พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
เขียนโดย
พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย กับสรรพคุณ และประโยชน์มากมายที่ยังไม่มีใครรู้!

รวมข้อมูล สรรพคุณ วิธีการบริโภคขึ้นฉ่ายอย่างปลอดภัย พร้อมไขคำตอบว่าขึ้นฉ่ายช่วยลดความดันรวมถึงคอเลสเตอรอลได้จริงหรือ?
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย กับสรรพคุณ และประโยชน์มากมายที่ยังไม่มีใครรู้!

ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย เป็นพืชที่ขาวเอเชียนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร และมีการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในการลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล บำรุงตับและไต

ชื่ออื่น ๆ : ผักปืม ผักข้าวปืน ผักปืน (เหนือ)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อสามัญ : Celery

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Apium graveolens L.

วงศ์ : UMBELLIFERAE (APIACEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

  • ขึ้นฉ่ายเป็นพืชล้มลุก จะมีอายุประมาณ 1-2 ปี จะมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายจีน (Chinese celery) มีขนาดลำต้นเล็กและสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนอีกพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery) จะมีลำต้นอวบใหญ่ มาก ลำต้นสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ทุกส่วนของลำต้น มีกลิ่นหอม สีของลำต้นเป็นสีขาวอมเหลือง ทั้งต้นจะ อ่อนนิ่ม
  • ใบขึ้นฉ่าย เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบสีเขียวอมเหลือง ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก แต่ละแฉกอาจจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ
  • ดอก มีขนาดเล็กสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ตรงยอดดอกนั้นแผ่เป็นรัศมี
  • ผล มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็กมาก และมีกลิ่นหอม จะให้ผลเพียงครั้งเดียว

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

  • ป้องกันการอักเสบ เนื่องจากมีฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ ส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบในกลุ่มโรคลูปัส (Lupus) รูมาตอยด์ หอบหืด โรคปอด และช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ ปวดศีรษะ ปวดท้องประจำเดือน รวมถึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หากไม่แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองสูงหรือไม่ 
  • ช่วยลดไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ 
  • มีสารฟลาไลด์ (Phthalide) ที่ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวได้ดี ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยขับปัสสาวะ และป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • มีกากใยและสารต้านอนูมูลอิสระที่เป็นผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะ แผลในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง สำหรับคนที่ต้องการบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง ถ่ายยาก 
  • บำรุงร่างกาย บำรุงตับและไต
  • มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับได้ดีขึ้น
  • สามารถนำมาเป็นพืชแต่งกลิ่นในอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ในเมล็ดขึ้นฉ่ายมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยในการขับลม และนำไปสกัดใช้ไล่ยุงได้

ขึ้นฉ่ายช่วยลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันได้จริงหรือ?

จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของขึ้นฉ่าย พบว่ามีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ 

มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการเกิดมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสามารถช่วยลดได้จริง

ความดัน น้ำตาล และไขมันในเลือด มีส่วนสำคัญต่อภาพรวมของสุขภาพ ควรหาเวลาตรวจเช็กเป็นระยะ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม การรับประทานเพื่อลดความดัน น้ำตาล และไขมันในเลือด ควรใช้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของคนทั่วไป ซึ่งมีระดับความดัน น้ำตาล และไขมันดังกล่าวยังไม่สูงมากนัก 

แต่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและติดตามอาการ รวมถึงรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการดูแลตนเองด้วย

บริโภคขึ้นฉ่ายอย่างไรให้ปลอดภัย

  • รับประทานเป็นผักสด หรือประกอบในอาหาร เช่น ผัดเห็ดหอม ผัดเต้าหู้ แกงจืด เป็นต้น
  • นำเมล็ดขึ้นฉ่ายมาทำเป็นชาชงดื่ม
  • ดื่มน้ำคั้นสด โดยใช้ต้นสดประมาณ 100 กรัม นำมาตำหรือปั่นละเอียด จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำ ดื่มก่อนรับประทานอาหาร ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานขึ้นฉ่ายหรืออาหารชนิดใดชนิดหนึ่งปริมาณมากๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย และประกอบด้วยสารอาหารให้ครบ 5 หมู่

ผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย

  • ไม่ควรรับประทานขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไต ไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก อ่อนเพลีย ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • ผู้ที่มีอาการแพ้พืชผักบางชนิดอาจมีอาการแพ้จากการรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของขึ้นฉ่ายได้
  • ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานขึ้นฉ่ายเป็นยารักษาโรค เนื่องจากอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาเลโวไทรอกซีน ยาลิเทียม ยาบางชนิดที่ไวต่อแสง ยาระงับประสาทหรือยาที่ออกฤทธิ์ให้เกิดอาการง่วงซึม เป็นต้น

6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภาณุพงศ์ รักษาวงศ์, ภาวะความผิดปกติของโพแทสเซียม (potassium disorders) (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Gab65nZ3tfAJ:ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php%3Ffile%3D435+&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th ), 1 กุมภาพันธ์ 2561.
เบญจวรรณ ตื้อตัน, ฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากเมล็ดขึ้นฉ่าย (http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/136932 ), 2546.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, ขึ้นฉ่าย (http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=118)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผักขึ้นฉ่าย (Root celery)
ผักขึ้นฉ่าย (Root celery)

สรรพคุณของผักขึ้นฉ่าย คุณค่าทางโภชนาการ แนวทางการใช้ และข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

อ่านเพิ่ม