ภาวะครรภ์เป็นพิษและภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า

ความหวังในการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในผู้มีภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะครรภ์เป็นพิษและภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า

งานวิจัยล่าสุดที่เป็นข่าวดีเกี่ยวกับครรภ์เป็นพิษ (Preeclampesia) ที่เกิดกับแม่ครรภ์แฝดหรือมากกว่า (Multiples) ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 นักวิจัยระบุว่า โปรตีนสองชนิดที่ผลิตโดยรกจะมีผลต่อการพัฒนาของสภาพครรภ์เป็นพิษ การค้นพบครั้งนี้แพทย์จะสามารถคาดการณ์และสามารถรักษาความผิดปกติได้ง่ายขึ้น ในปี ค.ศ. 2003 นักวิจัยที่ Boston's Beth Israel Deaconess Medical Center ได้อ้างถึง profiling ของยีนใน ในเซลล์รกของหญิงตั้งครรภ์ที่ก่อให้เกิดการผลิตโปรตีนในระดับสูง โปรตีนที่เข้มข้นเหล่านี้ทำให้หลอดเลือดตีบ เพิ่มความดันเลือดของมารดา และทำให้การลำเลียงเลือด และสารอาหารที่ไปเลี้ยงทารกถูกรบกวน

สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับคุณแม่ของภาวะครรภ์แฝด?

ลักษณะยีนที่มีปัญหาช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะผิดปกติได้รวดเร็วและทำการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ในอดีตที่ผ่านมา การวินิจฉัยอาศัยดูตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเวลาที่มีการไหลของเลือดไปรกลดลงไปถึง 50% แล้ว

ครรภ์เป็นพิษคืออะไร?

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampesia) หรือที่รู้จักกันว่า Toxemia หรือการตั้งครรภ์ที่ชักนำให้เกิดความดันโลหิตสูง (Pregnancy Induced Hypertension หรือ PIH) เป็นที่คาดกันว่าภาวะความดันชนิดนี้จะแสดงอาการในช่วงตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์เดี่ยว 5 และ 10% และหนึ่งในสามของแม่ภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า

มีอาการอย่างไร?

อาการมักจะเกิดหลังสัปดาห์ที่ยี่สิบของการตั้งครรภ์และมักจะมีการตรวจพบในช่วงนัดตรวจครรภ์ พบอาการบวมน้ำ อาการบวมตามมือและเท้า ความดันโลหิตสูง โปรตีนในปัสสาวะ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์มากกว่า 2 ปอนด์ อาการรุนแรงมากขึ้นรวมถึง มีอาการสั่นหรือสับสน สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เมื่อยล้า ปวดท้อง หรือหายใจถี่ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากพบอาการเหล่านี้ในระหว่างการตั้งครรภ์แฝดสอง แฝดสาม หรือมากกว่าของคุณ

ต้องมีการรักษาอย่างไร?

วิธีเดียวที่จะแก้ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ ทำการคลอดทารก แพทย์จะต้องประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของแม่กับสภาพของฝาแฝด แฝดสาม หรือมากกว่า ในบางกรณีแพทย์อาจสามารถควบคุมดูแลพฤติกรรมของแม่ เพิ่มปริมาณน้ำโดยลดการบริโภคเกลือของเธอหรือจัดตารางการนอนพักผ่อน (ควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อจำกัดความดันในหลอดเลือด) อาจต้องพบแพทย์บ่อยขึ้นเพื่อตรวจสอบความดันโลหิตและระดับโปรตีนในปัสสาวะ

ในกรณีที่รุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลเพื่อให้แน่ใจว่ามีการนอนพักผ่อนที่สมบูรณ์ อาจให้ยาบางชนิด เช่น magnesium sulfate หรือ hydralazine แม้ว่าผลข้างเคียงของยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาทางการแพทย์บางประการตามมา ในกรณีที่รุนแรงอาจเร่งให้เกิดการคลอดเร็วขึ้นหรือต้องดำเนินการผ่าท้องคลอดบุตร (Caesarean section)

สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพแม่คืออะไร?

ภาวะหลังคลอด อาการต่างๆ จะบรรเทาลงและสุขภาพของแม่จะมีความเสี่ยงลดลง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง (eclampsia) ถึงหกสัปดาห์หลังคลอด แพทย์จะยังคงติดตามภาวะความดันโลหิตของแม่ในระยะหลังคลอด ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ ภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถทำลายไต ตับ และสมองของแม่ มีการเสียชีวิตจากภาวะครรภ์เป็นพิษถึง 16% ต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาวะครรภ์เป็นพิษหากไม่รักษาจะพัฒนาไปสู่​​ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่สอง

ผลกระทบต่อทารกคืออะไร?

เพราะการรักษาครรภ์เป็นพิษ คือ การคลอดของทารกที่มักเป็นการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะพบภาวะแทรกซ้อนมากมาย ภาวะที่เลือดไหลเวียนไปยังรกถูกจำกัด ทารกในครรภ์จะได้รับออกซิเจนและสารอาหารลดลง อาจทำให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้า (Intrauterine Growth Retardation หรือ IUGR) น้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือทารกตายในครรภ์ (stillbirths)

สิ่งที่คุณแม่ของภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่าสามารถทำได้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะครรภ์เป็นพิษคืออะไร?

การตรวจสุขภาพบ่อยครั้งกับแพทย์มีความจำเป็น แพทย์จะตรวจสอบความดันโลหิต น้ำหนัก และโปรตีนในปัสสาวะ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีประวัติครรภ์เป็นพิษใดๆ ของบุคคลในครอบครัวของคุณ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่ผ่านมาของคุณเอง ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคไตอยู่แล้วจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษจะลดปัญหาของแพทย์ที่มีเครื่องมือจำกัดในการวินิจฉัย นักวิจัยกล่าวว่า การค้นพบนี้เป็น "ความก้าวหน้าที่น่าตื่นตาตื่นใจ" ซึ่งเป็นข่าวที่ดีสำหรับคุณแม่ของภาวะครรภ์แฝดหรือมากกว่า ซึ่งมีความเสี่ยงสูงระหว่างการตั้งครรภ์


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd.com, Toxic pregnancy and twin pregnancy (https://www.webmd.com/baby/features/pregnancy-and-toxins#1)
medicalnewstoday.com, Toxic pregnancy and twin pregnancy (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327231.php), December 5, 2019
acog.org, Toxic pregnancy and twin pregnancy (https://www.acog.org/Patients/FAQs/Multiple-Pregnancy?IsMobileSet=false)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป