ระดับน้ำตาลในเลือดบอกอะไรคุณ

ระดับน้ำตาลในเลือดสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างไร ควรตรวจทุกวันหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ระดับน้ำตาลในเลือดบอกอะไรคุณ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาโรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำเกินไป ร่างกายอาจเกิดอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด มองเห็นไม่ชัด เหงือออก หรือมือสั่นได้
  • ผู้ป่วยจะต้องรู้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง โดยควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมแตกต่างกัน
  • วิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แบ่งเป็น 2 วิธี คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองในทุกๆ วัน ซึ่งคุณจะต้องจดบันทึกแล้วเอาไปให้แพทย์ดูทุกครั้ง และการตรวจระดับน้ำตาลสะสมที่โรงพยาบาล
  • หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แนะนำให้ดื่มน้ำแก้วใหญ่ และออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว แต่หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปให้เคี้ยวลูกอม หรือดื่มน้ำหวาน
  • หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิตใหม่อีกครั้ง และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาโรคเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำเกินไป ร่างกายอาจเกิดอาการ เช่น หน้ามืด มองเห็นไม่ชัด เหงื่อออก มือสั่น ฯลฯ การตรวจระดับน้ำตาลจึงช่วยป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว หรือเฝ้าระวังการเกิดโรคเบาหวานได้ 

ทำไมต้องรู้ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง?

ระดับน้ำตาลในเลือดจะสะท้อนให้เห็นถึงการควบคุมโรคเบาหวานว่า อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมหรือไม่ ช่วยจัดการดูแลโรคเบาหวาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคไต หรือปัญหาการมองเห็นลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำจะทำให้คุณรู้ว่า อะไรที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอะไรที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เมื่อคุณมีความเครียด หรือรับประทานอาหารบางอย่างจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ และเมื่อคุณได้รับยารักษาโรคเบาหวาน ยาออกฤทธิ์ได้ดี ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำลง

วิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง การตรวจนี้จะช่วยให้คุณรู้ระดับน้ำตาลกลูโคสของตัวเอง ณ เวลาที่ตรวจ
  • การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ที่สถานพยาบาลโดยห้องปฏิบัติการ จะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2–3 เดือนที่ผ่านมา

จะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร?

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็ก ซึ่งจะใช้เลือดปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ สามารถหาซื้อเครื่องตรวจ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้จากร้านขายยา

อ่านวิธีการใช้เครื่องที่แนบมาพร้อมกับเครื่องเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องในการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทีมบุคลากรทางแพทย์สามารถแนะนำวิธีใช้เครื่องให้กับคุณได้

คุณจะต้องจดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์

เป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานคือเท่าไร?

เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย คือค่าเป้าหมายที่คุณควรจะควบคุมให้ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมาย ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร 80–130 mg/dL
  • ระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ต่ำกว่า 180 mg/dL

หมายเหตุ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับค่าเป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับคุณ เพราะบางครั้งค่าเป้าหมายสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองบ่อยแค่ไหน?

จำนวนครั้งในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวาน และยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดอินซูลินอาจจำเป็นต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาฉีดอินซูลิน 

โดยทั่วไปเวลาที่แนะนำให้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดคือ ตื่นนอน ก่อนอาหาร หลังอาหาร 2 ชั่วโมง และก่อนนอน  

แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความถี่ และช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ควรทำอย่างไร?

ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป (Hyperglycemia) หมายถึงระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงกว่าค่าเป้าหมาย หรือสูงกว่า 180 mg/dL การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง

หากคุณรู้สึกอ่อนเพลียมาก กระหายน้ำ มองเห็นไม่ชัด หรือปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ อาจหมายถึงระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงเกินไป

หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองแล้วพบว่า สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด วิธีเบื้องต้นในการลดระดับน้ำตาล คือการดื่มน้ำแก้วใหญ่ และออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 2 ครั้งในช่วง 1 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบปรึกษาแพทย์ประจำตัวโดยด่วน 

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ควรทำอย่างไร?

ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) หมายถึง ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 mg/dL ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายได้ และต้องได้รับการรักษาทันที 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งจะพบมากหากใช้ยาฉีดอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานบางชนิด

อย่าลืมที่จะพกลูกอมไว้ติดตัวเสมอสำหรับแก้ไขภาวะดังกล่าว ถ้ารู้สึกมือสั่น เหงื่อออก หิวมาก ให้เช็คระดับน้ำตาลในเลือด และถึงแม้จะไม่มีอาการข้างต้น แต่ถ้าคุณคิดว่ากำลังมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็แนะนำให้เจาะวัดด้วยตนเองเสมอ

ถ้าผลการตรวจด้วยตนเองพบว่า ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 70 mg/dL ให้ปฏิบัติตามวิธีด้านล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง

  • เคี้ยวเม็ดน้ำตาลกลูโคส 4 เม็ด
  • ดื่มน้ำผลไม้ประมาณ 120 มิลลิลิตร
  • ดื่มน้ำหวานอัดลมประมาณ 120 มิลลิลิตร (ไม่ใช่ชนิดปราศจากน้ำตาล)
  • อมลูกอม โดยเคี้ยวให้เป็น 4 ส่วน

หลังจากปฏิบัติตามวิธีข้างต้น 1 วิธีแล้ว ให้รอ 15 นาที และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำอีกครั้ง และให้ทำซ้ำวิธีข้างต้นจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่า 70 และหากมื้ออาหารถัดไป ต้องรอนานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ให้รับประทานอาหารว่างรองท้องก่อนด้วย

ถ้ามีภาวะระดับน้ำตาลต่ำบ่อยครั้ง แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนขับรถ หากพบว่าต่ำจะต้องรักษาให้เป็นปกติก่อนขับรถเสมอ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจระดับน้ำตาลสะสม

การตรวจระดับน้ำตาลสะสมจะช่วยบอกคุณและทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาว่า ระดับน้ำตาลเฉลี่ยของคุณในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเป็นเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ทีมแพทย์ตัดสินใจเลือกชนิดและปริมาณของยารักษาโรคเบาหวานได้

เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมที่เหมาะสมคือเท่าใด?

ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะมีค่าระดับน้ำตาลสะสมเป้าหมายที่น้อยกว่า 7 ค่าระดับน้ำตาลสะสมจะต่างจากระดับน้ำตาลที่คุณตรวจทุกวัน ทีมแพทย์ที่ดูแลจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมที่เหมาะสมสำหรับคุณคือเท่าใด

ต้องตรวจค่าระดับน้ำตาลสะสมบ่อยแค่ไหน?

คุณจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และต้องตรวจถี่ขึ้นถ้าหากมีอาการ ดังนี้

  • ค่าที่ตรวจได้สูงกว่าเป้าหมายของคุณ
  • การรักษาโรคเบาหวานของคุณมีการเปลี่ยนแปลง

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย

หากพบว่า ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดได้ อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าเป้าหมายบ่อยครั้ง การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น จะช่วยให้คุณมีสุขภาพแข็งแรงทั้งในวันนี้ และในอนาคต

ข้อควรจำ

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองทุกวัน ตามจำนวนครั้งที่ทีมแพทย์แนะนำ
  • ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
  • จดบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมไว้เสมอ
  • นำผลการจดบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจด้วยตนเองไปให้แพทย์ดูทุกครั้ง
  • ไปพบแพทย์หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำกว่าเป้าหมายบ่อยครั้ง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องรู้ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง รวมถึงวิธีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม เพราะถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ เช่น เป็นโรคไต หรือเบาหวานขึ้นตา 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรัง ปี 2558 เครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560,ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)