ผักขึ้นฉ่าย (Root celery)

สรรพคุณของผักขึ้นฉ่าย คุณค่าทางโภชนาการ แนวทางการใช้ และข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผักขึ้นฉ่าย (Root celery)

ผักขึ้นฉ่าย เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหาร มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกคือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน จะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร สีใบจะอ่อนกว่าขึ้นฉ่ายฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens L.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์ UMBELLIFERAE (APIACEAE)

ชื่ออังกฤษ Celery, Root celery, Turnip-rooted celery

ชื่อท้องถิ่น คื่นไฉ่ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ผักข้าวปีน ผักปืน ผักปิ๋ม

หมายเหตุ : ที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับตั้งโอ๋ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysanthemum coronariu ซึ่งหลายคนมักสับสนว่าขึ้นฉ่ายกับตั้งโอ๋คือพืชชนิดเดียวกัน

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของผักขึ้นฉ่าย

ผักขึ้นฉ่ายมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และสามารถนำมาปลูกได้ทั่วโลก เป็นพืชล้มลุกอายุ 1-2 ปี มีขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นสีเขียวรูปร่างกลม แตกยอดเล็กน้อย ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปสามแฉก เรียงแบบขนนก 2-3 คู่ ขอบใบหยัก เส้นใบเป็นแบบขนนก ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร ใบกว้าง 5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อคล้ายร่ม ออกบริเวณยอดกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ค่อนข้างกลม สีขาว ช่อหนึ่งมีก้านดอก 7-16 ก้าน ผลขนาดเล็กยาว 1-2 มิลลิเมตร รูปกลมยาวปลายแหลมมีสัน ผลสีน้ำตาล ภายในมี 1 เมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของผักขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายน้ำหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลลอรี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สรรพคุณของผักขึ้นฉ่าย

  • ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ใช้ทั้งต้นซึ่งมีรสขมเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะปัสสาวะ เป็นขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้จากตับ ใช้เป็นยากล่อมตับ (ยาบำรุงตับ) แก้ปวดศีรษะ
  • แพทย์แผนจีนใช้ เมล็ดเป็นยาขับลม แก้ปวดตามข้อ แก้ข้ออักเสบ

ผักขึ้นฉ่ายช่วยลดความดัน ลดน้ำตาล และลดไขมันได้จริงหรือไม่ ?

ผักขึ้นฉ่าย จัดเป็นสมุนไพรที่มีรายงานวิจัยทางคลินิกรองรับว่าสามารถลดความดันโลหิตและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง ทั้งนี้การใช้ผักขึ้นฉ่ายในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะใช้เพื่อบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรงและเป็นเพียงตัวยาเสริมการรักษามาตรฐานเท่านั้น เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ส่วนฤทธิ์ลดไขมันของผักขึ้นฉ่าย พบเฉพาะงานวิจัยในระดับสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงต้องมีการศึกษาฤทธิ์ลดไขมันของผักขึ้นฉ่ายในระดับคลินิกอีกต่อไป

แนวทางการใช้ผักขึ้นฉ่ายในการรักษา

  • กรณีใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ใช้ต้นสดล้างน้ำให้สะอาด นำมาคั้นน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50-100 CC หรือใช้ขึ้นฉ่ายสดทั้งต้น ล้างให้สะอาด นำมาตำแล้วต้มกับพุทราจีน 10 ลูก รับประทานวันละ 3 ครั้ง ติดต่อ 2 สัปดาห์
  • กรณีขับปัสสาวะ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ให้ใช้รากขึ้นฉ่ายสด 50 กรัม นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 500 CC ต้มเคี่ยวจนเหลือ 200 CC รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • กรณีรับประทานเพื่อช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ให้ใช้ผักขึ้นฉ่ายมาปรุงอาหาร
  • กรณีใช้เป็นยาขับลมและแก้ปวดข้อ ให้นำเมล็ดของผักขึ้นฉ่ายมาต้มในน้ำเดือด ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร

การปรุงอาหาร

ผักขึ้นฉ่าย ช่วยเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวอาหาร และช่วยเพิ่มความหอมของน้ำซุป เพราะในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผักขึ้นฉ่ายสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูผักขึ้นฉ่าย เช่น ปลาผัดขึ้นฉ่าย ปลากะพงผัดขึ้นฉ่าย ปลาทับทิมผัดขึ้นฉ่าย ปลานิลผัดขึ้นฉ่าย ขึ้นฉ่ายยำวุ้นเส้น ผัดเต้าหู้ขึ้นฉ่าย กะเพราหมูผัดขึ้นฉ่าย เป็นต้น

ข้อห้ามและข้อควรระวังของผักขึ้นฉ่าย

  • การรับประทานผักขึ้นฉ่ายในปริมาณมากเกินไป ในเพศชายอาจจะทำให้เป็นหมันได้ และจะทำให้อสุจิลดลงถึง 50% แต่ถ้าหากหยุดรับประทานแล้ว จำนวนของเชื้ออสุจิจะกลับสู่ระดับปกติ
  • การใช้ขึ้นฉ่ายประกอบอาหาร ไม่ควรผัดหรือต้มผักขึ้นฉ่ายให้สุกนานเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่ให้หมดไป

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ผักพื้นบ้าน, 2540.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ย่อเภสัชกรรมไทยและสรรพคุณสมุนไพร, 2546.
วิทยา บุญวรพัฒน์. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย, 2554.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย กับสรรพคุณ และประโยชน์มากมายที่ยังไม่มีใครรู้!
ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย กับสรรพคุณ และประโยชน์มากมายที่ยังไม่มีใครรู้!

รวมข้อมูล สรรพคุณ วิธีการบริโภคขึ้นฉ่ายอย่างปลอดภัย พร้อมไขคำตอบว่าขึ้นฉ่ายช่วยลดความดันรวมถึงคอเลสเตอรอลได้จริงหรือ?

อ่านเพิ่ม