Prescription Drug Abuse
การไม่ปฏิบัติตามใบสั่งยาของแพทย์และอันตรายจากการใช้ยาแบบผิดๆ
ยังมีอีกหลายท่านพยายามที่จะไม่ทานยาตามใบสั่งแพทย์ และมีหลายเหตุผลที่คนเหล่านี้ไม่ยอมปฏิบัติตามใบสั่งแพทย์ นั่นเพราะพวกเขาคิดว่ายาที่แพทย์สั่งให้นั้นอาจมีฤทธิ์ยารุนแรงเกินไป ในขณะเดียวกันบางท่านกลับเชื่อว่ายาที่แพทย์สั่งให้นั้นปลอดภัยกว่าและไม่ทำให้เกิดอาการดื้อยาเหมือนการทานยาที่ซื้อจากร้านขายยา อย่างไรก็ตามพบว่าการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์แบบผิดๆ นั้นมีข้อเสียและเป็นอันตราย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
Angie มักได้ยินพ่อแม่ของเธอพูดถึงยารักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) ที่ใช้กับน้องชายของเธอว่ายานี้ทำให้น้องชายมีความอยากอาหารน้อยลง ในขณะที่เธอกำลังกังวลเรื่องน้ำหนักของตัวเอง เธอจึงลองแอบทานยาของน้องชายของเธอครั้งละ 1 เม็ดทุกๆ 2-3 วัน
Todd เห็นขวดยาแก้ปวดที่เหลือจากการรักษาการผ่าตัดของพ่อ เขาจึงลองทานยาที่เหลือดังกล่าว และเพราะเขามีอาการปวดหมอจึงเขียนใบสั่งยาให้เขา แต่เขาเข้าใจว่ายาของพ่อที่มีลักษณะเดียวกันน่าจะทดแทนยาที่หมอสั่งได้
ทั้ง Todd และ Angie ต่างกำลังอยู่ในภาวะความเสี่ยง ยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์หรือยาอื่นใด สามารถช่วยให้ผู้คนจำนวนมากมีสุขภาพที่ดีขึ้นและหายจากโรคหรือภาวะอันเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะความเครียด หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD) แต่ยาแต่ละตัวนั้นถูกกำหนดโดยแพทย์แล้วว่าเหมาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการใช้ยาร่วมกันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพได้
การทานยาที่ไม่มีใบสั่งจากแพทย์นั้นเป็นอันตรายมากกว่าที่หลายคนคิด เนื่องจากอาจทำให้เกิดการใช้ยาแบบผิดๆ และการใช้ยาที่ซื้อเองตามร้านค้านั้นถือว่าผิดกฎหมาย
เหตุใดยังมีอีกหลายท่านที่พยายามแอบใช้ยาตามใบสั่งของแพทย์
ยังมีอีกหลายท่านที่ทานยาตามใบสั่งของแพทย์ เพราะพวกเขาเชื่อว่ายาเหล่านี้ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง เหมาะกับอาการของโรคที่ตนเป็น หรืออาจทำให้พวกเขารู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้นนด้วย โดยยาตามใบสั่งแพทย์นั้นหาซื้อง่ายกว่ายาที่ไม่มีใบสั่งซึ่งต้องแอบซื้อ โดยอาจหาได้จากการถามไถ่ญาติที่ป่วยหรือมียาที่มีคุณสมบัติกับยาที่พวกเขาต้องการ และยาตามใบสั่งแพทย์บางตัวก็ถูกนำมาแอบขายแบบผิดกฎหมายตามท้องตลาดด้วยเช่นกัน
การละเมิดการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2012 พบว่าวัยรุ่นกว่า 24% ยืนยันว่า พวกเขาได้ใช้ยาที่มีใบสั่งแพทย์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดซึ่งผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้เป็นยาที่ถูกสั่งโดยแพทย์ให้มีการใช้โดยเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทำไม? บางคนถึงคิดว่ายาตามใบสั่งแพทย์มีความปลอดภัยและทำให้ติดน้อยกว่ายาที่หาซื้อเองตามท้องตลาด ซึ่งยาเหล่านี้ก็เป็นยาที่ แม่ พ่อ หรือพี่น้องของเราทานเพื่อรักษาอาการต่างๆ ยกตัวอย่างกรณีของ Angie ที่ทานยารักษาโรคสมาธิสั้นของน้องชายเพราะเข้าใจว่าเธอาอาจลดน้ำหนักลงได้ ซึ่งเธอเคยได้ยินมาว่าการทานยาลดความอ้วนนั้นอันตรายและเข้าใจว่ายาที่แพทย์สั่งให้น้องชายนั้นปลอดภัยกว่า
