สิ่งที่คุณควรทำเมื่อผลการตรวจเลือดของคุณออกมาผิดปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สิ่งที่คุณควรทำเมื่อผลการตรวจเลือดของคุณออกมาผิดปกติ

ลองนึกภาพว่าคุณเพิ่งได้รับผลการตรวจเลือดครั้งล่าสุดแล้วปรากฏว่าผลการตรวจบางตัวนั้นไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณควรจะต้องกังวลหรือไม่? คำตอบก็คือมันแล้วแต่บุคคล เพราะว่าในการตรวจบางอย่างนั้น การที่ค่าผิดปกติไปเพียงเล็กน้อยนั้นไม่ได้ทำให้สุขภาพของคุณหรือการรักษาเปลี่ยนไปแต่อย่างใด

เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับค่าปกติและการแปลผลการตรวจเลือด

เมื่อคุณได้รับผลการตรวจ คุณอาจจะพบว่ามีการระบุค่าปกติของการทดสอบแต่ละอย่างไว้ เช่นหากคุณตรวจแคลเซียมในเลือด ห้องปฏิบัติการอาจระบุค่าปกติที่ 8.3-9.9 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้นหากค่าแคลเซียมในเลือดของคุณอยู่ที่ 9.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คุณก็มั่นใจได้ว่าค่าแคลเซียมในเลือดของคุณนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ถ้าหากผลการตรวจของคุณอยู่ในเกณฑ์ค่อนไปทางต่ำหรือสูงของค่าปกติ หรืออาจจะมากกว่าค่าปกติเพียงเล็กน้อย ก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะผลการตรวจเลือดเหล่านี้ค่อนข้างขึ้นกับแต่ละห้องปฏิบัติการ และสำหรับบางคน ผลการตรวจเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขามีสุขภาพผิดปกติแต่อย่างใด

ตัวอย่างเช่น การตรวจค่า BUN (blood urea nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังจากการสลายโปรตีนในอาหาร ก่อนที่จะขับออกจากร่างกายทางไต ดังนั้นการที่มีระดับ BUN ที่สูงนั้นจึงหมายความว่าการทำงานของไตของคุณนั้นแย่ลง แต่หากผลการตรวจของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางสูง นั่นก็อาจจะไม่ได้ผิดปกติ เนื่องจากค่า BUN นี้สามารถสูงขึ้นได้หากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นหากคุณทำการอดอาหารมาก่อนการเจาะเลือด

นอกจากนั้น ผลการตรวจเหล่านี้ยังอาจเปลี่ยนแปลงได้จาก 

  • ร่างกายของคุณเพิ่งมีการติดเชื้อ
  • ผลข้างเคียงของยา
  • ความเครียด
  • เพศ
  • อายุ
  • ความผิดพลาดทางห้องปฏิบัติการ

ดังนั้นในการแปลผลการตรวจเลือดนั้นจึงจะต้องทำการแปลผลทุกอย่างร่วมกัน เพราะว่ามันขึ้นกับแต่ละบุคคล ขึ้นกับอาการแสดงที่เกิดขึ้น และภาวะอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำการเจาะเลือด

สิ่งที่คุณควรกังวล

ดังนั้นแทนที่คุณจะดูผลการตรวจเลือดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งว่าปกติหรือไม่ แพทย์จึงมักจะทำการดูผลการตรวจในระยะยาวแล้วทำการเปรียบเทียบ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะมีผลการตรวจที่ปกติมาโดยตลอดแล้วเกิดตรวจได้ผลผิดปกติ นั่นก็ยังอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดปกติ แต่ถ้าหากว่าคุณนั้นอยู่ในเกณฑ์ค่อนต่ำมาโดยตลอดแล้ววันนี้ผลการตรวจของคุณเกิดสูงผิดปกติ นั่นจึงเป็นเรื่องที่ควรกังวล

ตัวอย่างเช่น หากคุณทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกๆ 3 ปี (ตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับบุคคลที่มีอายุมากกว่า 45 ปีที่มีผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ) ค่าปกติของการตรวจดังกล่าวนั้นจะอยู่ที่ระหว่าง 60-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากตรวจแล้วอยู่ที่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นั้นจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ “กำลังจะเป็นโรคเบาหวาน” หากคุณตรวจเลือดแล้วพบว่าระดับน้ำตาลของคุณมักจะอยู่ที่ 81-82 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ผลการตรวจครั้งล่าสุดนั้นอยู่ที่ 98 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นั่นก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่แพทย์อาจจะเริ่มสอบถามเกี่ยวกับอาหารที่คุณรับประทาน, น้ำหนักตัวของคุณเพิ่มขึ้นหรือไม่? หรือว่าคุณได้รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากกว่าปกติหรือไม่เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงขึ้นอย่างฉับพลัน

แต่ค่าการตรวจบางอย่างก็มักจะไม่เปลี่ยนแปลง เช่นการตรวจค่าเอนไซม์ของตับที่เรียกว่า ASR (aspartate aminotransferase) และ ALT (alanine aminotransferase) หากค่าการตรวจดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ปกติมาโดยตลอดแล้วเกิดผิดปกติ นั่นก็มักจะหมายความว่าเกิดความผิดปกติในการทำงานของตับ ซึ่งแพทย์จะต้องค้นหาสาเหตุต่อไป

แล้วฉันควรทำอย่างไร?

คุณควรเข้ารับการตรวจร่างกายประจำปีเป็นประจำ แม้ว่าคุณจะคิดว่าตนเองแข็งแรงดีก็ตาม เพราะว่าการมีผลการตรวจเลือดอยู่ในบันทึกมาโดยตลอดนั้นทำให้แพทย์สามารถติดตามสุขภาพของคุณได้ง่ายขึ้น และทำการตรวจเพิ่มเติมหากคุณมีผลการตรวจเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนสูงหรือค่อนต่ำจนเกินไป ดังนั้นอย่าแปลผลเลือดเอง แต่ให้แพทย์เป็นผู้แปลและให้คำแนะนำแก่คุณเองจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What to do when blood test results are not quite "normal". Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/blood-test-results-not-quite-normal-201606029718)
Understanding Common Blood Tests and What They Mean. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/understanding-common-blood-tests-and-what-they-mean-3156935)
10 Important Blood Tests: What They Show, Why They’re Done, More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/blood-tests)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป