การตรวจ Thyroid-Stimulating Hormone Test คืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจ Thyroid-Stimulating Hormone Test คืออะไร

การตรวจ thyroid-stimulating hormone (TSH) test นั้นเป็ฯการวัดปริมาณค่า TSH ในเลือด TSH นั้นถูกสร้างจากต่อมใต้สมองซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานของสมอง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์ผลิต

ต่อมไทรอยด์นั้นเป็นต่อมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายผีเสื้อที่ตั้งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลักๆ 3 ตัวคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Triiodothyronine (T3)
  • Thyroxine (T4)
  • Calcitonin

ต่อมไทรอยด์นั้นควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่กระบวนการเผาผลาญและการเจริญเติบโตผ่านฮอร์โมนทั้ง 3 ตัวนี้

ต่อมไทรอยด์นั้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากขึ้นหากต่อมใต้สมองนั้นผลิต TSH ออกมามากขึ้น ต่อมทั้ง 2 นั้นจึงทำงานร่วมกันในการควบคุมให้มีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากมีความผิดปกติในสมดุลนี้ ต่อมไทรอยด์ก็อาจจะมีการสร้างฮอร์โมนออกมามากขึ้นหรือน้อยลง

การตรวจ TSH นั้นมักจะทำเพื่อดูสาเหตุที่ทำให้มีความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ นอกจากนั้นยังใช้ช่วยคัดกรองภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป การวัดค่า TSH ในเลือดจะทำให้แพทย์ทราบการทำงานของต่อมไทรอยด์

ทำไมถึงต้องตรวจ TSH

แพทย์อาจจะสั่งตรวจ TSH หากคุณมีอาการที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นการมีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำกว่าปกติและสูงกว่าปกติ

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ

เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์นั้นสร้างฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายนั้นช้าลง อาการของภาวะนี้นั้นประกอบด้วยอ่อนเพลีย อ่อนแรง และไม่มีสมาธิ ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อย

Hashimoto’s disease เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ร่างกายนั้นโจมตีต่อมไทรอยด์ของตัวเอง ทให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอ ภาวะนี้ไม่ได้ทำให้มีอาการเสมอไปและอาจจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะสังเกตอาการชัดเจน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไทรอยด์อักเสบ เป็นการอักเสบที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือภูมิคุ้มกันของตัวเองเช่น Hashimoto’s disease ทำให้มีการขัดขวางกระบวนการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนและทำให้มีฮอร์โมนต่ำ

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบหลังคลอด เป็นภาวะไทรอยด์อักเสบชั่วคราวที่อาจจะพบได้ในผู้หญิงหลังคลอดบางคน

ไทรอยด์นั้นใช้ไอโอดีนในการสร้างฮอร์โมน ดังนั้นการขาดไอโอดีนนั้นจึงทำให้ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำได้

ไทรอยด์ฮอร์โมนสูง

เป็ฯภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายนั้นเร็วขึ้น อาการของภาวะนี้เช่นกินจุ กระสับกระส่ายและนอนไม่หลับ สาเหตุที่พบบ่อยประกอบด้วย

Graves’ disease เป็นภาวะที่พบบ่อยที่ทำให้ต่อมไทรอยด์นั้นมีขนาดโตขึ้นและผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้น และมักจะทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง

ไทรอยด์อักเสบ ในระยะสั้นนั้นจะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้นและปล่อยออกมาทั้งหมดทีเดียวก่อนที่จะทำให้ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเวลาต่อมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การมีไอโอดีนในร่างกายมากนั้นอาจจะทำให้ไทรอยด์นั้นทำงานมากขึ้นซึ่งมักจะเกิดจากการรับประทานยาที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบเช่นยาแก้ไอ รวมถึง amiodarone ซึ่งใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ เป็นเนื้อดีที่อาจจะเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งเมื่อมีขนาดโตขึ้นอาจจะทำงานมากขึ้นและทำให้ผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้น

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ TSH

การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษ แต่หากรับประทานยาที่อาจจะส่งผลต่อความแม่นยำของการตรวจควรแจ้งแพทย์ก่อน ตัวอย่างยาที่อาจจะส่งผลต่อการตรวจเช่น

คุณอาจจะต้องหยุดยาเหล่านี้ก่อนที่จะทำการตรวจ แต่อย่าหยุดเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

การตรวจ

  • การตรวจ TSH นั้นเป็นการเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจ ซึ่งมักจะเก็บจากเส้นเลือดดำที่บริเวณแขน
  • บุคลากรทางการแพทย์จะเป็นผู้ทำการเจาะเลือด
  • ในขั้นแรกจะทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • ก่อนที่จะใช้ยางยืดรัดที่รอบแขนเพื่อให้เห็นเส้นเลือดโป่งขึ้น
  • เมื่อพบเส้นเลือดจะใช้เข็มเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำลงในท่อขนาดเล็กที่ติดอยู่กับเข็ม
  • เมื่อได้เลือดเพียงพอก็จะทำการถอดเข็มและปิดแผลด้วยผ้าพันแผลเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหล
  • การเจาะเลือดนั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก่อนที่เลือดที่ได้จะถูกส่งไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจ

ผลการตรวจ

ระดับค่าปกติของ TSH นั้นอยู่ที่ 0.4-4.0 mIU/L หากคุณกำลังรับการรักษาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ ค่าปกตินั้นอาจจะอยู่ที่ 0.5-3.0 mIU/L

หากผลการตรวจนั้นสูงกว่าช่วงดังกล่าวแสดงว่าต่อมไทรอยด์นั้นทำงานน้อยกว่าปกติ ซึ่งแสดงว่ามีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เวลาที่ต่อมไทรอยด์นั้นผลิตฮอร์โมนออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อพยายามกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์

หากผลการตรวจนั้นต่ำกว่าช่วงดังกล่าวแสดงว่าต่อมไทรอยด์นั้นทำงานมากกว่าปกติ และมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง เวลาที่ต่อมไทรอยด์นั้นผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ต่อมใต้สมองจะหลั่ง TSH ออกมาลดลง

ผลการตรวจที่ได้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยได้


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thyroid stimulating hormone (TSH) test: Uses, procedure, and results. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324096)
TSH (Thyroid-Stimulating Hormone) Test. Healthline. (https://www.healthline.com/health/tsh)
High and Low TSH Levels: Meanings and Variations. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/understanding-thyroid-blood-tests-low-or-high-tsh-3233198)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม