ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรได้รับการประเมินด้านอาการแสดงเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการดูแลรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและสมอง หรือเสียชีวิตจากความรุนแรงของโรค
ลักษณะอาการของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจทำให้เกิดอาการกะทันหันขึ้นดังต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- มีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ
- มีผื่นบวมที่กดแล้วไม่ยุบตัวลง
- เจ็บคอ
- อ่อนไหวต่อแสงจ้า
- ง่วงนอนหรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
- ชัก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ไม่มีสมาธิ
หากคุณมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป ซึ่งวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็ก (โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี)
- ผู้สูงอายุ (โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)
- ผู้ติดสุรา
- ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง เอสแอลอี มะเร็ง โรคเอดส์ เป็นต้น
- เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดม้าม เช่น การผ่าตัดม้ามเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียรักษาโรคธาลัสซีเมีย เพราะม้ามเป็นอวัยวะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคให้กับร่างกาย
- เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง เช่น ในผู้ป่วยทางเดินน้ำไขสันหลังอุดตันจากมะเร็งที่จำเป็นต้องผ่าตัดระบายน้ำไขสันหลังเข้าสู่ช่องท้อง จึงทำให้เชื้อโรคจากช่องท้องเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองและสมอง
- เป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบหรือหูน้ำหนวก) หรือไซนัส (ไซนัสอักเสบ) เรื้อรัง
- การอยู่ร่วมกันอย่างแออัด เช่น ในชุมชนแออัดและในค่ายทหาร ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเป็นโรคติดต่อต่างๆ
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
การวินิจฉัยโรค
การเจาะน้ำไขสันหลัง
ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่สงสัยว่าอาจจะมีการติดเชื้อที่ระบบประสาททุกรายควรได้รับการเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แน่นอนและแม่นยำในการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะสามารถช่วยให้พบความผิดปกติต่างๆ ของน้ำไขสันหลังได้
ตัวอย่างความผิดปกติ เช่น ความดันน้ำไขสันหลังสูงกว่าปกติ น้ำไขสันหลังขุ่น (ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดเป็นหนอง) มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลและโปรตีน มีการเปลี่ยนแปลงของชนิดและปริมาณของเม็ดเลือดขาว ตรวจพบเชื้อก่อโรคจากการนำน้ำไขสันหลังไปตรวจย้อมสีหรือเพาะเชื้อ เป็นต้น
ความผิดปกติของน้ำไขสันหลังนี้จะมีลักษณะจำเพาะตามสาเหตุของโรค จึงนำมาใช้ในการแยกแยะสาเหตุได้อย่างแม่นยำ แต่ควรประเมินภาวะที่อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสมองจากการเจาะน้ำไขสันหลังก่อนทำด้วย
ข้อห้ามของการเจาะน้ำไขสันหลัง
1. ผู้ป่วยมีอาการแสดงที่บ่งชี้ถึงการสูญเสียการทำงานของสมองเฉพาะที่ (focal neurological deficit)
2. ผู้ป่วยมีอาการแสดงบ่งชี้ถึงภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะอย่างรุนแรง เช่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตสูง ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง
3. ผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่จะเจาะน้ำไขสันหลัง
4. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
5. ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรง เช่น มีอาการชักอย่างต่อเนื่องที่ยังไม่ตอบสนองต่อยากันชัก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นอกจากนี้ยังอาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม ตามอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุและประเมินความรุนแรงของโรค เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ การถ่ายภาพสมองที่อาจมีอาการบวมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพรังสีบริเวณปอดหรือไซนัส เพื่อตรวจดูการติดเชื้อในบริเวณอื่นที่อาจเกี่ยวเนื่องกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส เป็นต้น
การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล แล้วให้การรักษาไปตามอาการ และให้ยารักษาเฉพาะตามสาเหตุ ได้แก่
- การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้และบรรเทาอาการปวด ยากันชัก การให้น้ำเกลือในรายที่อาเจียนมากหรือกินไม่ได้ การให้อาหารทางสายยางในรายที่กินไม่ได้ การเจาะคอช่วยหายใจในรายที่หมดสติ การเจาะหลังเพื่อลดความดันน้ำไขสันหลัง เป็นต้น
ในรายที่มีโรคลมชักแทรกซ้อน จำเป็นต้องให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) เฟนิโทอิน (Phenytoin) รักษาอย่างต่อเนื่อง - การให้ยารักษาเฉพาะตามสาเหตุ ได้แก่
- ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แพทย์จึงให้การรักษาประคับประคองตามอาการเป็นหลัก แล้วอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบใด ๆ ต่อร่างกาย ผู้ป่วยอาจรักษาด้วยตนเองได้โดยการนอนพักผ่อน ดื่มน้ำให้มาก ๆ และกินยาลดไข้และบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้แพทย์อาจสั่งจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อลดการบวมในสมอง ยากันชัก (Anticonvulsant) เพื่อควบคุมการชักของผู้ป่วย หรือยาต้านไวรัสถ้าเกิดจากการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes virus)
- ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ (เข้าเส้นเลือดดำ ) และหลังจากหายแล้วยังต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนด้วย เช่น ตาบอด หูหนวก หรือชัก
- ถ้าเกิดจากเชื้อวัณโรค แพทย์จะให้การรักษาด้วยยารักษาวัณโรคนาน 6-9 เดือน
- ถ้าเกิดจากเชื้อรา แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ แอมโฟเทอริซินบี (Amphotericin B), ฟลูโคนาโซล (Fluconazole), ไอทราโคนาโซล (Itraconazole)
- ถ้าเกิดจากเชื้ออะมีบา แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาแอมโฟเทอริซินบี (Amphotericin B) ร่วมกับยาอื่น ๆ เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole), ไรแฟมพิซิน (Rifampicin), เตตราไซคลีน (Tetracycline)
- ถ้าเกิดจากพยาธิ ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการและทำการเจาะหลังซ้ำบ่อย ๆ เพื่อลดความดันน้ำไขสันหลังให้กลับลงสู่ปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) เพื่อช่วยลดระยะเวลาของการปวดศีรษะ และลดจำนวนครั้งของการเจาะหลังลง
การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เนื่องจากโรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ดังนั้น การป้องกันที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อโดยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (ตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ) นอกจากนั้นคือ
1. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและการติดเชื้อ
2. หลีกเลี่ยงการดื่มหรือกินอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น
3. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน และพักผ่อนให้เพียงพอ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และรู้จักการใช้หน้ากากอนามัย
5. รักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดี เช่น ถ้าเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวก) หรือไซนัสอักเสบ ควรรีบรักษาให้หายขาด อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเข้าสมอง
6. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดและพยาธิหอยโข่ง โดยการไม่กินกุ้ง ปลา หรือหอยโข่งแบบดิบๆ
7. ผู้ที่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะแนะนำให้กินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin)
8. หากมีการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นการติดเชื้อชนิดที่ร้ายแรง แพทย์จะแนะนำให้กินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรค
9. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหรือเชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (แต่เชื้อส่วนใหญ่จะยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้)
วัคซีนสำหรับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัคซีนไม่สามารถป้องกันภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง และยาบางชนิดได้ อย่างไรก็ตาม มีวัคซีนเหล่าที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดคือ เชื้อไนซีเรียเมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitidis) เชื้อฮิโมฟิลุสอินฟลูเอนซาชนิดบี (Haemophilus influenza type b: Hib) และสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ที่ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ได้ ดังนี้
วัคซีนป้องกัน Hib และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ
- ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน Hib อยู่ 6 ตัว โดยบางตัวต้องใช้ร่วมกับวัคซีนตัวอื่นๆ เช่น วัคซีนรวมสำหรับทารกและเด็ก (MenHibrix) ป้องกันเชื้อ Hib และเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น กลุ่ม C และ Y โดยวัคซีนเหล่านี้จะให้ 3-4 เข็มขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ ช่วงเวลาการฉีดขึ้นอยู่กับแพทย์ประจำตัว
- วัคซีนนิวโมคอคคัลคองจูเกต (Pneumococcal Conjugate Vaccine: Prevnar 13) สามารถช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 13 สายพันธุ์ได้ โดยวัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดในเด็กทุกคนที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 6 ปี หรือทุกคนที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างร่วมด้วย
- วัคซีนนิวโมคอคคัลโพลีแซคคาไรด์ (Pneumococcal Polysaccharide Vaccine: Pneumovax) ช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 23 สายพันธุ์ วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดในผู้ใหญ่ทุกคนที่อายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่อายุมากกว่า 2 ปี หรือทุกคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นจากปัญหาสุขภาพและยาต่างๆ
วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อเอนเทอโรไวรัสที่ไม่ใช่โปลิโอ (Non-polio enterovirus) ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสได้มากที่สุด แต่วัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมอง ได้แก่ โรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอีสุกอีใส (Varicella) สามารถใช้วัคซีนป้องกันโรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัดเยอรมัน และโรคสุกใส (Mumps measles rubella varicella vaccine) หรือที่เรียกว่าวัคซีนเอมเอมอาร์ (MMR) ป้องกันโรคได้