อาการน้ําตาลสูง คืออะไร เกิดจากอะไร? ควรทำอย่างไรดี?

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) พบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากรักษาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 25 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
อาการน้ําตาลสูง คืออะไร เกิดจากอะไร? ควรทำอย่างไรดี?

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) เป็นอาการแสดงหนึ่งของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำตาลสูงอาจเกิดในคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานได้ เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเบื้องต้น มักไม่แสดงอาการให้เรารู้ตัว แต่หากพัฒนาจนถึงระดับรุนแรง จะทำให้ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่คุกคามต่อชีวิตได้ 

คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน) หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อที่จะได้สังเกตอาการ วิธีการรักษา และป้องกันได้อย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) คืออะไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) เป็นศัพท์ทางการแพทย์สำหรับสภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ซึ่งเป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ภาวะนี้สามารถส่งผลกระทบได้ทั้งในคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้หญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในบางครั้ง อาจส่งผลต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งคนเหล่านั้นมักเป็นคนที่ป่วยอาการหนัก เช่น ผู้ที่เพิ่งเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือมีการติดเชื้อรุนแรง เป็นต้น

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร้ายแรงหรือไม่

จุดมุ่งหมายของการรักษาโรคเบาหวาน คือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับค่าปกติมากที่สุด แต่ถ้าคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะระมัดระวังแค่ไหนก็อาจมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาได้ในบางช่วง

สิ่งสำคัญ ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องสามารถบ่งบอกอาการของตนเอง และรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในเบื้องต้นได้ เนื่องจากภาวะเริ่มต้นนี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

ช่วงอาการที่ไม่รุนแรงซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว มักไม่ทำให้เกิดความวิตกกังวล สามารถรักษาได้ง่าย หรืออาจกลับสู่ภาวะปกติได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจเป็นอันตรายได้ หากระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีค่าสูงมาก หรือสูงอยู่เป็นระยะเวลานาน

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามชีวิตได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ภาวะเลือดเป็นกรดด้วยคีโตนจากเบาหวาน Diabetic Ketoacidosis (DKA) ภาวะที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อต้องการจะย่อยสลายไขมันให้เป็นสารคีโตน เพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงาน แต่สารคีโตนนี้มีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
    ภาวะนี้สามารถนำไปสู่อาการโคม่าจากโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มที่จะเกิดในคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่า เบาหวานชนิดที่ 2
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Hyperosmolar Hyperglycemic State (HHS) จะมาพร้อมกับภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เลือดจะเริ่มข้น เพราะความเข้มข้นของน้ำตาลเพิ่มขึ้นขณะที่น้ำนั้นลดลง เกิดจากร่างกายพยายามขจัดน้ำตาลส่วนเกินออกไป
    ภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่า

การมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะเวลานานหลายเดือน หรือหลายปี อาจส่งผลต่อความเสียหายถาวรของร่างกาย เช่น ดวงตา เส้นประสาท หน่วยไต และหลอดเลือด

หากคุณเคยมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว อาจจำเป็นต้องปรับการรักษา หรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วงที่ดีต่อสุขภาพ

ระดับน้ำตาลในเลือดควรมีค่าเท่าใด

คนปกติระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ 70-100 mg/dL หรือ 4-7 mmol/L

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แพทย์ประจำตัวคุณจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปัจจุบัน และกำหนดค่าน้ำตาลเป้าหมายที่ควรลด

แพทย์จะแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เจาะน้ำตาลที่บ้าน เพื่อตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอที่บ้าน หรือได้รับนัดหมายทุกสองหรือสามเดือนเพื่อดูระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง

การกำหนดเป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกันในแต่ละคน แต่โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ถ้าคุณตรวจสอบตัวเองที่บ้าน  เป้าหมายปกติคือ 72-126 mg/dL ก่อนรับประทานอาหาร และต่ำกว่า 153-162 mg/dL หลังรับประทานอาหารสองชั่วโมง
  • ถ้าคุณได้รับการตรวจทุกสองสามเดือน เป้าหมายปกติจะอยู่ต่ำกว่า 72-144 mg/dL หรือ 6.5% ของการวัดโดยการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c)

สาเหตุของน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ความเครียด
  • ความเจ็บป่วย เช่น ไข้หวัด
  • การรับประทานมากเกินไป เช่น การรับประทานอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารบ่อยเกินไป
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ภาวะขาดน้ำ
  • ลืมกินยารักษาโรคเบาหวาน หรือกินยาในปริมาณไม่ถูกต้อง
  • การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่รุนแรงเกินไป
  • การได้รับยาบางอย่าง เช่น ยาสเตียรอยด์

ช่วงเวลาการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นครั้งคราว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่หากเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจภาวะก่อนเป็นเบาหวาน โดยปัจจุบันมีวิธีการป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคเบาหวานได้แล้ว

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาจจะเกิดขึ้นในไม่กี่วันหรือเป็นสัปดาห์ บางกรณี อาจไม่มีอาการใดๆ เลยจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงมาก การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจึงควรทำอย่างสม่ำเสมอ

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่

  • กระหายน้ำมาก และปากแห้ง
  • ปัสสาวะบ่อย
  • เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • การสูญเสียน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • การติดเชื้อซ้ำซ้อน เช่น ฝ้าขาวบนลิ้น การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ (Cystitis) และการติดเชื้อที่ผิวหนัง

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจเกิดจากโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย ดังนั้น คุณควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุของภาวะต่างๆ และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน และมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมด้วย ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวในการลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาจได้รับคำแนะนำ ดังนี้ 

  • ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น เค้ก เครื่องดื่มที่มีรสหวาน แป้งขัดสี แล้วเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักใบเขียว แป้งไม่ขัดสี
  • ดื่มน้ำเปล่าปริมาณมากๆ หรือดื่มของเหลวปราศจากน้ำตาล เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไปอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เช่น การเดินไว จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
  • ปรับเปลี่ยนขนาดยาอินซูลิน โดยแพทย์ประจำตัว และขอคำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ควรทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้บ่อยมากขึ้น หรือตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาสารที่เรียกว่า คีโตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อน คือ ภาวะเลือดเป็นกรดด้วยคีโตนจากเบาหวาน จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม ให้เฝ้าระวังอาการต่างๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้น

ควรเข้าพบแพทย์ฉุกเฉินเมื่อใด

ติดต่อแพทย์ประจำตัว หรือเข้าโรงพยาบาลทันที หากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และพบอาการดังต่อไปนี้

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือภาวะภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบสุดขีด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนในโรงพยาบาล

วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

  • ระวังอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
  • รักษาวินัยในแผนการรักษา อย่าลืมนำอินซูลินหรือยาโรคเบาหวานอื่นๆ ติดตัวเสมอตามคำสั่งแพทย์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษากับแพทย์ก่อนหากคุณกำลังใช้ยาเบาหวาน เนื่องจากยาบางชนิดสามารถนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ หากออกแรงมากเกินไป
  • ระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อป่วย โดยแพทย์จะอธิบายถึงกฏที่ต้องทำเวลาป่วยให้ทราบอยู่แล้ว เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมระหว่างป่วย
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสังเกตอาการ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในหญิงตั้งครรภ์

เมื่อหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถผลิตอินซูลีนเพียงพอ จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จนเกิดเป็น “โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์” ได้ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะเกิดในครึ่งหลัง หรือช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของมารดา และทารกได้

  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน คนในครอบครัว หรือตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ สามารถป้องกันได้โดยการตรวจสุขภาพ เพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
  • ลักษณะอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ปากแห้ง กระหายน้ำ และรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ หากเกิดอาการดังกล่าว เบื้องต้น แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า 1-2 แก้วใหญ่ หากมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดสูงบ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาต่อไป
  • การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีวิธีการรักษาเหมือนกับโรคเบาหวานทั่วไป คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการคุมอาหารอย่างเคร่งครัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ใช้ยารักษาให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตอาการ และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ เป็นโรคเบาหวานหลังคลอด เป็นต้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์, แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 (https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม