33 มิลลิกรัม และเบนซิล แอลกอฮอล์ (benzyl alcohol) ขนาด 6 มิลลิกรัม
กลไกการออกฤทธิ์ของ Cepacol
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ เป็นยาฆ่าเชื้อในกลุ่ม quaternary ที่มีฤทธิ์ระงับแบคทีเรีย กลไกคล้ายกับในสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ มีฤทธิ์ต่อทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และแกรมลบ เบนซิล แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการระงับเชื้อ
ข้อบ่งใช้ของ Cepacol
ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายเคืองคอ และการติดเชื้อในช่องปาก ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 3 ปี อมครั้งละ 1 เม็ดให้ยาอมละลายในปากช้าๆ
ข้อแนะนำในการใช้ Cepacol
ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีแผลในช่องปากระดับรุนแรง
ข้อมูลการใช้ Cepacol ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
ไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (NDD)