กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะครรภ์เป็นพิษ

หนึ่งในภาวะอันตรายซึ่งน่ากังวลใจสำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคน ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด และไม่มีการรักษาใดที่ดีไปกว่าการคลอดลูกน้อยออกมา แต่คุณก็สามารถประเมินความเสี่ยง และเรียนรู้วิธีสังเกตอาการได้ด้วยตนเอง

ภาวะครรภ์เป็นพิษคืออะไร?

ภาวะนี้อาจถูกเรียกว่า อาการพิษแห่งครรภ์ (toxemia, preeclampsia) ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ โดยจะมีลักษณะเฉพาะคือเกิดความดันโลหิตสูงในหญิงที่ไม่เคยเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษนี้จะพบโปรตีนสูงในปัสสาวะ และมักมีอาการบวมตามเท้า, ขา และมือ โดยอาการนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายๆ ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาจจะมีโอกาสในบางรายที่เกิดขึ้นได้ก่อนหน้านั้นก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจนำไปสู่การชักร่วมกับครรภ์เป็นพิษ (eclampsia) ซึ่งเป็นภาวะอันตรายรุนแรงที่อาจทำให้คุณและลูกน้อยของคุณได้รับความเสี่ยงมากขึ้น และในบางกรณี อาจถึงแก่ชีวิตได้  ผู้หญิงที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษแล้วมีอาการชักร่วมด้วย จะมีเรียกว่าเกิดภาวะ eclampsia แล้ว

ไม่มีทางที่จะรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษได้หายขาด ยกเว้นการคลอดบุตรเท่านั้น และนั่นอาจเป็นมุมมองที่น่ากลัวสำหรับคุณแม่ทุกคน แต่คุณสามารถช่วยป้องกันตัวเองได้ โดยการเรียนรู้ถึงอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ และ พบแพทย์เพื่อการดูแลก่อนคลอดตามนัดเป็นประจำ การทราบและวินิจฉัยภาวะนี้ได้ไวและทันท่วงที จะช่วยลดผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นทั้งแม่และลูกน้อยได้

สาเหตุครรภ์เป็นพิษคืออะไร?

สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะครรภ์เป็นพิษและ การชักร่วมกับครรภ์เป็นพิษซึ่งเป็นผลมาจากรกที่ไม่ทำงานอย่างเหมาะสมนั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์แน่ชัดว่ามาจากสาเหตุใด แม้ว่านักวิจัยบางรายอาจสงสัยว่าสาเหตุอาจมากจากโภชนาการที่ไม่ดี หรือมีไขมันในร่างกายสูงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วม การไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอไปยังมดลูกอาจเกี่ยวข้อง และพันธุกรรมนั้นก็มีบทบาทเช่นกัน

ใครเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษบ้าง

ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกในแม่วัยรุ่น และในผู้หญิงอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป แม้ว่าภาวะนี้มักจะเจาะจงว่าเกิดขึ้นในสตรีที่ไม่เคยมีโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน แต่ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ร่วมด้วยมีมากมาย ได้แก่ :

  • ประวัติความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์
  • เคยมีประวัติภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนหน้านี้
  • มีมารดาหรือน้องสาวที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ประวัติโรคอ้วน
  • อุ้มท้องเด็กมากกว่าหนึ่งคน
  • ประวัติโรคเบาหวาน โรคไต โรคลูปัส หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการและอาการแสดงของภาวะครรภ์เป็นพิษคืออะไร?

นอกจากอาการบวม การพบโปรตีนในปัสสาวะ และความดันโลหิตสูงแล้วนั้น อาการครรภ์เป็นพิษจะมีลักษณะเพิ่มเติมดังต่อไปนี้:

  • การเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของของเหลวในร่างกายเป็นจำนวนมาก
  • อาการปวดท้อง
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • การตอบสนองฉับพลันต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป
  • ปัสสาวะน้อยลง หรือปัสสาวะไม่ได้เลย
  • เวียนหัว
  • อาเจียนและคลื่นไส้อย่างมาก
  • กระทบต่อการมองเห็น
  • เกิดอาการบวมขึ้นทันที ตามบริเวณใบหน้า มือ และดวงตา (อาการบวมตามเท้า และข้อเท้านั้นถือเป็นเรื่องปกติในระหว่างตั้งครรภ์)
  • ความดันโลหิตสูงกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท
  • การเพิ่มน้ำหนักอย่างฉับพลันใน 1 หรือ 2 วัน
  • ปวดท้อง โดยเฉพาะในด้านขวาบน
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • ปัสสาวะได้น้อยลงมาก
  • มองภาพเบลอ เหมือนมีไฟกระพริบ หรือเห็นภาพซ้อน

คุณควรขอความช่วยเหลือ หรือเข้าพบแพทย์ฉุกเฉินทันที หากคุณพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณยังสามารถมีภาวะครรภ์เป็นพิษได้แม้ไม่มีอาการใด ๆ นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องไปพบแพทยเพื่อตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะเป็นประจำ สม่ำเสมอ

ภาวะครรภ์เป็นพิษจะมีผลต่อทารกและตัวคุณได้อย่างไร?

