วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูง

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การทานยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ จำเป็นต้องทานยาไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดผลแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจตามมาภายหลังได้  จุดประสงค์ของการรักษาในผู้ใหญ่คือการควบคุมระดับความดันให้ไม่เกิน 140/80 มิลลิเมตรปรอท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทางเลือกการรักษา

ในการรักษาอาจประกอบไปด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีความเค็มน้อย การทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การคงน้ำหนักร่างกายให้เหมาะสม

การคงน้ำหนักร่างกายให้เหมาะสมนั้น สามารถช่วยคุมระดับความดันดันโลหิตและช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้  รายงานการศึกษาจากเมโยคลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการลดน้ำหนักเพียง 2-3 กิโลกรัมก็สามารถลดระดับความดันโลหิตให้ต่ำลงได้แล้ว

นอกจากนี้ สถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกายังกล่าวไว้ด้วยว่า การลดน้ำหนักให้ได้ 5-10 เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักตัวในช่วง 1 ปีแรกของการรักษา ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการมีระดับความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

การมีค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ BMI) ที่น้อยกว่า 25 คือเป้าหมายในการควบคุมระดับความดันโลหิตโดยทั่วไป ซึ่งแพทย์ที่ทำการรักษาสามารถช่วยตั้งเป้าหมายว่าน้ำหนักของผู้ป่วย ควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ได้

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมน้ำหนักร่างกาย และค่าความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้  การออกกำลังกายในระดับปานกลาง (moderate-intensity aerobic activity) เพียง 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถเสริมสร้างร่างกายให้มีสุขภาพที่ดีได้ แต่สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำไว้ว่า เพื่อผลที่ดีที่สุด ควรออกกำลังกายในระดับปานกลางเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงครึ่ง หรือออกกำลังกายระดับหนัก (high-intensity aerobic exercise) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 15 นาทีต่อสัปดาห์

ลดการดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ ถึงแม้ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูงมาแต่เดิมก็ตาม เพราะฉะนั้นจึงควรควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภค  ผู้หญิงทุกช่วงอายุและผู้ชายที่อายุเกิน 65 ปี ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดื่มมาตรฐาน ในขณะที่ผู้ชายอายุต่ำกว่า 65 ปีควรดื่มไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

งดสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือด โดยผนังเส้นเลือดจะแข็งตัว และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง  ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ได้ โดยอาจใช้ยาหรือเครื่องมือต่างๆเพื่อหยุดอาการติดสารนิโคติน

การลดความเครียด

การเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายความเครียดและรับมือกับปัญหาต่างๆนั้น สามารถเสริมสุขภาพจิตและร่างกายของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ซึ่งวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้จัดการกับความเครียดได้ 

  • การฝึกเทคนิกเพื่อการผ่อนคลายต่างๆ เช่น โยคะและการนั่งสมาธิ สามารถลดระดับความดันโลหิตได้ชั่วคราว 
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อยคืนละ 7 ชั่วโมง)
  • การออกกำลังกาย
  • การฟังเพลงหรือการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สงบ

การรักษาในเด็กและวัยรุ่น

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบนั้น สาเหตุมักมาจากโรคประจำตัวที่มีมาก่อน เช่น โรคไต วิธีรักษาจึงเป็นการรักษาโรคที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง  อย่างไรก็ตาม หากไม่ทราบสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังที่ได้กล่าวถึง และการทานยาสามารถช่วยรักษาโรคนี้ได้


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
High blood pressure (hypertension) - Treatment - NHS (https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-pressure-hypertension/treatment/)
15 natural ways to lower your blood pressure. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318716)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)