August 31, 2019 21:14
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
การยกของหนัก ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ขาดประจำเดือนครับ
โดยปกติ รอบเดือนของเรา จะคลาดเคลื่อนอยู่ระหว่าง 21-35 วัน (บวกลบเจ็ดวันจากรอบก่อนๆ ) อยู่แล้วครับ ถ้ายังอยู่ในช่วงนี้ ก็ยังถือว่าปกติครับ แต่ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ก็อาจทำให้คลาดเคลื่อนไปได้อีกครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่วซึม หรือ การหลั่งนอก ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
อาการปวดประจำเดือนมักเกิดจากเลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่ทัน หรือออกมาไม่สะดวกจึงทำให้เกิดเลือดคั่งในโพรงมดลูก
กล้ามเนื้อมดลูกจึงพยายามบีบรัดตัวเพื่อเป็นการขับเลือดออกมา ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังได้ครับ
โดยอาการอาจจะเกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และในช่วงการมีประจำเดิอน ประมาณ 12-72 ชมแรกครับ
อาการปวด จะปวดแบบบีบๆ เหนือหัวหน่าวบริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปหลังได้ด้วย อาจมีอาการตามระบบร่วมด้วย เช่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ท้องเสียถ่ายเหลว เป็นต้นครับ
วิธีการรักษาเบื้องต้นคือ นอนพัก รับประทานยาเเก้ปวด เช่น Ponstan Naproxen ,วางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก หรือออกไปเดินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะพอช่วยได้ครับ
...
แต่หากอาการปวดเป็นมากจนทำงานไม่ไหว ร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจคิดถึงภาวะปวดประจำเดือนที่มีสาเหตุจำเพาะ(Secondary dysmenorrhea) เช่น เนื้องอกมดลูกจะมีประจำเดือนมามากได้ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) เป็นต้นครับ ซึ่งควรไปพบสูตินรีเเพทย์ เพื่อตรวจภายใน หรือ อัลตร้าซาวด์ เพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
อาการปวดบริเวณท้อง เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ถ้าเป็นบริเวณท้องน้อย จะเกิดได้จาก
1. ลำไส้ใหญ่
2. กระเพาะปัสสาวะ และ ระบบสืบพันธุ์
3. ปวดกล้ามเนื้อ หน้าท้อง
การจะแยกว่า เกิดจากอะไรนั้น ต้องดูจากลักษณะที่ปวดค่ะ
เช่น ถ้าปวดเป็นพักๆ ปวดมาก สลับ ปวดน้อย หายปวด ไม่กี่นาที กลีบมาปวดใหม่ ลักษณะแบบนี้ เหมือนอาการของลำไส้ มักมีการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย
ถ้าปวด ร่วมกับ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น แสบขัด มักเกิดจากทางเดินปัสสาวะ
ถ้าปวด และปวดมากขึ้น เวลาขยับ มักเป็นอาการปวด ของกล้ามเนื้อค่ะ
อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการปวด ไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร ควรไปพบแพทย์ค่ะ เพราะส่วนใหญ่ต้องการๆตรวจร่างกายร่วมด้วย
การปวดประจำเดือน มีได้หลายแบบค่ะ
ทั้งการปวดแบบปกติ ที่ไม่ได้มีโรคอะไร (Primary dysmenorrhea)
และการปวดประจำเดือนแบบมีโรคแอบแฝง (Secondary dysmenorrhea)
ซึ่งลักษณะการปวดแบบที่อาจจะมีโรคแอบแฝง Secondary dysmenorrhea ที่พอสังเกตจากอาการได้ คือ จะมีการปวดที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกรอบเดือน ปีที่แล้วปวดเท่านี้ ปีนี้ปวดมากขึ้น ปีหน้าปวดมากขึ้นไปอีก อาการปวดจะเป็นนาน ไม่เหมือนการปวดแบบปกติ ที่มันจะปวดแค่วันแรกๆ ของประจำเดือน แล้วก็หายปวด
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการปวดประจำเดือน แล้วไม่แน่ใจว่าเป็นแบบไหน ควรไปปรึกษาแพทย์นะคะ การตรวจภายใน อัลตราซาวด์ จะช่วยหาสาเหตุได้ค่ะ ว่ามีโรคอะไรแอบแฝงรึเปล่า
โรคที่พบบ่อย ในผู้หญิงที่ปวดประจำเดือน คือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช๊อกโกแลตซิสต์ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การยกของหนักจะไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือนตามมาครับ
การที่มีประจำเดือนมาช้ากว่าปกติไปบ้างนั้นอาจอกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- มีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติฝ- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
เป็นต้น
อย่างไรก็ตามถ้าหากมีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติหมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการก่อนเนื่องจากในกรณีนี้อาจมีความผิดปกติบางอย่างซ่อนอยู่ได้ครับ เช่น
- มีการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ซิสต์ในรังไข่
- เนื้องอกมดลูก
เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ปวดประจำเดือนถ้าปวดมากกว่า ปวดประจำเดือนธรรมดาระหว่างรอบเดือน เกิดได้จากหลายอย่าง
เช่น
-เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
-เนื้องอกในมดลูก
-การติดเชื้อ/อักเสบในอุ้งเชิงกราน
เป็นต้น
เบื้องต้น แนะนำให้ ประคบอุ่น อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อน ประคบที่หน้าท้องเมื่อมีอาการ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง, ดื่มน้ำมากๆ(ไม่แนะนำให้ทานน้ำเย็น), นอนตะแคงครับ
แนะนำไปพบสูตินารีแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย และอาจตรวจภายในเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัส ดีค่ะ คือหนูมีปัญหาเรื่องประจำเดือนค่ะ ปกติประจำเดือนมาตรงทุกเดือน แต่เดือนนี้ประจำเดือนขาดไปประมาณ 8 วัน คือประจำเดือนตั้งแต่มาวันที่ 23 สิงหาคมค่ะ แต่เพิ่งจะมาเมื่อวันนี้ค่ะวันที่ 31 สิงหาคม ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคมหนูปวดท้องน้อยตลอดเหมือนเมนจะมาแต่พอไปดูแล้วประจำเดือนก็ไม่มาปวดทุกวันปวด ๆ หาย ๆ ค่ะ * หนูไม่ทราบว่าเกี่ยวกับการที่ไปยกของหนักมาหรือเปล่าเพราะว่ายกของหนักแล้วเจ็บตรงท้องน้อยค่ะ * แต่พอมาวันนี้ประจำเดือนมาปวดท้องน้อยมากกว่าปกติปวดจนมือชาเท้าชา * จะมีปัญหาอะไรไหมค่ะ หรือปกติค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)