ภาวะครรภ์เป็นพิษ สามารถขัดขวางไม่ให้รกรับเลือดได้อย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้ทารกเกิดออกมามีขนาดตัวที่เล็กมาก นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการคลอดก่อนกำหนด และภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เป็นไปได้ ได้แก่ ความบกพร่องในการเรียนรู้ โรคลมชัก อัมพาตสมอง ปัญหาการได้ยิน และการมองเห็น เป็นต้น

ในสตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ จะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่หายากแต่ร้ายแรง ได้แก่:

  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
  • โรคชัก (seizure)
  • น้ำขังในปอด
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • ภาวะตาบอด แบบผันกลับได้
  • ภาวะเลือดออกจากตับ
  • ภาวะเลือดออกหลังคลอด

ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจทำให้เกิดรกแยกออกจากมดลูกโดยฉับพลัน ซึ่งเรียกว่า ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placentae) และภาวะนี้สามารถทำให้เกิดการตายคลอด (stillbirth) ของทารกได้

การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษและ การชักร่วมกับครรภ์เป็นพิษ

การรักษาเพียงอย่างเดียวสำหรับภาวะครรภ์เป็นพิษ และ การชักร่วมกับครรภ์เป็นพิษ คือ การคลอดบุตรของคุณ แพทย์ประจำตัวของคุณจะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับเวลาที่จะให้กำเนิดลูกน้อยนี้ ขึ้นอยู่กับทารกของคุณเติบโตเพียงใด สุขภาพครรภ์ของคุณแข็งแรงแค่ไหน และความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษของคุณ

  • หากลูกของคุณมีพัฒนาการเพียงพอ -โดยปกติแล้วสามารถจะทำการคลอดเมื่ออายุครรภ์เป็นเวลา 37 สัปดาห์ หรือหลังจากนั้น แพทย์ของคุณอาจต้องทำการกระตุ้นคลอดร่วมกับการคลอดทางช่องคลอดแบบปกติ หรือทำการผ่าตัดคลอดซึ่งจะป้องกันไม่ให้ครรภ์เป็นพิษเลวร้ายลง
  • หากลูกน้อยของคุณยังเติบโตไม่เพียงพอ - ช่วงเวลานี้ คุณและแพทย์ของคุณอาจสามารถรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษด้วยวิธีอื่นได้ จนกว่าทารกจะมีพัฒนาการเพียงพอที่จะได้รับการคลอดอย่างปลอดภัย ยิ่งทำการคลอดใกล้ วันที่ครบกำหนดของคุณเท่าไร ก็จะยิ่งดีกว่าสำหรับลูกน้อยของคุณเท่านั้น

หากคุณมีภาวะครรภ์เป็นพิษอ่อนๆ เท่านั้น - แพทย์ของคุณอาจสั่งให้คุณ:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • นอนพัก ทั้งที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล คุณจะถูกขอให้พักผ่อนโดยวางตัวลงบนด้านซ้ายของคุณเป็นส่วนใหญ่
  • สังเกตด้วยตัวเองอย่างรอบคอบ ถึง อัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ และทำการอัลตราซาวด์บ่อยๆ
  • สั่งยาเพื่อลดความดันโลหิตของคุณ
  • สั่งตรวจเลือดและปัสสาวะ

แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณเข้านอนในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบภาวะดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ในโรงพยาบาลคุณอาจได้รับ:

  • ยาเพื่อช่วยป้องกันอาการชัก, ลดความดันโลหิต และป้องกันปัญหาอื่น ๆ
  • ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีด เพื่อช่วยให้ปอดของทารกน้อยพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ :

  • ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งสามารถฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันอาการชักที่เกี่ยวข้องกับภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ยากลุ่ม Hydralazine หรือยาลดความดันเลือดอื่นๆ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตที่รุนแรง
  • ทำการตรวจสอบปริมาณของเหลวที่ได้รับ และปริมาณปัสสาวะที่ออกมา

ในกรณีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง แพทย์ของคุณอาจต้องทำการคลอดลูกขอบคุณทันที แม้ว่าคุณจะไม่ใกล้เคียงกับวันกำหนดคลอดก็ตาม โดยอาการและอาการแสดงของภาวะครรภ์เป็นพิษควรจะหายไปภายใน 1-6 สัปดาห์หลังคลอด

https://www.webmd.com/baby/guide/preeclampsia-eclampsia#1


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
sciencedirect.com, toxemia, preeclampsia (https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/toxemia)
healthline.com, toxemia, preeclampsia (https://www.healthline.com/health/preeclampsia), September 4, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
ภาวะครรภ์เป็นพิษและภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า
ภาวะครรภ์เป็นพิษและภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า

ความหวังในการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในผู้มีภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า

อ่านเพิ่ม