กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Heavy Metal Poisoning (ภาวะพิษจากโลหะหนัก)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ภาวะพิษจากโลหะหนัก (Heavy Metal Poisoning) เกิดจากการสะสมของโลหะบางชนิดในร่างกายโดยได้รับผ่านอาหาร น้ำ สารเคมีในอุตสาหกรรม หรือแหล่งอื่นๆ ขณะที่ร่างกายต้องการโลหะหนักบางชนิดในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เช่น สังกะสี ทองแดง โครเมียม เหล็ก และแมงกานีส แต่หากมีปริมาณมากเกินไปก็อันตราย หากเนื้อเยื่อมีการสะสมของโลหะหนักในปริมาณที่มากเกินจะเกิดภาวะพิษทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรงได้ หรือนำไปสู่โรคร้าย เช่น มะเร็ง ได้

สาเหตุของภาวะพิษจากโลหะหนัก

  • การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
  • มลภาวะในอากาศและน้ำ
  • อาหาร
  • ยา
  • ภาชนะบรรจุอาหาร จาน และเครื่องครัวที่ไม่เหมาะสม
  • การรับประทานสีที่มีส่วนผสมของตะกั่ว

อาการของพิษจากโลหะหนัก

อาการพิษจากโลหะหนักขึ้นกับชนิดของโลหะที่ทำให้เกิดพิษ ถ้าเกิดภาวะพิษฉับพลันจากโลหะหนักคือ การได้รับโลหะหนักปริมาณมากในครั้งเดียว (ตัวอย่างเช่น กลืนของเล่นเข้าไป) จะมีอาการ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มึนงง
  • ตัวชา
  • อาเจียน
  • หมดสติถึงขั้นโคม่า

ส่วนการได้รับโลหะหนักในระยะยาวทำให้เกิดอาการ ดังนี้

การรักษาภาวะพิษจากโลหะหนัก

แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเลือด หรือปัสสาวะเพื่อหาว่า มีภาวะพิษจากโลหะหนักหรือไม่ ถ้าผลตรวจออกมาว่า มีพิษจากโลหะหนัก การรักษาขั้นแรกคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสโลหะหนักและการรักษาอื่นๆ ได้แก่

  • ใช้สารคีเลต (Chelating agents) เช่น ซัคไซเมอร์ (Succimer) ชื่อการค้าคือ คีเมต (Chemet) ซึ่งจะจับกับโลหะหนักและขับออกทางปัสสาวะ
  • ล้างท้องเพื่อลดปริมาณโลหะที่กลืนเข้าไป
  • ใช้ยาขับปัสสาวะที่เรียกว่า แมนนิทอล (Mannitol) มีชื่อการค้าคือ แอริดอล (Aridrol) หรือออสมิทรอล (Osmitrol) หรือใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือการตรวจเพื่อประเมินการบวมของสมองหรือความดันภายในกระโหลกศีรษะ
  • ล้างไต และ/หรือ การรักษาพิเศษอื่นๆ หากมีไตวายร่วมด้วย

การป้องกันภาวะพิษจากโลหะหนัก

วิธีที่อาจช่วยป้องกันพิษจากโลหะหนักได้ มีดังนี้

  • สวมหน้ากากและชุดป้องกันหากทำงานในที่ที่มีโลหะหนัก
  • โลหะหลายชนิดสะสมในฝุ่นและสิ่งสกปรก ดังนั้นควรทำความสะอาดบ้านให้มากเท่าที่ทำได้
  • ให้ความสนใจกับคำเตือนปริมาณตะกั่วในปลาท้องถิ่นที่วางขาย
  • ระวังแหล่งที่ทำให้สัมผัสกับสารตะกั่ว
  • ตรวจสอบโลหะหนักในฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำกลับบ้าน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตเสี่ยงต่อการได้รับโลหะหนัก อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย หรือมีอาการที่บ่งชี้ว่า อาจได้รับโลหะหนักเข้าแล้ว แนะนำให้ลองตรวจหาภาวะพิษจากโลหะหนัก หากพบจะได้หาทางแก้ไขที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อร่างกายต่อไป


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
dermnetnz.org, Heavy metal toxicity (https://www.dermnetnz.org/topics/heavy-metal-toxicity/)
Cathy Cassata, What Is Heavy Metal Poisoning? (https://www.everydayhealth.com/heavy-metal-poisoning/guide/), 10/28/2015
Ana Gotter, Heavy Metal Poisoning (https://www.healthline.com/health/heavy-metal-poisoning), December 13, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ผมกินน้ำในแก้วที่มีสนิมอยู่ก้นแก้ว ไม่ถ่ายมาหลายวันละครับ มันสะสมป่ะครับ ละอันตรายไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าแตะปรอทที่อยู่ในเทอร์มอมิเตอร์จะส่งผลอะไรต่อร่างกายมั้ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)