อย่างไรก็ตาม ยาที่แพทย์สั่งนั้นจะปลอดภัยได้เมื่อผู้ใช้ในใบสั่งยาเป็นผู้ใช้เอง เพราะแพทย์ได้วินิจฉัยโรคตามเฉพาะบุคคล ดังนั้นยาที่สั่งโดยแพทย์จึงเป็นยาที่ใช้เฉพาะบุคคลที่เหมาะสมทั้งปริมาณการใช้ยาและวิธีการรักษากับบุคคลนั้นๆ ซึ่งแพทย์จะระบุปริมาณและเวลาการทานยา รวมถึงแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผู้ป่วยควรเลี่ยงเมื่อทานยานั้นๆ เช่น ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือไม่ควรใช้ยาชนิดอื่นๆ ร่วมด้วยกับยาที่แพทย์สั่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้ว่ายาดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ที่เป็นอันตรายทำให้แพทย์ต้องคอยดูอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคนที่ลองใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ซึ่งเป็นยาของบุคคลอื่นในครอบครัว อย่างกรณีของ Todd โดยคนเหล่านี้จะคิดว่าพวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเพราะยาเหล่านี้ถูกสั่งโดยแพทย์ แต่จริงๆ แล้ว การใช้ยาที่ไม่มีใบสั่งแพทย์หรือการแบ่งปันยาที่แพทย์สั่งกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็เป็นการทำผิดกฎหมายเช่นกัน
ยาประเภทใดที่ผู้คนมักแอบใช้แบบผิดๆ มียา 3 ประเภท ดังนี้
- กลุ่มยาโอปิออยด์ (Opioids)
- เช่น oxycodone (OxyContin), hydrocodone (Vicodin), and meperidine (Demerol)
- คุณสมบัติทางการรักษา – ยาโอปิออยด์มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการปวด ลดอาการไอ และรักษาอาการท้องเสีย
- การออกฤทธิ์ทางยา – ยาโอปิออยด์จะทำงานโดยทำปฏิกิริยากับปุ่มโอปิออยล์บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) โดยยาจะป้องกันสมองจากการรับความรู้สึกเจ็บปวดทำให้ร่างกายสามารถทนต่ออาการปวดได้
- กลุ่มยากดประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System – CNS Depressants)
- เช่น pentobarbital sodium (Nembutal), diazepam (Valium), and alprazolam (Xanax)
- คุณสมบัติทางการรักษา – กลุ่มยากดประสาทเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อลดความวิตกกังวล อาการเครียด อาการหวั่นวิตก และอาการนอนไม่หลับ
- การออกฤทธิ์ทางยา – กลุ่มยากดประสาทจะส่งผลให้สมอง ระบบประสาทส่วนกลาง หรือระบบประสาททำงานได้ช้าลง โดยจะไปกระตุ้นให้สารส่งผ่านประสาทที่ชื่อ GABA ทำงาน ผลข้างคียงจากการทานยาคือ ผู้ป่วยจะมีอาการเซื่องซึม เชื่องช้า และมีอารมณ์ที่สงบลงอย่างเห็นได้ชัด
- กลุ่มยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System (CNS) Stimulants)
- เช่น methylphenidate (Ritalin) and amphetamine/dextroamphetamine (Adderall)
- คุณสมบัติทางการรักษา – กลุ่มยากระตุ้นประสาทเหล่านี้ถูกนำมาใช้พื่อรักษาภาวะง่วงเกิน/ลมหลับ และโรคสมาธิสั้น (ADHD)
- การออกฤทธิ์ทางยา – กลุ่มยากระตุ้นประสาทเป็นยาที่เพิ่มการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วย รู้สึกตื่นเต้น ไม่ง่วงนอน กระฉับกระเฉง มีแรงทำงาน ลดความเหนื่อยล้า มีอารมณ์เคลิ้มสุข สนุกสนาน และมีความอยากอาหารน้อยลง
การซื้อยาเองตามร้านขายยาทั่วไป
หลายท่านเข้าใจผิดว่า ยาที่แพทย์สั่งนั้นมีฤทธิ์รุนแรงซึ่งต้องมีคำสั่งแพทย์จึงจะทานได้ แต่ทว่าการซื้อยาทานเองกลับทำให้เกิดอาการเสพติดยาและดื้อยามากกว่า ตัวอย่างเช่น ยา dextromethorphan (DXM) ที่พบได้ในยาแก้ไอและมีจำหน่ายทั่วไป การทานยาตามปริมาณที่ฉลากระบุนั้นไม่มีปัญหาใดๆ แต่ถ้าคุณรับยามากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับประสาทสัมผัส โดยเฉพาะการมองเห็นและการฟังได้ นอกจากนี้อาจนำไปสู่อาการสับสนมึนงง การปวดท้อง หรือมีอาการประสาทหลอน
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ยาแบบผิดๆ
การใช้ยาที่หาซื้อเองหรือการพยามรักษาโรคเอง อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาได้ ไม่ว่าจะที่โรงเรียน ที่บ้าน กับเพื่อน หรือผิดกฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำให้ผู้ที่รับยานั้นๆ ไปเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม ตกเป็นเหยื่อ หรือประสบอุบัติเหตุ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การใช้ยาที่แพทย์สั่งในทางที่ผิดนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการใช้ยาที่ผิดกฎหมายนั่นแหละ เนื่องจากต่างนำมาซึ่งความเสี่ยงจากการใช้ เฃ่น กลุ่มยาโอปิออยด์ที่จะทำให้ผู้รับยามีอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เกิดภาวะที่ความสามารถทางการคิดและกระบวนการรับรู้ของสมองลดลง ไปจนถึง ตัวยาจะไปกดระบบการทำงานของทางเดินหายใจ เกิดอาการโคม่า และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยเฉพาะอันตรายจากผลข้างเคียงจะมีสูงขึ้นเมื่อยาถูกนำไปใช้ควบคู่กับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทานยากลุ่มโอปิออยด์แล้วดื่มแอลกอฮอล์ ยาแก้แพ้ ยารักษาโรคภูมิแพ้ หรือใช้ร่วมกับยากดประสาทตัวอื่นๆ เป็นต้น
