กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

DUB: Dysfunctional Uterine Bleeding (ภาวะเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ เกิดจากเยื่อบุมดลูกทำงานผิดปกติ หรืออาจเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ เช่น โรคมะเร็งมดลูก เยื่อบุมดลูกขึ้นผิดที่ เนื้องอกในรังไข่
  • อาการของภาวะเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ คือมีก้อนเลือด หรือเลือดเหลวไหลออกมาจาก และมีช่วงมีประจำเดือน เลือดจากภาวะนี้จะหายไป จนเมื่อประจำเดือนหมดรอบ เลือดก็จะกลับมาออกผิดปกติอีก
  • การรักษาภาวะเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติโดยหลักๆ จะเป็นการให้ยาคุมกำเนิดชนิดรวม แต่หากรักษาด้วยยาแล้วไม่หาย แพทย์ก็อาจรักษาโดยส่องกล้องแล้วจี้เยื่อบุมดลูกที่ผิดปกติด้วยไฟฟ้า หรือความร้อนจากคลื่นวิทยุ
  • ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองอย่างเหมาะสมหลังผ่าตัด เช่น ใส่ผ้าอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ สังเกตลักษณะสี ปริมาณเลือดที่ออกมาจากช่องคลอด ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานอาหารที่บำรุงระบบไหลเวียนเลือด เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน อาหารที่มีกากใยสูง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง

ความหมายของภาวะเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ

ภาวะมีเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ (Dysfunctional Uterine Bleeding: DUB) เป็นภาวะที่มีเลือดออกจากเยื่อบุมดลูกผิดปกติ (Abnormal endometrial bleeding) หรือเกิดความผิดปกติของรอบเดือนโดยไม่พบความเปลี่ยนแปลงของมดลูก หรือระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น 

  • เนื้องอก 
  • การบาดเจ็บ 
  • ความผิดปกติของเม็ดเลือด 
  • ผลกระทบจากการใช้ยาฮอร์โมน

สาเหตุของภาวะมีเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ

สาเหตุของภาวะเลือดออกนี้ขึ้นอยู่กับวัยของผู้ป่วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ในวัยรุ่น มักเกิดจากทำงานของต่อมใต้สมอง และรังไข่ที่ไม่สมบรูณ์หรือไม่ประสานงานกัน จนมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของอัตราส่วนระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
  • ในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน มักเกิดจากเสื่อม และการล้มเหลวในการทำงานของรังไข่เพื่อผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากไข่มีจำนวนลดลง และไม่มีการตกไข่ ซึ่งมีปัจจัยอย่างอายุ ความเครียด และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

นอกจากนี้ภาวะเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติยังเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้จากโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคตับ โรคไต โรคอ้วน อีกทั้งโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์บางชนิดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้ เช่น

  • โรคมะเร็งมดลูก
  • โรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก
  • ภาวะเยื่อบุมดลูกขึ้นผิดที่ในมดลูก หรือนอกมดลูก
  • มีติ่งเนื้อเยื้อขึ้นที่เยื่อบุมดลูก
  • การตั้งครรภ์
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกในรังไข่
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

อาการของภาวะมีเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ

ผู้ที่มีภาวะนี้อาจพบว่า มีเลือดออกจากทางช่องคลอดมากกว่าปกติ อาจมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ปนออกมาด้วย แต่กลุ่มที่ไม่มีการตกไข่จะไม่มีอาการที่แน่นอน อาจจะมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนขาดหายไปช่วงระยะหนึ่ง แล้วกลับมามีเลือดออกผิดปกติ 

ส่วนกลุ่มที่ไข่ตกจะมีเลือดออกมามาก เนื่องจากกลไกที่ทำให้เลือดหยุดมีความผิดปกติ และอาจมีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย ส่วนกลุ่มที่มีความผิดปกติจากการทำงานของกลุ่มเนื้อเยื่อภายในรังไข่คอร์ปัส ลูเทียม (Corpus lutium) บกพร่องจะมีเลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงก่อน หรือหลังมีประจำเดือน

การวินิจฉัยภาวะมีเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ

แพทย์จะสอบถามอาการ และประวัติสุขภาพของคุณ โดยคุณอาจเข้าข่ายภาวะนี้หากมีประวัติประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และประจำเดือนมามากกว่าปกติ รวมทั้งพบก้อนเลือดปนออกมากับประจำเดือน และมีอาการปวดประจำเดือน 

จากนั้นอาจมีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ตรวจเลือด ได้แก่ ตรวจหาปริมาณเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) ตรวจความเข้มของเลือด (Hct) ตรวจการแข็งตัวของเลือด (Coagulation profile) และตรวจระยะเวลาตั้งแต่เลือดเริ่มไหลจนหยุด (Bleeding time) เพื่อดูว่ามีภาวะเลือดจาง และการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือไม่ 
  • ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ และระดับโปรเจสเตอร์โรน ว่า สูงกว่า 3 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรหรือไม่ ซึ่งหากสูงเกินไปจะถือว่า ผิดปกติ
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเอชชีจี (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรก 
  • ตรวจอื่นๆ เช่น ตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test: LFT) ตรวจปัสสาวะดูการติดเชื้อ ตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูก และทำอัลตราซาวด์ 

หากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 35-40 ปี อาจต้องขูดปากมดลูกเพื่อนำตัวอย่างชิ้นเนื้อออกมาตรวจ รวมทั้งตรวจภายในโพรงมดลูกด้วยการส่องกล้อง และการถ่ายภาพในโพรงมดลูกด้วยรังสี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาภาวะมีเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ

สำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีการตกไข่ แพทย์อาจให้ใช้ฮอร์โมน Progestin-estrogen หรือยาคุมกำเนิดชนิดมีฮอร์โมนตามรอบในขนาดต่ำๆ หรือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม ส่วนกลุ่มที่ยังมีไข่ตกจะให้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม หรือยายับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)

หากมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติอาจต้องใช้ยา Desmopressin (Minirin) และหากมีเลือดออกมากอาจให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูงทางหลอดเลือดดำเพื่อหยุดเลือด รวมถึงฮอร์โมนโปรเจสติน และยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม

เมื่อเลือดออกน้อยลงแล้ว แพทย์อาจให้เอสโตรเจนชนิดรับประทาน หรือเอสตราไดออล (Estradiol) แล้วตามด้วยโปรเจสติน และยาคุมกำเนิดชนิดรวม 

แต่หากให้ยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจรักษาโดยการทำลายเยื่อบุมดลูกด้วยเลเซอร์ ใช้กล้องส่องแล้วจี้ออกด้วยไฟฟ้า หรือใช้ความร้อนจากคลื่นวิทยุ และการผ่าตัดมดลูกออก

การดูแลตัวเองหลังการรักษา

หลังผ่าตัดแพทย์มักจะให้บันทึกสัญญาณชีพ ลักษณะแผลผ่าตัด รวมทั้งกระตุ้นให้คนไข้หายใจลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างนอนพักที่โรงพยาบาลจะมีการจัดให้นอนท่าศีรษะยกสูง ดูแลความสะอาดของร่างกาย ดูแลให้ได้สารน้ำ และยาทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา 

หากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้แล้ว พยาบาลจะจัดให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีน มีกากใย ธาตุเหล็กสูง และให้ดื่มน้ำให้อย่างเพียงพอวันละ 2,000 มิลลิลิตร เพื่อลดการสูญเสียเลือด รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยและญาติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว คุณควรดูแลสุขอนามัยของแผลตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

  • เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ และดูแลผิวหนังบริเวณฝีเย็บให้สะอาดอยู่เสมอ โดยใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนๆ ไม่ใช้สบู่หรือสารที่มีกลิ่นหอม หรือยาฆ่าเชื้อผสมทำความสะอาดผิวบริเวณฝีเย็บ หรือช่องคลอด 
  • รับประทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการ หรือตามที่แพทย์แนะนำ 
  • สังเกตลักษณะ สี ปริมาณเลือดจากช่องคลอด และของที่ถูกที่ขับออกมาทางช่องคลอด หากพบความผิดปกติควรแจ้งให้แพทย์ทราบ 

เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดจากภาวะนี้ รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้นกับร่างกาย ผู้หญิงทุกคนจึงต้องหมั่นไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ รวมถึงเข้าตรวจภายในเพื่อตรวจหาความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ 

หลายคนอาจรู้สึกกลัวที่จะตรวจภายใน แต่การตรวจภายในเป็นการอีกหนึ่งชนิดของการตรวจร่างกายที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องตรวจ และผลการตรวจทุกอย่างยังเป็นความลับ คนภายนอกไม่สามารถรู้ได้ 

ดังนั้นจึงอย่ากลัวที่จะตรวจภายใน และรีบปรึกษาแพทย์ หากพบว่า ตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abnormal Uterine Bleeding (AUB) (for Teens). Nemours KidsHealth. (Available via: https://kidshealth.org/en/teens/aub.html)
Abnormal Uterine Bleeding Due to Ovulatory Dysfunction (AUB-O). Merck and the Merck Manuals. (Available via: https://www.merckmanuals.com/professional/gynecology-and-obstetrics/menstrual-abnormalities/abnormal-uterine-bleeding-due-to-ovulatory-dysfunction-aub-o)
Abnormal Uterine Bleeding (Dysfunctional Uterine Bleeding). National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532913/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
การฝั่งเข็มคุมกำเนิด เเล้วทำให้ประจำเดือนไม่มา จะส่งผลกับร่างกายเราทางด้านใดบ้างมากน้อย เพียงใด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฝั่งเข็ม ควรเเก้ไขอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การมีประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ประจำเดือนมาไม่ปกติ คือ2-5 เดือนมาครั้ง จะเป็นอันตรายไรมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อายุ44แล้ว แต่เวลามีรอบเดือน ปวดช่วงท้องน้อยมาก และ มีใข้ ใกล้ถึงวัยทองหรือเปล่าคะ?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ประจำเดือนมาไม่ปกติ พยามยามลดน้ำหนักแล้วแต่ก็ยังมาไม่ปกติอยู่ดีควรทำไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)