กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Adderall (แอดดีรัล)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยา Adderall เป็นยารักษาโรคสมาธิสั้น และโรคลมหลับ รวมถึงช่วยเพิ่มสมรรถภาพ สมาธิ การคิดวิเคราะห์ที่ฉับไวขึ้นในนักกีฬา
  • การออกฤทธิ์ของยา Adderall จะเข้าไปเพิ่มการหลั่งสารในสมองเพื่อกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว กระฉับกระเฉงมากขึ้น
  • ยา Adderall มีส่วนผสมของเกลือแอมเฟตามีน หรือยาบ้า ทำให้ผู้ใช้อาจเกิดอาการเสพติดเกินขนาดได้ จึงต้องใช้ยาในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • ยา Adderall ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย อีกทั้งมีกลุ่มผู้ป่วยหลายกลุ่มที่ต้องใช้ยานี้อย่างระมัดระวัง เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และหลอดเลือด ผู้ใช้แอลกอฮอล์ และยา
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

แอดดีรัล (Adderall) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) และโรคลมหลับ (Narcolepsy) ซึ่งเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา 

Adderall ยังเป็นตัวยาที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพของนักกีฬา นักกีฬาอีสปอร์ต (E-sport) เพื่อให้มีการตอบสนองของร่างกาย หรือความคิดให้รวดเร็วฉับไว ในต่างประเทศมีการนำยาแอดดีรัลมาใช้เป็น “ยาเพิ่มเกรด” เพื่อทำให้มีสมาธิ และเพิ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ คนวัยทำงานก็มีการหาซื้อยานี้มาใช้เพื่อให้สามารถทำงานได้อึดขึ้นเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างการใช้ดังกล่าวเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะเมื่อฤทธิ์ของยา Adderall หมดลง ร่างกายจะเกิดอาการเพลียมากกว่าเดิม และอาจเกิดการเสพติดเช่นเดียวกับการใช้ยาบ้าได้

Adderall ประกอบด้วยเกลือของแอมเฟตามีน (Amphetamine) ได้แก่ 

  • เกลือลีโวแอมเฟตามีน (Levoamphetamine salts) ปริมาณ 25% 
  • เกลือเดกซ์โทรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine salts) ปริมาณ 75% 

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Adderall

Adderall ออกฤทธิ์โดยเพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทนอร์อิพิเนฟรีน (Norepinephrine) และโดพามีน (Dopamine) จากสมอง เพื่อกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง (Central nervous system: CNS) ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้นานขึ้น

ขณะเดียวกัน Adderall ก็มีฤทธิ์ช่วยลดอาการง่วงจึงช่วยรักษาอาการลมหลับ (Narcolepsy) ซึ่งมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติได้ด้วย

ขนาดยา Adderall ที่มีจำหน่าย

ยา Adderall ที่มีจำหน่ายเพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) และโรคลมหลับ (Narcolepsy) จะเป็นชนิดยาเม็ดเคลือบออกฤทธิ์เนิ่น (จะค่อยๆ ออกฤทธิ์ช้าๆ อย่างต่อเนื่อง) ขนาดยาได้แก่ 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขนาดรับประทานมีดังนี้

  • ขนาดยาที่ใช้รักษาในผู้ใหญ่ รับประทาน 5 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง ปรับยาเพิ่มได้สัปดาห์ละ 5 มิลลิกรัม จนสามารถควบคุมอาการได้ ขนาดยาสูงสุด ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขนาดยาที่ใช้รักษาในเด็กอายุ 3-5 ปี รับประทาน 2.5 มิลลิกรัม ต่อวัน ปรับยาเพิ่มได้สัปดาห์ละ 2.5 มิลลิกรัม จนสามารถควบคุมอาการได้ ขนาดยาสูงสุด ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขนาดยาที่ใช้รักษาในเด็กอายุ 6-17 ปี รับประทาน 5 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง ปรับยาเพิ่มได้สัปดาห์ละ 5 มิลลิกรัม จนสามารถควบคุมอาการได้ ขนาดยาสูงสุด หากจำเป็นสามารถใช้ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน (พบได้ยากมากที่จะใช้ปริมาณยาสูงขนาดนี้)

อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย เนื่องจากมีส่วนผสมของแอมเฟตามีน ซึ่งอาจทำให้เกิดการนำยาไปใช้ในทางที่ผิดและไม่สามารถควบคุมได้ 

ส่วนในต่างประเทศ เช่น ประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา การใช้ยาตัวนี้ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยา Adderall

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ตามปกติ เมื่อใช้ยาในขนาดรักษาปกติ ได้แก่

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช้ยาเกินขนาด ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ได้แก่

  • ไม่สามารถควบคุมสติได้ 
  • กล้ามเนื้อถูกทำลาย 
  • เกิดอาการจิตเภท

Adderall กับการเสพติดยา

เนื่องจากตัวยาแอดดีรัลมีส่วนประกอบของเกลือแอมเฟตามีน หรือยาบ้า จึงทำให้อาจเกิดการเสพติดได้หากใช้เกินขนาดรักษา สามารถทำให้เกิดอาการเคลิ้มฝันหรือรู้สึกมีความสุขมากผิดปกติ (Euphoria) 

ดังนั้นการใช้ยาเพื่อการรักษาจึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

คำเตือน และข้อควรระวังในการใช้ยา Adderall อย่างปลอดภัยมีดังต่อไปนี้

  • ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงความดันโลหิตสูง เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือด (Stroke) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heat attack) หรือการตายเฉียบพลันได้ (Sudden death)
  • ควรระมัดระวังการใช้ยาแอดดีรัลในผู้ป่วยโรคจิตเภท หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะจะทำให้อาการจิตเภทแย่ลงได้
  • ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้อาจไม่สามารถใช้ยาได้ และควรขอแนะนำจากแพทย์ก่อน ได้แก่ 
    ผู้ป่วยโรคต้อ (Glaucoma) ไทรอยด์เป็นพิษ (Overactive thyroid) มีภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง (Severe anxiety or agitation) โรคอารมณ์ 2 ขั้ว (Bipolar) โรคลมชัก (Seizures หรือ Epilepsy) ผู้ที่มีภาวะโรคตับ และไต ผู้ที่มีการใช้แอลกอฮอล์ หรือติดยา 
  • ควรแจ้งแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้งถึงโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยาในปัจจุบัน และประวัติการแพ้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ยาซ้ำ และยาเกิดปฏิกิริยาตีกัน เนื่องจากยา Adderall อาจขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาชนิดอื่นหรือเสริมฤทธิ์ยาชนิดอื่นให้รุนแรงขึ้นได้ 
  • หากใช้ยา และมีอาการหายใจไม่สะดวก ลำคอตีบตัน ผื่นขึ้นตามตัว เนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ บวม เช่น บริเวณตาและปาก ควรหยุดยา และพบแพทย์ทันที เนื่องจากผู้ใช้อาจเกิดอาการแพ้ยาได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adderall (Adderall XR) - Side Effects, Dosage, Interactions. Everyday Health. (Available via: https://www.everydayhealth.com/drugs/adderall)
Adderall Effects - Short Term, Long Term & Side Effects. DrugAbuse.com. (Available via: https://drugabuse.com/adderall/effects-use/)
Side Effects of Adderall (Amphetamine, Dextroamphetamine Mixed Salts), Warnings, Uses. RxList. (Available via: https://www.rxlist.com/adderall-side-effects-drug-center.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)