ยากดประสาทนั้นค่อนข้างอันตรายและอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ใช้ ซึ่งการหยุดยาหรือลดปริมาณการใช้ยาแบบกระทันหันอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักได้ นอกจากนี้ การใช้ยากดประสาทร่วมกับการรักษาอื่นๆ ด้วย เช่น การทานยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ระบบการเต้นของหัวใจและระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
การใช้ยากระตุ้นประสาทอย่างยารักษาโรคสมาธิสั้น อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดภาวะหัวใจวายหรือชักได้ ความเสี่ยงที่ว่านี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้ยากระตุ้นประสาทร่วมกับการรักษาอื่นๆ ด้วย เช่น การใช้ร่วมกับยาแก้หวัด เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยากระตุ้นประสาทในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติ และอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ การทานยาในปริมาณที่มากเกินในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการก้าวร้าวหรือเกิดอาการหวาดระแวงได้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าการใช้ยากระตุ้นประสาทจะไม่สามารถดูออกได้ว่าผู้ป่วยมีอาการเสพติดยา แต่ผู้ป่วยเองจะรู้สึกได้เองว่าพวกเขามีความต้องการการใช้ยาปริมาณมากขึ้นและถี่ขึ้นจนไม่สามารถหยุดยาเหล่านี้ได้
อันตรายจากการใช้ยาตามแพทย์สั่งแบบผิดๆ นั้นนำมาซึ่งความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายหากผู้ใช้เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ถูกระบุในใบสั่งแพทย์ อย่างยา Ritalin ที่อาจดูเหมือนว่าจะไม่มีอันตรายใดๆ เนื่องจากเป็นยาที่ใช้อย่างถูกต้องตามใบสั่งแพทย์เพื่อการรักษาโรคสมาธิสั้น แต่หากถูกใช้เมื่อไม่มีความจำเป็นหรือผิดวัตถุประสงค์ เช่น สูดเข้าทางจมูก หรือฉีดเข้ากระแสเลือด ยา Ritalin จะก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นปริมาณการใช้ยาและระยะเวลาการรักษาจึงแตกต่างกันในแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งผู้ที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์จึงจะไม่มีทางทราบได้เลยว่าปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมเพื่อการรักษา
อาจเป็นไปได้ว่าผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเหล่านี้คือการเสพติดยา ซึ่งผู้ที่ใช้ยาแบบผิดๆ นั้นจะติดยาได้ง่ายพอๆ กับการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมายอื่นๆ และเหตุผลที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการควบคุมโดยคำสั่งแพทย์
นั่นเพราะพวกเขามีพฤติกรรมของการเสพติดยาที่ใช้อยู่ ดังนั้นแพทย์จะไม่เขียนใบสั่งยาให้โดยที่ไม่ได้พบและวินิจฉัยอาการกับผู้ป่วยโดยตรงซึ่งแพทย์ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ต้องการยาเพียงเพราะพวกเขาเสพติดยาที่แพทย์สั่ง
แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่าคุณกำลังเสพติดยาที่แพทย์สั่ง
มีหลายสัญญาณที่บ่งชี้ให้ทราบได้ว่าคุณกำลังติดยาที่แพทย์สั่ง สัญญาณที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ คุณจะมีความต้องการทานยานั้นอยู่โดยตลอด นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด และความรู้สึกกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ก็เป็นสัญญาณที่บอกได้ว่าคุณกำลังเสพติดยา
