มารู้จักฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และการตรวจความผิดปกติกันเถอะ!

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มารู้จักฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และการตรวจความผิดปกติกันเถอะ!

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ แถวๆ ลูกกระเดือก ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะสร้างฮอร์โมนถึง 3 ชนิด ได้แก่ ไทรอกซีน (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine, T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) ฮอร์โมนไทรอกซีน และไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ T4, T3 นั้นมีความสำคัญมาก ในการควบคุมการเผาผลาญพลังงาน การเจริญเติบโต และควบคุมสมดุลของสารต่างๆ ดังนั้น หากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เช่น มีการสร้างฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป ก็จะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายผิดปกติไปด้วย

ดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ต้องตรวจอะไรบ้าง

การประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยทั่วไปจะตรวจวัดระดับสารที่เกี่ยวข้องในเลือด และหากพบความผิดปกติ จึงจะตรวจที่ต่อมไทรอยด์โดยตรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การตรวจเลือด เป็นการตรวจพื้นฐานเพื่อวัดระดับสารต่างๆ ได้แก่
    • Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองเพื่อกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน ดังนั้น หากมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (hyperthyroidism) ระดับฮอร์โมน TSH จะต่ำ ตรงกันข้ามหากมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism) ระดับฮอร์โมน TSH ก็จะสูงขึ้น
    • Free T4 (FT4) คือฮอร์โมนไทรอกซีนที่เป็นอิสระ ไม่ได้จับกับโปรตีน ปริมาณ FT4 ในเลือดแปรผันตามการทำงานของต่อมไทรอยด์โดยตรง ถ้าไทรอยด์ทำงานหนัก FT4 จะสูง แต่ถ้าไทรอยด์ทำงานน้อย FT4 ก็จะต่ำ
    • T3 คือฮอร์โมนไตรไอโอโดไธโรนีน ซึ่งโดยปกติต่อมไทรอยด์จะผลิตออกมาน้อยกว่า T4 ถึง 10 เท่า แต่ T3 นั้นทำงานได้ดีกว่า ซึ่งระดับ T3 ในเลือดก็แปรผันตามการทำงานของต่อมไทรอยด์เช่นกัน
    • TSH receptor antibody (TSI) เป็นสารภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านตัวรับ TSH ซึ่งเกาะอยู่บนเซลล์ต่อมไทรอยด์ TSI นั้นสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นต่อมไทรอยด์ได้เช่นเดียวกับฮอร์โมน TSH ต่อมไทรอยด์จึงถูก “หลอก” ให้ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ การตรวจพบ TSI มักพบในผู้ป่วยโรค Grave’s disease
  • การสแกนต่อมไทรอยด์ ทำเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยผู้ป่วยจะต้องกลืนสารกัมมันตรังสีเข้าไปปริมาณเล็กน้อย และทำการถ่ายภาพ หากรังสีไปจับอยู่ที่ต่อมไทรอยด์มาก แสดงว่าต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก แต่หากมีรังสีไปจับที่ต่อมไทรอยด์น้อย จะบ่งบอกถึงต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
  • การทำ CT scan มักใช้ตรวจติดตามผู้ป่วยโรคคอพอก หรือดูก้อนในต่อมไทรอยด์ รวมถึงตรวจดูว่าก้อนคอพอกไปกดทับหลอดลมหรือไม่
  • การเจาะเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเข้าไปที่ต่อมไทรอยด์ และดูดเอาเนื้อเยื่อออกมา จากนั้นจึงนำเนื้อเยื่อไปส่องกล้องเพื่อดูว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism)

เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามาก ทำให้พบฮอร์โมน T3, T4 ในเลือดสูง และฮอร์โมน TSH ต่ำ อาการทั่วไปคือ ผอมลง กินจุ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล นอนไม่หลับ มือสั่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผมร่วง สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Hyperthyroidism ที่พบบ่อย ได้แก่

  • โรค Grave’s disease เป็นโรคออโตอิมมูนที่มีการสร้างแอนติบอดี หรือสารต่อต้านตัวรับ TSH บนเซลล์ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีการผลิตฮอร์โมน T3, T4 สูงมาก ผู้ป่วยมักมีลักษณะเด่นคือตาโปน และตรวจพบ TSI ในเลือดด้วย
  • เซลล์ต่อมไทรอยด์อักเสบ หรือ Transient thyroiditis ทำให้ฮอร์โมนที่เก็บไว้ในเซลล์ถูกปล่อยออกสู่กระแสเลือด จึงตรวจพบฮอร์โมน T3, T4 สูง
  • เนื้องอกในต่อมไทรอยด์ หรือ Toxic adenoma โดยเซลล์เนื้องอกจะสร้างฮอร์โมนได้เองโดยร่างกายควบคุมไม่ได้ ทำให้พบฮอร์โมนในเลือดสูง

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroidism)

เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มีการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ เซลล์ต่อมไทรอยด์เสื่อม ทานยากดการทำงานของไทรอยด์ การฉายรังสีที่ลำคอ หรือเป็นมาแต่กำเนิด อาการของภาวะ Hypothyroidism ได้แก่ อ้วนฉุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ช้า เฉื่อยชา ง่วงนอนตลอดเวลา เซื่องซึม ขี้หนาว ประจำเดือนมามาก เสียงแหบ ผิวแห้ง บวมตามใบหน้า มือ และเท้า ร่วมกับตรวจพบฮอร์โมน T3, T4 ต่ำ และ TSH สูง

  • โรคคอพอก (Goiter)

คือการเกิดต่อมไทรอยด์บวมโต โดยอาจเกิดเพียงข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง และต่อมไทรอยด์อาจโตขึ้นแบบเรียบๆ หรือเป็นปุ่มก้อนเนื้อหลายๆ ปุ่มก็ได้ โรคคอพอกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ขาดแร่ธาตุไอโอดีน หรือไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งบางคนที่เป็นคอพอกอาจมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ หรือบางคนอาจมีระดับฮอร์โมนสูงหรือต่ำผิดปกติก็ได้

เป็นมะเร็งที่มักพบในผู้ใหญ่ และพบค่อนข้างบ่อยในคนไทย โดยเฉพาะผู้หญิง สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด อาการที่พบบ่อยคือต่อมไทรอยด์โต หรือมีก้อนเนื้อในคอสามารถคลำได้ หากมะเร็งลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ก็อาจพบต่อมน้ำเหลืองโตด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม