ความหมาย
ได้รับพิษจากปรอท เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับปรอทเกินขีดจำกัดของร่างกายที่จะกำจัดออกได้ คือมีระดับปรอทในเลือดสูงกว่า 200-500 ug/L และในเส้นผมผู้ใหญ่สูงกว่า 50-125 ug/g
สาเหตุ
จากการสัมผัส สูดดมและการรับประทานสารปรอท ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงาน หรือขาดความระมัดระวังจากผู้ที่ทำงานโรงงานผลิตสารที่ผสมปรอท (ผลิตเทอร์โมมิเตอร์ สารเคมีกำจัดแมลง เชื้อรา ทำวัตถุระเบิด ผลิตครอรีนและโซดาไฟ) อุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชุบโลหะ ผลิตกระดาษ ทอผ้า น้ำยาซักแห้ง อาจเกิดจากความจงใจฆ่าตัวตายหรือประท้วง หรือรับประทานปลาหรือหอยที่มีสาร Methyl mercury ผสมอยู่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อปรอทเข้าสู่ร่างกายจะแตกตัวเป็นไอออน ซึ่งไอออนเหล่านี้จะขัดขวางกระบวนการทางชีวเคมีที่สร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างพลังงานผิดปกติเกิดภาวะกรดและมีการทำลายและตายของเซลล์และเนื้อเยื่อในระบบต่าง ๆ หากเป็นที่ไตจะพบว่าสูญเสียน้ำตาล โปรตีน และกรดอมิโนโดยจะถูกขับออกไปทางปัสสาวะ สารปรอทอาจทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ มีฤทธิ์ลายเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะบกพร่องออกซิเจน ปรอท สามารถสะสมที่สมองได้
อาการ
ผู้ป่วยมีอาการไอ หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก จากการสูดดมสารปรอท มีไข้ อ่อนเพลีย มีน้ำลายมาก ปวดศีรษะ มีอาการปวดแสบปวดร้อนในช่องปาก มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาจทำให้มีกรสูญเสียการได้ยินและการมองเห็น มีอาการซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด ตกใจง่าย นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม เบื่ออาหาร ลำไส้อักเสบ บางรายอาจมีอาการทางไต
การวินิจฉัยโรค
จากประวัติผู้ป่วย เช่น มีอาชีพเสี่ยงต่อการได้รับสารปรอท สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยการรับประทานอาหารและน้ำดื่มจากแหล่งที่มีสารปรอทปนเปื้อน จากการตรวจร่างกายจะพบอาการผิดปกติของระบบประสาท ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ และทางเดินปัสสาวะ และจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารปรอทในเลือดในรายที่เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากปรอท พบว่ามีระดับปรอทสูงกว่า 200-500 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร อาจตรวจจากเส้นผมได้สารปรอทสูงกว่า 50-125 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
นอกจากนี้ควรตรวจเลือดดูหน้าที่ของไต ตรวจพอเศษเพื่อดูการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น การทำงานของระบบประสาท เป็นต้น
การรักษา
ให้ยาเร่งการขับสารปรอท เช่น ยา Dimercaprol 3-5 mg/kg ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ทุก 4-12 ชั่วโมง กระตุ้นให้อาเจียนหากเป็นสารปรอทชนิดเมอร์คิวรัสคลอไรด์ เพราะจะทำให้สารปรอทชนิดนี้ย้อนไปกัดหลอดอาหารมากขึ้น ต้องให้ผงถ่าน ยาละลายพวกแมกนีเซียมซัลเฟตแทนโดยระวังอาการท้องเสีย ให้ยาเร่งขับปรอทพวก Sulfydryl เช่น Dimercaprol, D-penicillamine ถ้าอยู่ในระยะเรื้อรัง คือพ้นระยะเฉียบพลัน ให้ D-penicillamine ขนาด 100 mg/kg/day ไม่เกิน 2 gm ในผู้ใหญ่แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง ระวังในผู้ป่วยที่แพ้เพนิซิลลิน นอกจากนี้รักษาตามอาการ เช่น ซีด ตับอักเสบ เป็นต้น
การพยาบาล
ซักประวัติเกี่ยวกับอาชีพ สภาพแวดล้อมที่สัมผัสกับสารปรอท แหล่งอาหาร น้ำดื่มที่มีสารปรอทปนเปื้อน ตรวจร่างกายเพื่อประเมินระดับความรู้สึกตัว บันทึกสัญญาณชีพ ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาสารปรอท ตรวจจากเส้นผม ติดตามผลตรวจเลือดเพื่อดูหน้าที่ไต ปอด ทำทางเดินหายใจให้โล่ง ให้ออกซิเจนทางเครื่องช่วยหายใจ ให้ยาขยายหลอดลม หากผู้ป่วยได้รับสารปรอทเมอร์คิวริกคลอไรด์จะไม่ล่างท้อง เพราะปรอทอินทรีย์ไม่ดูดซึมทางลำไส้ แต่จะกระตุ้นให้อาเจียนโดยให้น้ำเชื่อม ไอปิแคก (Syrup of Ipecac) ระวังการสำลักเข้าปอด เพราะสารปรอทอาจกัดเนื้อปอดได้
หากได้รับสารปรอทชนิดเมอร์คิวรัสคลอไรด์ ห้ามกระตุ้นให้อาเจียน เพราะจะย้อนไปกัดหลอดอาหารมากขึ้น ให้สารที่ลดการดูดซึมและเร่งการขับปรอท ได้แก่ ผงถ่าน ยาระบายพวกแมกนีเซียมซัลเฟตโดยต้องระวังอาการท้องเสีย ให้ยาเร่งสารปรอท เช่น Sulfydryl (Dimercaprol) 3-5 mg/kg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทุก 4-12 ชั่วโมง
ต่อมาบันทึกสัญญาณชีพและตรวจดูระบบประสาท ติดตามผลการตรวจเลือดดูระดับสารปรอท ดูหน้าที่ของไต บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกร่างกาย ทุก 8 ชั่วโมง (ในระยะเฉียบพลันตวงปัสสาวะ ทุก 1 ชั่วโมง) ติดตามผลการตรวจเลือดหาอิเล็กโทรไลด์ ก๊าซในเลือดแดง ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารให้เพียงพอ ดูแลความสะอาดปากฟัน ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด ให้การพยาบาลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย คลายความวิตกกังวล ยอมรับและปรับตัวกับสภาพความเจ็บป่วยจากพิษปรอท