หากคุณคิดว่า คุณเองหรือเพื่อนของคุณกำลังเสพติดยาที่แพทย์สั่ง ให้คุณรีบปรึกษาแพทย์ อาจารย์ที่ปรึกษา พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเสพติดกลุ่มยากดประสาทและกำลังต้องการเลิก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษาและเลิกยาอย่างถูกต้อง เนื่องจากการเลิกยาอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการรักษาผู้ที่เสพติดยาตามใบสั่งแพทย์มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลและประเภทของยาที่ทานเข้าไป จึงมีวิธีการรักษาหลักๆ 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมบำบัดและเภสัชบำบัด
โดยพฤติกรรมบำบัดจะแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและมีสุขภาพที่ดีได้โดยไม่ต้องพึ่งยา เช่น การจัดการกับความต้องการยา วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ยา การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะนำให้กลับไปใช้ยาอีก และการป้องกัน รวมถึงการจัดการกับอาการที่อยากกลับมาใช้ยาอีกครั้ง ส่วนเภสัชบำบัดนั้นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาผู้ป่วยด้วยยาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลิกยาได้และไม่ให้ผู้ป่วยมีความต้องการยา
คำแนะนำการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์
จะทำอย่างไรถ้าแพทย์สั่งยาให้คุณ แต่คุณกังวลว่าคุณอาจติดยานั้น? หากคุณกำลังใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ต้องกังวลไป เพราะแพทย์จะสั่งยาในปริมาณที่เหมาะสมกับอาการของโรค และปริมาณยาที่เหมาะสมจะไม่ทำให้คุณเสพติดยานั้นๆ แน่นอน
หากแพทย์สั่งยาให้คุณ เช่น ยาแก้ปวด ยากระตุ้นประสาท หรือยากดประสาท ให้คุณทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตตามคำแนะนำเหล่านี้
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ แพทย์อาจนัดพบคุณถี่สักหน่อย นั่นเพราะแพทย์ต้องการควบคุมดูแลอาการป่วยของคุณอย่างใกล้ชิด และดูว่ายาที่สั่งให้นั่นใช้ได้ดีกับโรคที่คุณเป็น นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้แพทย์ได้ปรับปริมาณยาให้เหมาะสมได้ด้วย โดยยาบางตัวแพทย์อาจสั่งให้หยุดทานหรือเปลี่ยนตัวยาเพื่อป้องกันอาการเสพติดยาของผู้ป่วยนั่นเอง
- จดบันทึกผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาที่มีต่อร่างกายและอารมณ์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 วันแรกที่ทานยา แล้วแจ้งแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- เก็บข้อมูลการใช้ยาที่เภสัชกรแนะนำเกี่ยวกับยาและการใช้ยา ซึ่งคุณต้องใส่ใจต่อคำแนะนำดังกล่าว และพยายามอ่านข้อมูลนั้นๆ ซ้ำบ่อยๆ ว่าสิ่งใดหรือพฤติกรรมใดที่ควรเลี่ยงเมื่อทานยา หากข้อมูลที่ได้มานั้นมีรายละเอียดมากเกินไป คุณอาจขอให้ผู้ปกครองหรือเภสัชกรช่วยเน้นและสรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้ยาให้คุณ
- อย่าเพิ่มหรือลดปริมาณการใช้ยาด้วยตัวของคุณเองโดยไม่ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเป็นอันขาด แม้จะเกิดผลข้างเคียงใดๆ เกิดขึ้น แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์หากเกิดผลข้างเคียงที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ
ผู้ป่วยต้องไม่ใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ซึ่งระบุเป็นชื่อของผู้อื่นโดยเด็ดขาด และต้องไม่ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวใช้ยาของคุณ ผลกระทบจะไม่เพียงเกิดขึ้นกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณเท่านั้น แต่จะเกิดผลกระทบต่อการรักษาโรคของคุณโดยตรงด้วย เนื่องจาก เภสัชกรจะไม่สามารถเพิ่มยาให้คุณได้หากช่วงเวลาของการทานยายังไม่ครบกำหนด และที่แย่กว่านั้นคือ หากคุณนำยาของคุณไปให้ผู้อื่นใช้ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจนทำให้คุณต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลไปเสียอีก
ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/prescription-drug-abuse.html